เมนู

มหาทุคตะตายแล้วเกิดในกรุงสาวัตถี


เขาได้ปลูกเรือนแล้ว ได้ถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า
เป็นประมุขตลอด 7 วัน. แม้เบื้องหน้าแต่นั้น เขาดำรงอยู่ บำเพ็ญบุญ
จนตลอดอายุ ในที่สุดอายุ ได้บังเกิดในเทวโลก เสวยทิพยสมบัติ
สิ้นพุทธันดรหนึ่ง ในพุทธุปบาทกาลนี้ จุติจากนั้นแล้วถือปฏิสนธิใน
ท้องธิดาคนโต ในตระกูลอุปัฏฐาก ของพระสารีบุตรเถระในกรุงสาวัตถี.
ครั้งนั้น มารดาบิดาของนาง ทราบความที่นางตั้งครรภ์ จึงได้
ให้เครื่องบริหารครรภ์. โดยสมัยอื่น นางเกิดแพ้ท้องเห็นปานนี้ว่า "โอ !
เราพึงถวายทานแก่ภิกษุ 500 รูป ตั้งต้นแต่พระธรรมเสนาบดี ด้วยรส
ปลาตะเพียนแล้ว นุ่งผ้าย้อมน้ำฝาด นั่งในที่สุดอาสนะ บริโภคภัตที่
เป็นเดนของภิกษุเหล่านั้น." นางบอกแก่มารดาบิดาแล้วก็ได้กระทำตาม
ประสงค์. ความแพ้ท้องระงับไปแล้ว. ต่อมาในงานมงคล 7 ครั้งแม้อื่น
จากนั้น. มารดาบิดาของนางเลี้ยงภิกษุ 500 รูป มีพระธรรมเสนาบดี
เถระเป็นประมุข ด้วยรสปลาตะเพียนเหมือนกัน.
พึงทราบเรื่องทั้งหมด โดยนัยที่กล่าวแล้ว ในเรื่องติสสกุมาร
นั้นแล. ก็แต่ว่า นี้เป็นผลแห่งการถวายรสปลาตะเพียนที่ถวายในกาลที่
เด็กนี้เป็นมหาทุคตะนั่นเอง.

ทารกออกบวชเป็นสามเณร


ก็ในวันตั้งชื่อ เมื่อมารดาของเด็กนั้น กล่าวว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ขอท่านจงให้สิกขาบททั้งหลายแก่ทาสของท่านเถิด" พระเถระจึงกล่าวว่า
"เด็กนี้ชื่ออะไร ?"

