เมนู

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสนฺตํ ความว่า ภิกษุผู้พาล พึง
ปรารถนาความสรรเสริญอันไม่มีอยู่ คือภิกษุผู้พาล ไม่มีศรัทธา เป็น
ผู้ทุศีล สดับน้อย ไม่สงัด เกียจคร้าน มีสติไม่ตั้งมั่น มีจิตไม่มั่นคง
มีปัญญาทราม ไม่ใช่ขีณาสพ ย่อมปรารถนาความยกย่องอันไม่มีอยู่นี้ว่า
"ไฉนหนอ ชนพึงรู้จักเราว่า ' ภิกษุนี้ มีศรัทธา มีศีล เป็นพหูสูต
เป็นผู้สงัด ปรารภความเพียร มีสติตั้งมั่น มีจิตมั่นคง มีปัญญา เป็น
พระขีณาสพ" โดยนัยที่ท่านกล่าวไว้ในปาปิจฉตานิทเทส1ว่า " ภิกษุ
เป็นผู้ไม่มีศรัทธาเลย ย่อมปรารถนาว่า 'ชนจงรู้จักเราว่า 'ผู้มีศรัทธา"
เป็นต้น.
บทว่า ปุเรกฺขารํ คือ ซึ่งบริวาร. อธิบายว่า ภิกษุผู้พาล ตั้ง
อยู่ในความประพฤติด้วยอำนาจความอยากอย่างนี้ว่า " ไฉนหนอ ภิกษุ
ในวิหารทั้งสิ้น พึงแวดล้อมเราถามปัญหาอยู่" ชื่อว่า ย่อมปรารถนา
ความแวดล้อมในภิกษุทั้งหลาย.
บทว่า อาวาเสสุ ได้แก่ ในอาวาสอันเป็นของสงฆ์. อธิบายว่า
ภิกษุผู้พาล จัดเสนาสนะประณีตในท่ามกลางวิหารเพื่อภิกษุทั้งหลาย
มีภิกษุที่เป็นเพื่อนเห็นและเพื่อนคบเป็นต้นของตัว ด้วยบอกว่า "พวก
ท่าน จงอยู่ในเสนาสนะนี้" ส่วนตนเกียดกันเสนาสนะที่ดี จัดเสนาสนะ
อันทรามและเสนาสนะอันอมนุษย์หวงแหนแล้ว ซึ่งตั้งอยู่สุดท้าย เพื่อ
อาคันตุกภิกษุที่เหลือทั้งหลาย ด้วยบอกว่า "พวกท่าน จงอยู่ในเสนา-
1. อภิ. วิ. 35/ 473.