เมนู

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสนฺตํ ความว่า ภิกษุผู้พาล พึง
ปรารถนาความสรรเสริญอันไม่มีอยู่ คือภิกษุผู้พาล ไม่มีศรัทธา เป็น
ผู้ทุศีล สดับน้อย ไม่สงัด เกียจคร้าน มีสติไม่ตั้งมั่น มีจิตไม่มั่นคง
มีปัญญาทราม ไม่ใช่ขีณาสพ ย่อมปรารถนาความยกย่องอันไม่มีอยู่นี้ว่า
"ไฉนหนอ ชนพึงรู้จักเราว่า ' ภิกษุนี้ มีศรัทธา มีศีล เป็นพหูสูต
เป็นผู้สงัด ปรารภความเพียร มีสติตั้งมั่น มีจิตมั่นคง มีปัญญา เป็น
พระขีณาสพ" โดยนัยที่ท่านกล่าวไว้ในปาปิจฉตานิทเทส1ว่า " ภิกษุ
เป็นผู้ไม่มีศรัทธาเลย ย่อมปรารถนาว่า 'ชนจงรู้จักเราว่า 'ผู้มีศรัทธา"
เป็นต้น.
บทว่า ปุเรกฺขารํ คือ ซึ่งบริวาร. อธิบายว่า ภิกษุผู้พาล ตั้ง
อยู่ในความประพฤติด้วยอำนาจความอยากอย่างนี้ว่า " ไฉนหนอ ภิกษุ
ในวิหารทั้งสิ้น พึงแวดล้อมเราถามปัญหาอยู่" ชื่อว่า ย่อมปรารถนา
ความแวดล้อมในภิกษุทั้งหลาย.
บทว่า อาวาเสสุ ได้แก่ ในอาวาสอันเป็นของสงฆ์. อธิบายว่า
ภิกษุผู้พาล จัดเสนาสนะประณีตในท่ามกลางวิหารเพื่อภิกษุทั้งหลาย
มีภิกษุที่เป็นเพื่อนเห็นและเพื่อนคบเป็นต้นของตัว ด้วยบอกว่า "พวก
ท่าน จงอยู่ในเสนาสนะนี้" ส่วนตนเกียดกันเสนาสนะที่ดี จัดเสนาสนะ
อันทรามและเสนาสนะอันอมนุษย์หวงแหนแล้ว ซึ่งตั้งอยู่สุดท้าย เพื่อ
อาคันตุกภิกษุที่เหลือทั้งหลาย ด้วยบอกว่า "พวกท่าน จงอยู่ในเสนา-
1. อภิ. วิ. 35/ 473.

สนะนี้" ชื่อว่า ย่อมปรารถนาความเป็นใหญ่ในอาวาส.
บาทพระคาถาว่า ปุชา ปรกุเลสุ จ ความว่า ภิกษุผู้พาลย่อม
ไม่ปรารถนาการบูชาด้วยปัจจัย 4 ในสกุลของมารดาและบิดาเลย และ
ของพวกญาติก็ไม่ปรารถนา. ( แต่ ) ย่อมปรารถนาในสกุลของชนเหล่า
อื่นเท่านั้น อย่างนี้ว่า " ไฉนหนอ ชนเหล่านั้น พึงถวายแก่เราคนเดียว
ไม่พึงถวายแก่ภิกษุเหล่านั้น."
บาทพระคาถาว่า มเมว กตมญฺญนฺตุ ความว่า ก็ความดำริ
ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้พาลใดว่า "พวกคฤหัสถ์และบรรพชิต แม้ทั้งสอง
จงสำคัญกิจอันตนทำแล้ว คือที่สำเร็จแล้วเพราะอาศัยเราเท่านั้น" ด้วย
ความประสงค์ อย่างนั้นว่า "นวกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เขาทำแล้วใน
วิหาร ด้วยสามารถการกระทำนวกรรมมีโรงอุโบสถเป็นต้น. นวกรรม
นั้นทั้งหมด อันพระเถระของพวกเราทำแล้ว."
บาทพระคาถาว่า นเมว อติวสา อสฺสุ ความว่า ความดำริ
ย่อมเกิดขึ้น (แก่ภิกษุผู้พาลนั้น) ว่า "คฤหัสถ์และบรรพชิตแม้ทั้งหมด
จงเป็นไปในอำนาจของเราแต่ผู้เดียว คือ พาหนะและเครื่องอุปกรณ์ทั้ง
หลาย เป็นต้นว่า เกวียน โค พร้า ขวาน หรือโดยที่สุดกิจทั้งหลาย
เป็นต้นว่า อุ่นแม้เพียงข้าวยาคูแล้วดื่ม อันคฤหัสถ์และบรรพชิตจะพึง
ได้ก็ตามเถิด. แต่บรรดากิจน้อยและกิจใหญ่ คือบรรดากรณียกิจทั้งน้อย
ทั้งใหญ่ เห็นปานนี้ คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลาย จงเป็นไปในอำนาจ
ของเราเท่านั้น ในกิจไร ๆ คือ แม้ในกิจอย่างหนึ่ง. อธิบายว่า จงถาม
เราเท่านั้นแล้วจึงกระทำ."
สองบทว่า อิติ พาลสฺส ความว่า ความอยากนั้น และความ

ดำริเห็นปานนี้ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้พาลใด, วิปัสสนา มรรคและผล
ย่อมไม่เจริญทีเดียวแก่ภิกษุผู้พาลนั้น, แต่ตัณหาซึ่งบังเกิดขึ้นในทวาร 6
และมานะ 9 อย่าง1 ย่อมเจริญแก่ภิกษุผู้พาลนั้นอย่างเดียว เหมือนน้ำ
เจริญแก่ทะเลในเวลาพระจันทร์ขึ้นฉะนั้น2.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

พระสุธรรมเถระบรรลุพระอรหัต


แม้พระสุธรรมเถระ ฟังพระโอวาทนี้แล้ว ถวายบังคมพระศาสดา
ลุกขึ้นจากอาสนะ กระทำประทักษิณแล้ว ไปกับภิกษุผู้เป็นอนุทูตนั้น
กระทำคืนอาบัติในคลองจักษุของอุบาสก ยังอุบาสกให้อดโทษแล้ว.
พระสุธรรมเถระนั้น อันอุบาสกให้อดโทษด้วยคำว่า "กระผมอดโทษ
ขอรับ. ถ้าโทษของกระผมมี, ขอท่านอดโทษแก่กระผม" ตั้งอยู่ใน
พระโอวาท ที่พระศาสดาประทานแล้ว โดย 2-3 วันเท่านั้น ก็บรรลุ
พระอรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาแล้ว.

จิตตคฤหบดีไปเฝ้าพระศาสดา


ฝ่ายอุบาสก คิดว่า "เรายังไม่ได้เฝ้าพระศาสดาเลย เมื่อบรรลุโสดา-
ปัตติผลแล้ว, ยังไม่ได้เฝ้าพระศาสดาเหมือนกัน เมื่อดำรงอยู่ในอนาคามิผล,
1. มานะ 9 อย่าง ดูพิสดารในธรรมวิภาค ปริเฉทที่ 2.
2. นี้แปลตามฉบับสีหลและยุโรป แต่ฉบับของเราที่ใช่อยู่ เวลาแปลเติม นิสฺสาย เข้ามา
แปลว่า ตัณหาอันจะอาศัยฉันทะเป็นต้น เกิดขึ้นในทวาร 6 และมานะ 9 อย่างย่อมเจริญแก่..,
สี. ยุ. ฉนฺทาทโย เป็น จนฺโททเย.