เมนู

"บุคคลไม่ควรลบปาปมิตร ไม่ควรคบบุรุษต่ำช้า
ควรคบกัลยาณมิตร ควรคบบุรุษสูงสุด."

แก้อรรถ


เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า "คนผู้ยินดีในอกุศลกรรม มีกาย
ทุจริตเป็นต้น ชื่อว่าปาปมิตร, คนผู้ชักนำในเหตุอันไม่สมควร มีการ
ตัดช่องเป็นต้นก็ดี อันต่างโดยการแสวงหาไม่ควร 21 อย่าง1ก็ดี ชื่อว่า
บุรุษต่ำช้า. อนึ่ง ชน 2 จำพวกนั้น ชื่อว่าเป็นทั้งปาปมิตร ทั้งบุรุษ
ต่ำช้า; บุคคลไม่ควรคบ คือไม่ควรนั่งใกล้เขาเหล่านั้น; ฝ่ายชนผู้ผิด
ตรงกันข้าม ชื่อว่าเป็นทั้งกัลยาณมิตร ทั้งสัตบุรุษ, บุคคลควรคบ คือ
ควรนั่งใกล้ท่านเหล่านั้น.
ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลาย มี
โสดาปัตติผลเป็นต้นแล้ว.

พระศาสดาตรัสสั่งให้ลงพรหมทัณฑ์พระฉันนะ


ฝ่ายพระฉันนเถระ แม้ได้ฟังพระโอวาทแล้ว ก็ยังด่าขู่พวกภิกษุ
อยู่อีกเหมือนนัยก่อนนั่นเอง. แม้พวกภิกษุก็กราบทูลแด่พระศาสดาอีก.
พระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรายังมีชีวิตอยู่ พวกเธอจักไม่อาจ
เพื่อให้ฉันนะสำเหนียกได้, แต่เมื่อเราปรินิพพานแล้ว จึงจักอาจ" ดังนี้
แล้ว, เมื่อท่านพระอานนท์ทูลถาม ในเวลาจวนจะเสด็จปรินิพพานว่า
"พระเจ้าข้า อันพวกข้าพระองค์จะพึงปฏิบัติในพระฉันนเถระอย่างไร ?
จึงตรัสบังคับว่า "อานนท์ พวกเธอพึงลงพรหมทัณฑ์แก่ฉันนภิกษุเถิด."
1. ปรมัตถโชติกา หน้า 265.