เมนู

ทั้งหลาย" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงได้ตรัสพระ-
คาถานี้ว่า:-
2. โอเทยฺยานุสาเสยฺย อสพฺภา จ นิวารเย
สตํ หิ โส ปิโย โหติ อสตํ โหติ อปฺปิโย.
"ผู้ใดพึงว่ากล่าว พึงสอน และพึงห้ามจาก
ธรรมของอสัตบุรุษ, ผู้นั้นแล ย่อมเป็นที่รักของ
สัตบุรุษทั้งกลาย, ไม่เป็นที่รักของพวกอสัตบุรุษ."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอวเทยฺย ความว่า เมื่อเกิดเรื่อง
ขึ้นแล้ว จึงกล่าว ชื่อว่าย่อมโอวาท, เมื่อยังไม่เกิดเรื่อง ชี้โทษอัน
ยังไม่มาถึง ด้วยสามารถเป็นต้นว่า "แม้โทษจะพึงมีแก่ท่าน" ดังนี้
ชื่อว่าย่อมอนุศาสน์; กล่าวต่อหน้า ชื่อว่าย่อมโอวาท, ส่งทูตหรือศาสน์
ไปในที่ลับหลัง ชื่อว่าย่อมอนุศาสน์. แม้กล่าวคราวเดียว ชื่อว่าย่อม
โอวาท, กล่าวบ่อย ๆ ชื่อว่าย่อมอนุศาสน์. อีกอย่างหนึ่งกำลังโอวาท
นั่นแล ชื่อว่าอนุศาสน์ พึงกล่าวสั่งสอนอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า อสพฺภา ความว่า พึงห้ามจากอกุศลธรรม พึงให้ตั้งอยู่
ในกุศลธรรม. บทว่า สตํ ความว่า บุคคลเห็นปานนี้นั้น ย่อมเป็น
ที่รักแห่งสัตบุรุษทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น; แต่ผู้ว่ากล่าว ผู้สั่งสอน
นั้น ย่อมไม่เป็นที่รักแห่งพวกที่ไม่เห็นธรรม มีปรโลกอันข้ามล่วงแล้ว
ผู้เห็นแก่อามิส บวชเพื่อประโยชน์แก่การเลี้ยงชีพเหล่านั้น ชื่อว่าอสัตบุรุษ
ผู้ทิ่มแทงด้วยหอกคือปากอย่างนั้นว่า " ท่านไม่ใช่อุปัชฌาย์อาจารย์ของพวก