เมนู

"บุคคลไม่ควรลบปาปมิตร ไม่ควรคบบุรุษต่ำช้า
ควรคบกัลยาณมิตร ควรคบบุรุษสูงสุด."

แก้อรรถ


เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า "คนผู้ยินดีในอกุศลกรรม มีกาย
ทุจริตเป็นต้น ชื่อว่าปาปมิตร, คนผู้ชักนำในเหตุอันไม่สมควร มีการ
ตัดช่องเป็นต้นก็ดี อันต่างโดยการแสวงหาไม่ควร 21 อย่าง1ก็ดี ชื่อว่า
บุรุษต่ำช้า. อนึ่ง ชน 2 จำพวกนั้น ชื่อว่าเป็นทั้งปาปมิตร ทั้งบุรุษ
ต่ำช้า; บุคคลไม่ควรคบ คือไม่ควรนั่งใกล้เขาเหล่านั้น; ฝ่ายชนผู้ผิด
ตรงกันข้าม ชื่อว่าเป็นทั้งกัลยาณมิตร ทั้งสัตบุรุษ, บุคคลควรคบ คือ
ควรนั่งใกล้ท่านเหล่านั้น.
ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลาย มี
โสดาปัตติผลเป็นต้นแล้ว.

พระศาสดาตรัสสั่งให้ลงพรหมทัณฑ์พระฉันนะ


ฝ่ายพระฉันนเถระ แม้ได้ฟังพระโอวาทแล้ว ก็ยังด่าขู่พวกภิกษุ
อยู่อีกเหมือนนัยก่อนนั่นเอง. แม้พวกภิกษุก็กราบทูลแด่พระศาสดาอีก.
พระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรายังมีชีวิตอยู่ พวกเธอจักไม่อาจ
เพื่อให้ฉันนะสำเหนียกได้, แต่เมื่อเราปรินิพพานแล้ว จึงจักอาจ" ดังนี้
แล้ว, เมื่อท่านพระอานนท์ทูลถาม ในเวลาจวนจะเสด็จปรินิพพานว่า
"พระเจ้าข้า อันพวกข้าพระองค์จะพึงปฏิบัติในพระฉันนเถระอย่างไร ?
จึงตรัสบังคับว่า "อานนท์ พวกเธอพึงลงพรหมทัณฑ์แก่ฉันนภิกษุเถิด."
1. ปรมัตถโชติกา หน้า 265.

พระฉันนะนั้น เมื่อพระศาสดาเสด็จปรินิพพานแล้ว ได้ฟัง
พรหมทัณฑ์ ที่พระอานนทเถระยกขึ้นแล้ว มีทุกข์ เสียใจ ล้มสลบ
ถึง 3 ครั้ง แล้ววิงวอนว่า " ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านอย่าให้กระผม
ฉิบหายเลย" ดังนี้แล้ว บำเพ็ญวัตรอยู่โดยชอบ ต่อกาลไม่นานนัก
ก็บรรลุพระอรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลายแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องพระฉันนเถระ จบ.

4. เรื่องพระมหากัปปินเถระ [63]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพรพะเชตวัน ทรงปรารภพระมหา-
กัปปินเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ธมฺมปีติ สุขํ เสติ" เป็นต้น.
ในเรื่องนั้น มีอนุบุพพีกถา ดังต่อไปนี้ :-

พระปัจเจกพุทธเจ้าทูลขอหัตถกรรมทำเสนาสนะ


ได้ยินว่า ในอดีตกาล ท่านพระมหากัปปินะ มีอภินิหารได้ทำไว้
แทบบาทมูลของพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่าปทุมุตตระ ท่องเที่ยวอยู่ใน
สงสาร เกิดเป็นนายช่างหูกผู้เป็นหัวหน้า ในบ้านช่างหูกแห่งหนึ่งในที่
ไม่ไกลแต่กรุงพาราณสี. ครั้งนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าประมาณพันองค์
อยู่ในหิมวันตประเทศ 8 เดือน อยู่ในชนบท 4 เดือนอันเป็นฤดูฝน.
คราวหนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น พักอยู่ในที่ไม่ไกลแต่กรุงพาราณสี
แล้วส่งพระปัจเจกพุทธเจ้า 2 รูปไปยังสำนักพระราชาด้วยคำว่า "ท่าน
ทั้งหลายจงทูลขอหัตถกรรมเพื่อประโยชน์แก่การทำเสนาสนะ." ก็ในกาล
นั้น เป็นคราววัปปมงคลแรกนาขวัญของพระราชา. ท้าวเธอทรงสดับว่า
"ได้ยินว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายมา" จึงเสด็จออกไป ตรัสถามถึง
เหตุที่มา แล้วตรัสว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ วันนี้ยังไม่มีโอกาส, (เพราะ)
พรุ่งนี้ ข้าพเจ้าทั้งหลายจะมีการมงคลแรกนาขวัญ, ข้าพเจ้าจักทำใน