เมนู

ออกมาวางไว้แทบเท้าของสามเณร ไหว้แล้วได้กล่าวว่า "ท่านเจ้าข้า ผมพึง
มีส่วนแห่งธรรมที่ท่านเห็นแล้ว." สามเณรแม้นั้นได้ทำอนุโมทนาแก่เขาว่า
" จงสำเร็จอย่างนั้นเถิด" สามเณรได้ผ้ากัมพล 500 ผืนแม้ในภายใน
พระนคร. ในวันเดียวเท่านั้น ได้ผ้ากัมพลพันหนึ่ง ได้ถวายแก่ภิกษุพันหนึ่ง
ด้วยประการฉะนี้. ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลาบขนานนามของสามเณรนั้นว่า
" กัมพลทายกติสสะ." ผ้ากัมพลที่สามเณรให้ในวันตั้งชื่อ ถึงความเป็น
ผ้ากัมพลพันหนึ่ง ในเวลาตนมีอายุ 7 ปี ด้วยประการฉะนี้.

ให้ของน้อยแต่ได้ผลมาก


ของน้อยอันบุคคลให้แล้วในฐานะใด ย่อมมีผลมาก. ของมากที่
บุคคลให้แล้วในฐานะใด ย่อมมีผลมากกว่า. ฐานะอื่นนั้น ยกพระพุทธ-
ศาสนาเสียมิได้มี. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า " ภิกษุ
ทั้งหลาย ของน้อยที่บุคคลให้แล้วในหมู่ภิกษุเช่นใดมีผลมาก; ของมาก
ที่บุคคลให้แล้วในหมู่ภิกษุเช่นมีผลมากกว่า, หมู่ภิกษุนี้ก็เป็นเช่นนั้น."
แม้สามเณรมีอายุ 7 ปี ได้ผ้ากัมพลพันหนึ่ง ด้วยผลแห่งผ้ากัมพลผืนหนึ่ง
ด้วยประการฉะนี้.
เมื่อสามเณรนั้นอยู่ในพระเชตวัน พวกเด็กที่เป็นญาติมาสู่สำนัก
พูดจาปราศรัยเนือง ๆ. สามเณรนั้นคิดว่า "อันเราเมื่ออยู่ในที่นี้ เมื่อเด็ก
ที่เป็นญาติมาพูดอยู่, ไม่อาจที่จะไม่พูดได้, ด้วยการเนิ่นช้าคือการสนทนา
กับเด็กเหล่านี้ เราไม่อาจทำที่พึ่งแก่ตนได้, ไฉนหนอเราเรียนกัมมัฏฐานใน
สำนักของพระศาสดาแล้ว พึงเข้าไปสู่ป่า."

ติสสสามเณรออกป่าทำสมณธรรม


ติสสสามเณรนั้น เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว ทูลให้พระ-

