เมนู

ธรรม ย่อมเกิดขึ้นแก่บุตรของเรา. บุตรของเรานั้นย่อมเปล่งอุทาน
อย่างนั้น เพราะปรารภอมตมหานิพพาน" ดังนี้แล้วเมื่อจะทรงสืบอนุสนธิ
แสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
4. ธมฺมปีติ สุขํ เสติ วิปฺปสนฺเนน เจตสา
อริยปฺปเวทิเต ธมฺเม สทา รมติ ปณฺฑิโต.
"บุคคลผู้เอิบอิ่มในธรรม มีใจผ่องใส ย่อมอยู่
เป็นสุข, บัณฑิตย่อมยินดีในธรรมที่พระอริยเจ้า
ประกาศแล้วทุกเมื่อ."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมปีติ ความว่า ผู้เอิบอิ่มในธรรม
อธิบายว่า ผู้ดื่มธรรม. ก็ชื่อพระธรรมนี่ อันใคร ๆ ไม่อาจเพื่อจะดื่ม
ได้ เหมือนดื่มข้าวยาคูเป็นต้น ด้วยภาชนะฉะนั้น. ก็บุคคลถูกต้อง
โลกุตรธรรม 9 อย่าง ด้วยนามกาย ทำให้แจ้งโดยความเป็นอารมณ์
แทงตลอดอริยสัจมีทุกข์เป็นต้น ด้วยกิจมีการบรรลุธรรมด้วยความกำหนด
รู้เป็นต้น ชื่อว่าย่อมดื่มธรรม.
คำว่า สุขํ เสติ นี้ สักว่าเป็นหัวข้อเทศนา. อธิบายว่า ย่อม
อยู่เป็นสุข แม้ด้วยอิริยาบถ 4.
บทว่า วิปฺปสนฺเนน คือไม่ขุ่นมัว ได้แก่ ไม่มีอุปกิเลส.
บทว่า อริยปฺปเวทิเต ความว่า ในโพธิปักขิยธรรม อันต่างด้วย
สติปัฏฐานเป็นต้น อันพระอริยเจ้าทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น
ประกาศแล้ว.