มารดาของเด็ก ตอบว่า " ข้าแต่ท่านผู้เจริญ คนเงอะงะในเรือนนี้
แม้พวกพูดไม่ได้เรื่อง ก็กลับเป็นผู้ฉลาด ตั้งแต่กาลที่เด็กนี้ถือปฏิสนธิ
ในท้อง; เพราะฉะนั้น บุตรของดิฉัน จักมีชื่อว่า "หนูบัณฑิต" เถิด.
พระเถระ ได้ให้สิกขาบททั้งหลายแล้ว. ก็ตั้งแต่วันที่หนูบัณฑิตเกิดมาความ
คิดเกิดขึ้นแก่มารดาของเขาว่า " เราจักไม่ทำลายอัธยาศัยของบุตรเรา."
ในเวลาที่เขามีอายุได้ 7 ขวบ เขากล่าวกะมารดาว่า "ผมจักบวชใน
สำนักพระเถระ." นางกล่าวว่า "ได้ พ่อคุณ, แม่ได้นึกไว้แล้วอย่างนั้นว่า
'จักไม่ทำลายอัธยาศัยของเจ้า" ดังนี้แล้ว จึงนิมนต์พระเถระให้ฉันแล้ว
กล่าวว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ทาสของท่าน อยากจะบวช, ดิฉันจักนำ
เด็กนี้ไปวิหารในเวลาเย็น" ส่งพระเถระไปแล้ว ให้หมู่ญาติประชุมกัน
กล่าวว่า "พวกข้าพเจ้า จักทำสักการะที่ควรทำแก่บุตรของข้าพเจ้า ใน
เวลาเป็นคฤหัสถ์ ในวันนี้ทีเดียว" ดังนี้แล้ว ก็ให้ทำสักการะมากมาย
พาหนูบัณฑิตนั้นไปสู่วิหาร ได้มอบถวายแก่พระเถระว่า "ขอท่านจงให้
เด็กนี้บวชเถิด เจ้าข้า." พระเถระนอกความที่การบวชเป็นกิจทำได้ยาก
แล้ว, เมื่อเด็กรับรองว่า "ผมจักทำตามโอวาทของท่านขอรับ" จึง
กล่าวว่า "ถ้าอย่างนั้น จงมาเถิด" ชุบผมให้เปียกแล้ว บอกตจปัญจก-
กัมมัฏฐาน ให้บวชแล้ว. แม้มารดาบิดาของบัณฑิตสามเณรนั้น อยู่ใน
วิหารนั่นเองสิ้น 7 วัน ถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็น
ประมุข ด้วยรสปลาตะเพียนอย่างเดียว ในวันที่เจ็ด เวลาเย็นจึงได้ไป
เรือน.
ในวันที่แปด พระเถระเมื่อจะไปภายในบ้าน พาสามเณรนั้นไป
ไม่ได้ไปกับหมู่ภิกษา เพราะเหตุไร ? เพราะว่า การห่มจีวรและถือบาตร

หรืออิริยาบถของเธอ ยังไม่น่าเลื่อมใสก่อน; อีกอย่างหนึ่ง วัตรที่พึงทำ
ในวิหารของพระเถระ ยังมีอยู่; อนึ่ง พระเถระ, เมื่อภิกษุสงฆ์เข้าไป
ภายในบ้านแล้ว. เที่ยวไปทั่ววิหาร กวาดที่ ๆ ยังไม่กวาด ตั้งน้ำฉันน้ำ
ใช้ไว้ในภาชนะที่ว่างเปล่า เก็บเตียงตั่งเป็นต้น ที่ยังเก็บไว้ไม่เรียบร้อย
แล้ว จึงเข้าไปบ้านภายหลัง; อีกอย่างหนึ่ง ท่านคิดเห็นว่า " พวก
เดียรถีย์เข้าไปยังวิหารว่างแล้ว อย่าได้เพื่อจะพูดว่า ' ดูเถิด ที่นั่ง
ของพวกสาวกพระสมณโคดม' ดังนี้แล้ว จึงได้จัดแจงวิหารทั้งสิ้น เข้า
ไปบ้านภายหลัง; เพราะฉะนั้น แม้ในวันนั้น พระเถระให้สามเณรนั่น
เอง ถือบาตรจีวร เข้าไปบ้านสายหน่อย.

สามเณรเข้าไปบิณฑบาตกับพระเถระ


สามเณรเมื่อไปกับพระอุปัชฌาย์ เห็นเหมืองในระหว่างทางจึง
เรียนถามว่า " นี้ชื่ออะไร ? ขอรับ.
พระเถระ. ชื่อว่าเหมือง สามเณร.
สามเณร. เขาทำอะไร ? ด้วยเหมืองนี้.
พระเถระ. เขาไขน้ำจากที่นี้ ๆ แล้ว ทำการงานเกี่ยวด้วยข้าว
กล้าของตน.
สามเณร. ก็น้ำมีจิตไหม ? ขอรับ
พระเถระ. ไม่มี เธอ.
สามเณร. ชนทั้งหลายย่อมไขน้ำที่ไม่มีจิตเห็นปานนี้สู่ที่ ๆ ตน
ปรารถนาแล้ว ๆ ได้หรือ ? ขอรับ.
พระเถระ. ได้ เธอ.