เมนู

พระนิพพาน เป็นอย่างอื่น ก็อบาย1 4 มีประตูอันเปิดแล้วนั้นแล
ดังอยู่ เพื่อภิกษุผู้รักษาข้อปฏิบัติอันเข้าไปอาศัยลาภ ด้วยสามารถแห่งการ
สมาทานธุดงค์ มีการอยู่ป่าเป็นต้น ด้วยหวังว่า ' เราจักได้ลาภด้วยการ
ปฏิบัติอย่างนี้' ส่วนภิกษุผู้ละลาภและสักการะอันเกิดขึ้น ด้วยข้อปฏิบัติ
อันยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพานแล้วเข้าไปสู่ป่า เพียรพยายามอยู่ ย่อมยึดเอา
พระอรหัตไว้ได้" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัส
พระคาถานี้ว่า :-
15. อญฺญา หิ ลาภูปนิสา อญฺญา นิพฺพานคามินี
เอวเมตํ อภิญฺญาย ภิกฺขุ พุทฺธสฺส สาวโก
สกฺการํ นาภินนฺเทยฺย วิเวกมนุพฺรูหเย.
"ก็ข้อปฏิบัติอันเข้าไปอาศัยลาภ เป็นอย่างอื่น,
ข้อปฏิบัติอันยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน เป็นอย่างอื่น
(คนละอย่าง). ภิกษุผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า
ทราบเนื้อความนั้นอย่างนี้แล้ว ไม่พึงเพลิดเพลิน
สักการะ พึงตามเจริญวิเวก."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า อญฺญา หิ ลาภูปนิสา
ความว่า ชื่อว่าข้อปฏิบัติอันเข้าไปอาศัยลาภนี้เป็นอย่างนี้แล; ข้อปฏิบัติ
อันยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน เป็นอย่างอื่น ( เป็นคนละอย่าง). จริงอยู่
1. อบาย 4 คือ นรก เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน.

อันภิกษุผู้จะให้ลาภเกิดขึ้น ควรทำอกุศลกรรมหน่อยหนึ่ง. การคดกาย
เป็นต้น น่าที่เธอจะพึงทำ. ด้วยว่า ในกาลใดภิกษุทำการคดบางอย่าง
บรรดาคดกายเป็นต้น, ในกาลนั้นลาภย่อมเกิดขึ้น. ก็เมื่อภิกษุหย่อนมือ
ลงตรง ๆ ในถาดเข้าปายาสไม่ให้งอแล้วยกขึ้น, มือเป็นแต่เพียงเปื้อน
เท่านั้น, แต่เมื่อหย่อนลง ทำให้งอแล้วยกขึ้น, มือย่อมช้อนก้อนข้าว
ปายาสออกมาได้แท้; ลาภและสักการะย่อมเกิดขึ้นในคราวทำการคดกาย
เป็นต้นอย่างนี้: นี้จัดเป็นข้อปฏิบัติอันเข้าไปอาศัยลาภที่ไม่ชอบธรรม. แต่
ลาภที่เกิดขึ้นด้วยเหตุเห็นปานนี้ คือ "การถึงพร้อมด้วยอุปธิ1 การ
ทรงไว้ซึ่งจีวร (การครองจีวร) ความเป็นพหูสูต ความมีบริวาร การ
อยู่ป่า" ชื่อว่าประกอบด้วยธรรม. ก็ภิกษุผู้บำเพ็ญข้อปฏิบัติอันยังสัตว์
ให้ถึงพระนิพพาน พึงละการคดกายเป็นต้นเสีย, อันภิกษุผู้บำเพ็ญข้อ
ปฏิบัติอันยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน ไม่ใช่คนบอด เป็นเหมือนคนบอด
ไม่ใช่คนใบ้ เป็นเหมือนคนใบ้ ไม่ใช่คนหนวก เป็นเหมือนคนหนวก
จึงควร.
บทว่า เอวเมตํ เป็นต้น ความว่า ภิกษุชื่อว่าเป็นสาวก
เพราะอรรถว่า เกิดในที่สุดแห่งการฟัง หรือเพราะอรรถว่า ฟังโอวาท
และอนุสาสนี ของท่านผู้ชื่อว่าพุทธะ เพราะอรรถว่า ตรัสรู้สังขตธรรม
และอสังขตธรรมทั้งหมด ทราบข้อปฏิบัติเป็นเครื่องยังลาภให้เกิดขึ้น
และข้อปฏิบัติยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพานนั้น อย่างนั้นแล้ว ไม่พึงเพลิดเพลิน
1. อุปธิสมฺปทา ฉบับยุโรปเป็น อุปสมฺปทา. คำว่า อุปธิ เป็นชื่อของกิเลสก็มี ของร่างกายก็มี
ในที่นี้เป็นชื่อของร่างกาย อุปธิสมฺปทา จึงหมายถึงรูปสมบัติ.

