เมนู

" อันคนไขน้ำทั้งหลายย่อมย่อมไขน้ำ, ช่างศร
ทั้งหลายย่อมดัดศร, ช่างถากทั้งหลายย่อมถากไม้,
บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกตน."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทกํ เป็นต้น ความว่า ชนทั้งหลาย
ขุดที่ดอนบนแผ่นดิน ถมที่เป็นบ่อแล้วทำเหมือง หรือวางรางไม้ไว้
ย่อมไขน้ำไปสู่ที่ตนต้องการ ๆ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าผู้ไขน้ำ.
บทว่า เตชนํ ได้แก่ ลูกศร.
มีพระพุทธาธิบาย ตรัสไว้ดังนี้ว่า :-
" พวกคนไขน้ำย่อมไขน้ำไปตามชอบใจของตนได้, แม้ช่างศรก็
ย่อมลนดัดลูกศร คือทำให้ตรง, ถึงช่างถาก เมื่อจะถากเพื่อเป็น
ประโยชน์แก่ทัพสัมภาระมีกงเป็นต้น ย่อมดัดไม้ คือทำให้ตรงหรือคด
ตามชอบใจของตน. บัณฑิตทั้งหลายทำเหตุมีประมาณเท่านี้ ให้เป็น
อารมณ์อย่างนั้นแล้ว ยังมรรคมีโสดาปัตติมรรคเป็นต้นให้เกิดขึ้นอยู่
ย่อมชื่อว่าทรมานตน, แต่เมื่อบรรลุพระอรหัตแล้วย่อมจัดว่าทรมานโดย
ส่วนเดียว."
ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องบัณฑิตสามเณร จบ.

6. เรืองพระลกุณฏกภัททิยเถระ [65]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระลกุณฏก-
ภัททิยเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "เสโล ยถา" เป็นต้น.

พระเถระถูกล้อเลียนเพราะร่างเล็ก


ได้ยินว่า สหธรรมิกมีสามเณรเป็นต้น ซึ่งเป็นปุถุชน เห็นพระ-
เถระแล้ว จับที่ศีรษะบ้าง ที่หูบ้าง ที่จมูกบ้าง พลางกล่าวว่า " อาจ๊ะ
อาจ๋า อาไม่กระสัน ยังยินดีแน่นแฟ้น ในพระศาสนาหรือ ?" พระเถระ
ไม่โกรธ ไม่ประทุษร้ายในสหธรรมิกเหล่านั้นเลย.
ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมว่า "ผู้มีอายุทั้งหลาย พวก
ท่านจงดูเถิด สหธรรมมิกมีสามเณรเป็นต้น เห็นพระลกุณฏกภัททิยเถระ
แล้ว ย่อมรังแกอย่างนั้นอย่างนี้, ท่านไม่โกรธ ไม่ประทุษร้ายในสห-
ธรรมิกเหล่านั้นเลย."

พระขีณาสพเป็นดังศิลา


พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ
พูดอะไรกัน ?" เมื่อภิกษุเหล่านั้น กราบทูลว่า " เรื่องชื่อนี้พระเจ้าข้า"
จึงตรัสว่า "อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาพระขีณาสพ ย่อมไม่โกรธ
ไม่ประทุษร้ายเลย, เพราะท่านเหล่านั้นไม่หวั่นไหว ไม่สะเทือน เช่นกับ
ศิลาแท่งทึบ" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม ตรัสพระ-
คาถานี้ว่า:-