เมนู

สมณะไม่ควรทำมานะและริษยา


ครั้นในกาลที่พระสุธรรมเถระนั้นกลับมา พระศาสดา ประทาน
ภิกษุผู้อนุทูตแก่เธอผู้นำมานะออกแล้ว ตรัสว่า "เธอจงไปเถิด, ไปกับ
ภิกษุนี้ จงให้อุบาสกอดโทษ" ดังนี้แล้ว ตรัสว่า "ธรรมดาสมณะ
ไม่ควรทำมานะหรือริษยาว่า 'วิหารของเรา, ที่อยู่ของเรา, อุบาสกของ
เรา, อุบาสิกาของเรา, เพราะเมื่อสมณะทำอย่างนั้น เหล่ากิเลส มีริษยา
และมานะเป็นต้น ย่อมเจริญ" เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึง
ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า:-
14. อสนฺตํ ภาวมิจฺเฉยฺย ปุเรกฺขารญฺจ ภิกฺขุสุ
อาวาเสสุ จ อิสฺสริยํ ปูชา ปรกุเลสุ จ
มเนว กตมญฺญนฺตุ คิหี ปพฺพชิตา อุโภ
มเมว อติวสา อสฺสุ กิจฺจากิจฺเจสุ กิสฺมิจิ
อิติ พาลสฺส สงฺกปฺโป อิสฺสา มโน จ วฑฺฒตฺ.
"ภิกษุผู้พาล พึงปรารถนาความยกย่องอันไม่
มีอยู่ ความแวดล้อมในภิกษุทั้งหลาย ความเป็นใหญ่
ในอาวาส และการบูชาในตระกูลแห่งชนอื่น ความ
ดำริ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้พาลว่า 'คฤหัสถ์และ
บรรพชิตทั้งสองจงสำคัญกรรม อันเขาทำเสร็จแล้ว
เพราะอาศัยเราผู้เดียว จงเป็นไปในอำนาจของเรา
เท่านั้น ในกิจน้อยใหญ่ กิจไร ๆ, ริษยาและมานะ
ย่อมเจริญ (แก่เธอ)."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสนฺตํ ความว่า ภิกษุผู้พาล พึง
ปรารถนาความสรรเสริญอันไม่มีอยู่ คือภิกษุผู้พาล ไม่มีศรัทธา เป็น
ผู้ทุศีล สดับน้อย ไม่สงัด เกียจคร้าน มีสติไม่ตั้งมั่น มีจิตไม่มั่นคง
มีปัญญาทราม ไม่ใช่ขีณาสพ ย่อมปรารถนาความยกย่องอันไม่มีอยู่นี้ว่า
"ไฉนหนอ ชนพึงรู้จักเราว่า ' ภิกษุนี้ มีศรัทธา มีศีล เป็นพหูสูต
เป็นผู้สงัด ปรารภความเพียร มีสติตั้งมั่น มีจิตมั่นคง มีปัญญา เป็น
พระขีณาสพ" โดยนัยที่ท่านกล่าวไว้ในปาปิจฉตานิทเทส1ว่า " ภิกษุ
เป็นผู้ไม่มีศรัทธาเลย ย่อมปรารถนาว่า 'ชนจงรู้จักเราว่า 'ผู้มีศรัทธา"
เป็นต้น.
บทว่า ปุเรกฺขารํ คือ ซึ่งบริวาร. อธิบายว่า ภิกษุผู้พาล ตั้ง
อยู่ในความประพฤติด้วยอำนาจความอยากอย่างนี้ว่า " ไฉนหนอ ภิกษุ
ในวิหารทั้งสิ้น พึงแวดล้อมเราถามปัญหาอยู่" ชื่อว่า ย่อมปรารถนา
ความแวดล้อมในภิกษุทั้งหลาย.
บทว่า อาวาเสสุ ได้แก่ ในอาวาสอันเป็นของสงฆ์. อธิบายว่า
ภิกษุผู้พาล จัดเสนาสนะประณีตในท่ามกลางวิหารเพื่อภิกษุทั้งหลาย
มีภิกษุที่เป็นเพื่อนเห็นและเพื่อนคบเป็นต้นของตัว ด้วยบอกว่า "พวก
ท่าน จงอยู่ในเสนาสนะนี้" ส่วนตนเกียดกันเสนาสนะที่ดี จัดเสนาสนะ
อันทรามและเสนาสนะอันอมนุษย์หวงแหนแล้ว ซึ่งตั้งอยู่สุดท้าย เพื่อ
อาคันตุกภิกษุที่เหลือทั้งหลาย ด้วยบอกว่า "พวกท่าน จงอยู่ในเสนา-
1. อภิ. วิ. 35/ 473.