สักการะคือปัจจัย1 4 อันไม่ชอบธรรม คือไม่พึงห้ามสักการะอันชอบ
ธรรมนั้นนั่นแล พึงเจริญวิเวก มีกายวิเวกเป็นต้น.
บรรดาวิเวกเหล่านั้น ความเป็นผู้มีกายโดดเดี่ยว ชื่อว่ากายวิเวก,
สมาบัติ2 8 ชื่อว่าจิตตวิเวก พระนิพพาน ชื่อว่าอุปธิวิเวก3.
บรรดาวิเวกเหล่านั้น กายวิเวก ย่อมบรรเทาความคลุกคลีด้วยหมู่,
จิตตวิเวก ย่อมบรรเทาความหมักหมมด้วยกิเลส, อุปธิวิเวก ย่อมบรรเทา
ซึ่งความเกี่ยวข้องด้วยสังขาร; กายวิเวก ย่อมเป็นปัจจัยแห่งจิตตวิเวก,
จิตตวิเวก ย่อมเป็นปัจจัยแห่งอุปธิวิเวก. สมจริงดังคำที่พระสารีบุตรเถระ
แม้กล่าวไว้ว่า "กายวิเวกของผู้มีกายสงบแล้ว ยินดียิ่งแล้วในการออก
บวช, จิตตวิเวกของผู้มีจิตบริสุทธิ์แล้ว ถึงความผ่องแผ้วอย่างยิ่ง,
และอุปธิวิเวกของบุคคลผู้ไม่มีอุปธิ ถึงพระนิพพาน4" พึงเจริญ คือ
พึงพอกพูน อธิบายว่า พึงเข้าไปสำเร็จวิเวก 3 นี้อยู่.
ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลาย มี
โสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องพระวนวาสีติสสเถระ จบ.
พาลวรรควรรณนา จบ.
วรรคที่ 5 จบ.
1. จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานเภสัช. 2. รูปฌาน 4 อรูปฌาน 4. 3. อุปธิมี 4
คือ ขันธูปธิ, กิเลสสูปธิ, อภิสังขารูปธิ, กามูปธิ. 4. ขุ. มหา. 29/172.

คาถาธรรมบท


บัณฑิตวรรค1ที่ 6


ว่าด้วยบุคคลผู้เป็นบัณฑิต


[16] 1. บุคคลพึงเห็นผู้มีปัญญาใด ซึ่งเป็นผู้กล่าว
นิคคหะชี้โทษ ว่าเป็นเหมือนผู้บอกขุมทรัพย์ให้
พึงคบผู้มีปัญญาเช่นนั้น ซึ่งเป็นบัณฑิต เพราะว่า
เมื่อคบท่านผู้เช่นนั้น มีแต่คุณอย่างประเสริฐ ไม่มี
โทษที่ลามก.

2. ผู้ใดพึงว่ากล่าว พึงสอน และพึงห้ามจาก
ธรรมของอสัตบุรุษ ผู้นั้นแล ย่อมเป็นที่รักของ
สัตบุรุษทั้งหลาย ไม่เป็นที่รักของพวกอสัตบุรุษ.

3. บุคคลไม่ควรคบบาปมิตร ไม่ควรคบบุรุษ
ต่ำช้า ควรคบกัลยาณมิตร ควรคบบุรุษสูงสุด.

4. บุคคลผู้เอิบอิ่มในธรรม มีใจผ่องใส ย่อม
อยู่เป็นสุข บัณฑิตย่อมยินดีในธรรมที่พระอริยเจ้า
ประกาศแล้วทุกเมื่อ.

5. อันคนไขน้ำทั้งหลายย่อมไขน้ำ ช่างศร
ทั้งหลายย่อมดัดศร ช่างถากทั้งหลายย่อมถากไม้
บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกตน.

1. วรรคที่ 6 มีอรรกถา 11 เรื่อง.