ศาสดาตรัสบอกกัมมัฏฐานจนถึงพระอรหัต ไหว้พระอุปัชฌายะแล้ว ถือ
บาตรและจีวรออกไปจากวิหารแล้ว คิดว่า " ถ้าเราจักอยู่ในที่ใกล้ไซร้,
พวกญาติจะร้องเรียกเราไป" จึงได้ไปสิ้นทางประมาณ 120 โยชน์.
ครั้งนั้น สามเณรเดินไปทางประตูบ้านแห่งหนึ่ง เห็นชายแก่คนหนึ่ง จึง
ถามว่า " อุบาสก วิหารในป่าของภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในประเทศนี้มีไหม ?"
อุบาสก. มี ขอรับ.
สามเณร. ถ้าอย่างนั้น ขอท่านช่วยบอกทางแก่ฉัน.
ก็ความรักเพียงดังบุตรเกิดขึ้นแล้วแก่อุบาสก เพราะเห็นสามเณร
นั้น. ลำดับนั้น อุบาสกยืนอยู่ในที่นั้นนั่นแล ไม่บอกแก่สามเณรนั้น
กล่าวว่า " มาเถิด ขอรับ, ผมจักบอกแก่ท่าน" ได้พาสามเณรนั้นไป
แล้ว. สามเณร เมื่อไปกับอุบาสกแก่นั้น เห็นประเทศ1 6 แห่ง 5 แห่ง
อันประดับแล้วด้วยดอกไม้และผลไม้ต่าง ๆ ในระหว่างทาง จึงถามว่า
"ประเทศนี้ชื่ออะไร ? อุบาสก" ฝ่ายอุบาสกนั้น บอกชื่อประเทศเหล่า
นั้น แก่สามเณรนั้น ถึงวิหารอันตั้งอยู่ในป่าแล้ว กล่าวว่า "ท่านขอรับ
ที่นี่เป็นที่สบาย, ขอท่านจงอยู่ในที่นี้เถิด" แล้วถามชื่อว่า "ท่านชื่อ
อะไร ? ขอรับ" เมื่อสามเณรบอกว่า "ฉันชื่อวนวาสีติสสะ อุบาสก."
จึงกล่าวว่า "พรุ่งนี้ ท่านควรไปเที่ยวบิณฑบาตในบ้านของพวกกระผม"
แล้วกลับไปสู่บ้านของตนนั่นแหละ บอกแก่พวกมนุษย์ว่า สามเณร
ชื่อวนวาสีติสสะมาสู่วิหารแล้ว. ขอท่านจงจัดแจงอาหารวัตถุมียาคูและภัต
เป็นต้น เพื่อสามเณรนั้น." ครั้งแรกทีเดียว สามเณรเป็นผู้ชื่อว่า "ติสสะ"
แต่นั้นได้ชื่อ 3 ชื่อเหล่านี้คือ ปิณฑปาตทายกติสสะ กัมพลทายกติสสะ
1. คำว่าประเทศในที่นี้ หมายความเพียงบ้านหนึ่งหรือตำบลหนึ่งเท่านั้น.

วนวาสีติสสะ ได้ชื่อ 4 ชื่อภายในอายุ 7 ปี. รุ่งขึ้น สามเณรนั้นเข้าไป
บิณฑบาตยังบ้านนั้นแต่เช้าตรู่. พวกมนุษย์ถวายภิกษาไหว้แล้ว. สามเณร
กล่าวว่า "ขอท่านทั้งหลายจงถึงซึ่งความสุข, จงพ้นจากทุกข์เถิด." แม้
มนุษย์คนหนึ่งถวายภิกษาแก่สามเณรนั้นแล้ว ก็ไม่สามารถจะ ( กลับ)
ไปยังเรือนได้อีก, ทุกคนได้ยืนแลดูอยู่ทั้งนั้น. แม้สามเณรนั้นก็รับภัตพอ
ยังอัตภาพให้เป็นไปเพื่อตน. ชาวบ้านทั้งสิ้นหมอบลงด้วยอก แทบเท้า
ของสามเณรนั้นแล้ว กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า เมื่อท่านอยู่ในที่นี้ตลอดไตร-
มาสนี้ พวกกระผมจักรับสรณะ 3 ตั้งอยู่ในศีล 5 จักทำอุโบสถกรรม
8 ครั้งต่อเดือน. ขอท่านจงให้ปฏิญญาแก่กระผมทั้งหลาย เพื่อประโยชน์
แห่งการอยู่ในที่นี้." สามเณรนั้นกำหนดอุปการะ จึงให้ปฏิญญาแก่มนุษย์
เหล่านั้น เที่ยวบิณฑบาตในบ้านนั้นนั่นแลเป็นประจำ. ก็ในขณะที่เขา
ไหว้แล้ว ๆ กล่าวเฉพาะ 2 บทว่า "ขอท่านทั้งหลายจงถึงซึ่งความสุข,
จงพ้นจากทุกข์" ดังนี้แล้ว หลีกไป. สามเณรนั้นให้เดือนที่ 1 และ
เดือนที่ 2 ล่วงไปแล้ว ณ ที่นั้น เมื่อเดือนที่ 3 ล่วงไป, ก็บรรลุพระอรหัต
พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา.

อุปัญฌายะไปเยี่ยมสามเณร


ครั้นเวลาปวารณาออกพรรษาแล้ว พระอุปัชฌาย์ของสามเณรนั้น
เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว กราบทูลว่า " ข้าแต่พระองค์-
ผู้เจริญ ข้าพระองค์จะไปยังสำนักติสสสามเณร."
พระศาสดา. ไปเถิด สารีบุตร.
พระสารีบุตรเถระนั้น เมื่อพาภิกษุประมาณ 500 รูป ซึ่งเป็น