เมนู

อารักขาทั้ง 4 ทิศ, ท้าวสักกเทวราช เลิกอารักขาที่สายยู, พระอาทิตย์
เคลื่อนคล้อยไปแล้วจากที่ท่ามกลาง.

ธรรมดาบัณฑิตย่อมฝึกตน


ภิกษุทั้งหลายโพนทะนาว่า "เงา บ่ายเกินประมาณแล้ว, พระ-
อาทิตย์เคลื่อนคล้อยไปจากที่ท่ามกลาง. ก็สามเณรฉันเสร็จเดี๋ยวนี้เอง, นี่
เรื่องอะไรกัน หนอ ? พระศาสดาทรงทราบความเป็นไปนั้นแล้วเสด็จมา
ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพูดอะไรกัน ?"
พวกภิกษุ. เรื่องชื่อนี้ พระเจ้าข้า.
พระศาสดาตรัสว่า " อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย. ในเวลาผู้มีบุญ
ทำสมณธรรม จันทเทพบุตรฉุดมณฑลพระจันทร์รั้งไว้, สุริยเทพบุตร
ฉุดมณฑลพระอาทิตย์รั้งไว้, ท้าวมหาราชทั้ง 4 ถืออารักขาทั้ง 4 ทิศ
ในป่าใกล้วิหาร, ท้าวสักกเทวราชเสด็จมายึดอารักขาที่สายยู, ถึงเราผู้
มีความขวนขวายน้อยด้วยนึกเสียว่า 'เป็นพระพุทธเจ้า' ก็ไม่ได้เพื่อ
จะนั่งอยู่ได้, ยังได้ไปยึดอารักขาเพื่อบุตรซึ่งเรา ที่ซุ้มประตู, พวก
บัณฑิตเห็นคนไขน้ำกำลังไขน้ำไปจากเหมือง ช่างศรกำลังดัดลูกศรให้
ตรง และช่างถากกำลังถากไม้แล้ว ถือเอาเหตุเท่านั้น ให้เป็นอารมณ์
ทรมานตนแล้ว ย่อมยึดเอาพระอรหัตไว้ได้ทีเดียว" ดังนี้แล้ว เมื่อจะ
ทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
5. อุทกญฺหิ นยนฺติ เนตฺติกา
อุสุการา นนยนฺติ เตชนํ
ทารุํ นมยนฺติ ตจฺฉกา
อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา.

" อันคนไขน้ำทั้งหลายย่อมย่อมไขน้ำ, ช่างศร
ทั้งหลายย่อมดัดศร, ช่างถากทั้งหลายย่อมถากไม้,
บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกตน."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทกํ เป็นต้น ความว่า ชนทั้งหลาย
ขุดที่ดอนบนแผ่นดิน ถมที่เป็นบ่อแล้วทำเหมือง หรือวางรางไม้ไว้
ย่อมไขน้ำไปสู่ที่ตนต้องการ ๆ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าผู้ไขน้ำ.
บทว่า เตชนํ ได้แก่ ลูกศร.
มีพระพุทธาธิบาย ตรัสไว้ดังนี้ว่า :-
" พวกคนไขน้ำย่อมไขน้ำไปตามชอบใจของตนได้, แม้ช่างศรก็
ย่อมลนดัดลูกศร คือทำให้ตรง, ถึงช่างถาก เมื่อจะถากเพื่อเป็น
ประโยชน์แก่ทัพสัมภาระมีกงเป็นต้น ย่อมดัดไม้ คือทำให้ตรงหรือคด
ตามชอบใจของตน. บัณฑิตทั้งหลายทำเหตุมีประมาณเท่านี้ ให้เป็น
อารมณ์อย่างนั้นแล้ว ยังมรรคมีโสดาปัตติมรรคเป็นต้นให้เกิดขึ้นอยู่
ย่อมชื่อว่าทรมานตน, แต่เมื่อบรรลุพระอรหัตแล้วย่อมจัดว่าทรมานโดย
ส่วนเดียว."
ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องบัณฑิตสามเณร จบ.