เมนู

คำอธิบายในปัญหา


ในปัญหานั้น มีอธิบายดังนี้ :-
จริงอยู่ อาหารอันคนหิวบริโภคแล้ว กำจัดความหิวของเขาแล้ว
นำสุขเวทนามาให้. เมื่อสุขเวทนาเกิดขึ้นแก่ผู้มีความสุขเพราะการบริโภค
อาหาร วรรณสมบัติย่อมมีในสรีระ, เวทนาชื่อว่าย่อมนำรูปมา ด้วย
อาการอย่างนั้น. ก็ผู้มีสุขเกิดสุขโสมนัส ด้วยอำนาจรูปที่เกิดจากอาหาร
นอนอยู่ก็ตาม นั่งอยู่ก็ตาม ด้วยคิดว่า "บัดนี้ อัสสาทะ เกิดแก่เรา
แล้ว" ย่อมได้สุขสัมผัส.

สามเณรบรรลุพระอรหัตผล


เมื่อพระเถระแก้ปัญหาทั้ง 4 ข้อเหล่านี้ อย่างนั้นแล้ว สามเณร
ก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา. ฝ่ายพระศาสดา ตรัสกะพระ-
เถระว่า "ไปเถิด สารีบุตร, จงให้ภัตแก่สามเณรของเธอ." พระ-
เถระไปเคาะประตูแล้ว. สามเณรออกมารับบาตรจากมือพระเถระ วางไว้
ณ ส่วนข้างหนึ่งแล้ว จึงเอาพัดก้านตาลพัดพระเถระ. ลำดับนั้น พระเถระ
กล่าวกะเธอว่า " สามเณร จงทำภัตกิจเสียเถิด."
สามเณร. ก็ใต้เท้าเล่า ขอรับ.
พระเถระ. เราทำภัตกิจเสร็จแล้ว, เธอจงทำเถิด.
เด็กอายุ 7 ขวบ บวชแล้ว ในวันที่ 8 บรรลุพระอรหัตเป็น
เหมือนดอกปทุมที่แย้มแล้ว ในขณะนั้น ได้นั่งพิจารณาที่เป็นที่ใส่ภัต
ทำภัตกิจแล้ว. ในขณะที่เธอล้างบาตรเก็บไว้ จันทเทพบุตรปล่อยมณฑล
พระจันทร์. สุริยเทพบุตรปล่อยมณฑลพระอาทิตย์ ท้าวมหาราชทั้ง 4

อารักขาทั้ง 4 ทิศ, ท้าวสักกเทวราช เลิกอารักขาที่สายยู, พระอาทิตย์
เคลื่อนคล้อยไปแล้วจากที่ท่ามกลาง.

ธรรมดาบัณฑิตย่อมฝึกตน


ภิกษุทั้งหลายโพนทะนาว่า "เงา บ่ายเกินประมาณแล้ว, พระ-
อาทิตย์เคลื่อนคล้อยไปจากที่ท่ามกลาง. ก็สามเณรฉันเสร็จเดี๋ยวนี้เอง, นี่
เรื่องอะไรกัน หนอ ? พระศาสดาทรงทราบความเป็นไปนั้นแล้วเสด็จมา
ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพูดอะไรกัน ?"
พวกภิกษุ. เรื่องชื่อนี้ พระเจ้าข้า.
พระศาสดาตรัสว่า " อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย. ในเวลาผู้มีบุญ
ทำสมณธรรม จันทเทพบุตรฉุดมณฑลพระจันทร์รั้งไว้, สุริยเทพบุตร
ฉุดมณฑลพระอาทิตย์รั้งไว้, ท้าวมหาราชทั้ง 4 ถืออารักขาทั้ง 4 ทิศ
ในป่าใกล้วิหาร, ท้าวสักกเทวราชเสด็จมายึดอารักขาที่สายยู, ถึงเราผู้
มีความขวนขวายน้อยด้วยนึกเสียว่า 'เป็นพระพุทธเจ้า' ก็ไม่ได้เพื่อ
จะนั่งอยู่ได้, ยังได้ไปยึดอารักขาเพื่อบุตรซึ่งเรา ที่ซุ้มประตู, พวก
บัณฑิตเห็นคนไขน้ำกำลังไขน้ำไปจากเหมือง ช่างศรกำลังดัดลูกศรให้
ตรง และช่างถากกำลังถากไม้แล้ว ถือเอาเหตุเท่านั้น ให้เป็นอารมณ์
ทรมานตนแล้ว ย่อมยึดเอาพระอรหัตไว้ได้ทีเดียว" ดังนี้แล้ว เมื่อจะ
ทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
5. อุทกญฺหิ นยนฺติ เนตฺติกา
อุสุการา นนยนฺติ เตชนํ
ทารุํ นมยนฺติ ตจฺฉกา
อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา.