เมนู

จิตตคฤหบดีแล้ว ใคร่จะทำความสงเคราะห์แก่คฤหบดีนั้น จึงได้ไปสู่มัจ-
ฉิกาสัณฑนคร. จิตตคฤหบดี ทราบการมาของพระอัครสาวกทั้งสองนั้น
จึงไปต้อนรับสิ้นทางประมาณกึ่งโยชน์ พาพระอัครสาวกทั้งสองนั้น มา
แล้ว นิมนต์ให้เข้าไปสู่วิหารของตน ทำอาคันตุกวัตรแล้ว อ้อนวอน
พระธรรมเสนาบดีว่า " ท่านผู้เจริญ กระผมปรารถนาฟังธรรมกถาสัก
หน่อย." ครั้งนั้น พระเถระกล่าวกะเขาว่า "อุบาสก อาตมะทั้งหลาย
เหน็ดเหนื่อยแล้วโดยทางไกล, อนึ่ง ท่านจงฟังเพียงนิดหน่อยเถิด"
ดังนี้แล้ว ก็กล่าวธรรมกถาแก่เขา. คฤหบดีนั้นฟังธรรมกถาของพระเถระ
อยู่แล บรรลุอนาคามิผลแล้ว. เขาไหว้พระอัครสาวกทั้งสองแล้วนิมนต์ว่า
"ท่านผู้เจริญ พรุ่งนี้ขอท่านทั้งสอง กับภิกษุพันรูป รับภิกษาที่เรือน
กระผม" แล้วนิมนต์พระสุธรรมเถระเจ้าอาวาสภายหลังว่า " ท่านขอรับ
พรุ่งนี้แม้ท่านก็พึงมากับพระเถระทั้งหลาย."

พระสุธรรมเถระด่าคฤหบดี


พระสุธรรมเถระนั้น โกรธว่า " อุบาสกนี้ นิมนต์เราภายหลัง "
จึงห้ามเสีย แม้อันคฤหบดีอ้อนวอนอยู่บ่อย ๆ ก็ห้ามแล้วนั่นแล. อุบาสก
กล่าวว่า "ท่านจักปรากฏ ขอรับ" แล้วหลีกไป ในวันรุ่งขึ้นจัดแจง
ทานใหญ่ไว้ในที่อยู่ของตน. ในเวลาใกล้รุ่งแล แม้พระสุธรรมเถระ คิดว่า
" คฤหบดี จัดแจงสักการะเช่นไรหนอแล ? เพื่อพระอัครสาวกทั้งสอง
พรุ่งนี้เราจักไปดู" แล้วได้ถือบาตรและจีวรไปสู่เรือนของคฤหบดีนั้นแต่
เช้าตรู่. พระสุธรรมเถระนั้น แม้อันคฤหบดี กล่าวว่า "นิมนต์นั่งเถิด
ขอรับ" ก็กล่าวว่า "เราไม่นั่ง, จักเที่ยวบิณฑบาต" แล้วตรวจดู

สักการะอันคฤหบดีเตรียมไว้เพื่อพระอัครสาวกทั้งสอง ใคร่จะเสียดสี
คฤหบดีโดยชาติ จึงกล่าวว่า "คฤหบดีสักการะของท่านล้นเหลือ, ก็แต่
ในสักการะนี้ ไม่มีอยู่อย่างเดียวเท่านั้น."
คฤหบดี. อะไร ขอรับ ?
พระเถระ ตอบว่า " ขนมแดกงา คฤหบดี" ถูกคฤหบดีรุกราน
ด้วยวาจาอุปมาด้วยกา โกรธแล้ว กล่าวว่า " คฤหบดี นั่นอาวาสของ
ท่าน, เราจักหลีกไป." แม้อันคฤหบดีห้ามถึง 3 ครั้ง ก็หลีกไปสู่สำนัก
พระศาสดา กราบทูลลำที่จิตตคฤหบดี และตนกล่าวแล้ว.

พระสุธรรมเถระถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรม


พระศาสดา ตรัสว่า "อุบาสกเป็นคนมีศรัทธาเลื่อมใส อันเธอ
ด่าด้วยคำเลว" ดังนี้แล้ว ทรงปรับโทษแก่พระสุธรรมเถระนั้นนั่นแล
แล้วรับสั่งให้สงฆ์ลงปฏิสารณียกรรม1 แล้วส่งไปว่า "เธอจงไป, ให้
จิตตคฤหบดีอดโทษเสีย." พระเถระไปในที่นั้นแล้ว แม้กล่าวว่า
" คฤหบดี นั่นโทษของอาตมะเท่านั้น, ท่านจงอดโทษแก่อาตมะเถิด "
อันคฤหบดีนั้น ห้ามว่า "ผมไม่อดโทษ" เป็นผู้เก้อ ไม่อาจให้คฤหบดี
นั้นอดโทษได้, จึงกลับมาสู่สำนักพระศาสดาอีกเทียว. พระศาสดา แม้
ทรงทราบว่า "อุบาสกจักไม่อดโทษแก่พระสุธรรมนั้น ทรงดำริว่า
"ภิกษุนี้ กระด้างเพราะมานะ จงไปสู่ทาง 3 โยชน์แล้วกลับมา" จึง
ไม่ทรงบอกอุบายให้อดโทษเลย ทรงส่งไปแล้ว.
1. กรรมอันให้ระลึกถึงความผิด.