เมนู

จิตตคฤหบดีถวายทาน


คฤหบดีนั้น อยู่ในสำนักพระศาสดาสิ้นเดือนหนึ่งแล ได้นิมนต์
ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานทั้งสิ้น ให้นั่งในวิหารนั่นแหละ
ถวายทานใหญ่แล้ว. ทาภิกษุแม้ผู้มากับตนไว้ภายในวิหารนั้นแหละบำรุง
แล้ว. ไม่ต้องหยิบอะไร ๆ ในเกวียนของตน แม้สักวันหนึ่ง. ได้ทำกิจ
ทุกอย่าง ด้วยบรรณาการ อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายนำมาเท่านั้น.
จิตตคฤหบดีนั้น ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว กราบทูลว่า "พระเจ้าข้า
ข้าพระองค์มาด้วยตั้งใจว่า 'จักถวายทานแด่พระองค์ ได้พักอยู่ใน
ระหว่างทางเดือนหนึ่ง, เดือนหนึ่งของข้าพระองค์ล่วงไปแล้ว ในที่นี้,
ข้าพระองค์ ไม่ได้เพื่อจะถือเอาของอะไร ๆ ที่ข้าพระองค์นำมาเลย,
ได้ถวายทาน สิ้นกาลเท่านี้ ด้วยบรรณาการที่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
นำมาเท่านั้น, แม้ถ้าข้าพระองค์นั้น จักอยู่ในที่นี้ สิ้นปีหนึ่ง, ก็จักไม่
ได้เพื่อจะถวายไทยธรรมของข้าพระองค์แน่แท้, ข้าพระองค์ปรารถนาจัก
ถ่ายเกวียนแล้วไป, ขอพระองค์ จงโปรดให้บอกที่สำหรับเก็บแก่
ข้าพระองค์เถิด."
พระศาสดา ตรัสกะพระอานนทเถระว่า "อานนท์" เธอจงให้
จัดที่แห่งหนึ่งให้ว่าง ให้แก่อุบาสก." พระเถระ ได้กระทำอย่างนั้นแล้ว.
ได้ยินว่า พระศาสดา ทรงอนุญาตกัปปิยภูมิแก่จิตตคฤหบดีแล้ว.

จิตตคฤหบดีเดินทางกลับ


ฝ่ายอุบาสกกับชนสามพัน ซึ่งมาพร้อมกับตน เดินทางกลับด้วย
เกวียนเปล่าแล้ว. พวกเทวดาและมนุษย์ ลุกขึ้นแล้ว กล่าวว่า "พระผู้

เป็นเจ้า ท่านทำกรรมคือการเดินไปด้วยเกวียนเปล่า" ดังนี้แล้ว ก็บรรจุ
เกวียนให้เต็มด้วยรัตนะ 7 ประการ. คฤหบดี นั้น ได้บำรุงมหาชนด้วย
บรรณาการอันเขานำมาเพื่อตน ไปแล้ว.
พระอานนทเถระ ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว กราบทูลว่า
" พระเจ้าข้า จิตตคฤหบดี แม้เมื่อมาสู่สำนักของพระองค์ มาแล้วโดย
เดือนหนึ่ง; อยู่ในที่นี้เดือนหนึ่งเหมือนกัน. ได้ถวายทานด้วยบรรณาการ
ที่เทวดาและมนุษย์นำมาเท่านั้น สิ้นกาลเท่านี้; ได้ยินว่า บัดนี้คฤหบดีนั้น
ทำเกวียน 500 เล่ม ให้เปล่า จักไปโดยเดือนหนึ่งเหมือนกัน, แก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย ลุกขึ้นแล้ว กล่าวแก่คฤหบดีนั้นว่า ' พระผู้เป็นเจ้า
ท่านทำกรรมคือการเดินไปด้วยเกวียนเปล่า" ดังนี้แล้ว ก็บรรจุเกวียน
ให้เต็มด้วยรัตนะ 7 ประการ. ได้ยินว่า คฤหบดี บำรุงมหาชน ด้วย
เครื่องบรรณาการอันเทวดาและมนุษย์ นำมาเพื่อตนนั่นแหละจักกลับไป;
พระเจ้าข้า ก็สักการะนี้เกิดขึ้นแก่คฤหบดีนั่นผู้นาสู่สำนักของพระองค์เท่า
นั้นหรือ. หรือแม้ไปในที่อื่นก็เกิดขึ้นเหมือนกัน."
พระศาสดา ตรัสว่า "อานนท์ จิตตคฤหบดีนั้นมาสู่สำนักของเรา
ก็ดี ไป ณ ที่อื่นก็ดี สักการะย่อมเกิดขึ้นทั้งนั้น, เพราะอุบาสกนี้เป็นผู้
มีศรัทธา เลื่อมใส มีศีลสมบูรณ์, อุบาสกผู้เห็นปานนี้ ย่อมคบ (ไป)
ประเทศใด ๆ; ลาภสักการะ ย่อมเกิดแก่เขาในประเทศนั้น ๆ ทีเดียว"
ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถาในปกิณณกวรรคนี้ว่า :-
"ผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล เพียบพร้อม
ด้วยยศ และโภคะ ย่อมคบประเทศใด ๆ ย่อมเป็นผู้
อันเขาบูชาแล้ว ในประเทศนั้น ๆ ทีเดียว."

ก็เนื้อความแห่งพระคาถานั้น จักแจ่มแจ้งในปกิณณกวรรคนั้นแล.

บุรพกรรมของจิตตคฤหบดี


เมื่อพระคาสดา ตรัสอย่างนั้นแล้ว, พระอานนทเถระ จึงทูลถาม
บุรพกรรมของจิตตคฤหบดี. ลำดับนั้น พระศาสดา เมื่อจะตรัสแก่พระ-
อานนทเถระนั้น จึงตรัสว่า :-
" อานนท์ จิตตคฤหบดีนี้ มีอภินิหารอันทำไว้แทบบาทมูลของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์
สิ้นแสนกัลป์ ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป เกิดในสกุล
ของพรานเนื้อ ถึงควานเจริญแล้ว วันหนึ่ง เมื่อฝนตกอยู่ถือหอกไปสู่ป่า
เพื่อต้องการจะล่าเนื้อ ตรวจดูหมู่เนื้ออยู่ เห็นภิกษุรูปหนึ่งนั่งคลุมศีรษะ
ที่เงื้อมเกิดเอง1แห่งหนึ่ง จึงคิดว่า "พระผู้เป็นเจ้ารูปเดียว จักนั่งทำ
สมณธรรม, เราจักนำอาหารมา เพื่อพระผู้เป็นเจ้านั้น" ดังนี้แล้ว รีบไป
สู่เรือน ให้คนปิ้งเนื้อที่ตนนำมาเมื่อวานที่เตาแห่งหนึ่ง ให้หุงข้าวที่เตา
แห่งหนึ่ง เห็นภิกษุเที่ยวบิณฑบาตพวกอื่น รับบาตรของภิกษุแม้เหล่านั้น
นิมนต์ให้นั่งเหนืออาสนะที่จัดแจงไว้ ตระเตรียมภิกษาแล้ว สั่งคนอื่นว่า
" พวกท่านจงอังคาสพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย แล้ว ใส่ภัตนั้นลงในตะกร้า
ถือเดินไป เลือกเก็บดอกไม้ต่าง ๆ ในระหว่างทาง ห่อด้วยใบไม้ ไป
สู่ที่พระเถระนั่งแล้วกล่าวว่า "ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงทำความสงเคราะห์
แก่กระผมเถิด" ดังนี้แล้ว รับบาตร ให้เต็มด้วยภัตแล้ววางไว้ในมือของ
พระเถระ กระทำการบูชาด้วยดอกไม้เหล่านั้น ตั้งความปรารถนาว่า
1. อกตปพฺภาร เงื้อมที่บุคคลไม่ได้ทำ หมายความว่า เกิดเป็นเองตามธรรมชาติ