เมนู

พระศาสดาทรงรับรองว่าเปรตมี


พระศาสดา ทรงสดับถ้อยคำของพระเถระแล้ว จึงตรัสว่า "ภิกษุ
ทั้งหลาย สัตว์นี้ แม้เรานั่งอยู่ที่โพธิมัณฑประเทศ ก็เห็นแล้วเหมือนกัน
เราไม่บอก ก็เพื่อนุเคราะห์แก่คนเหล่าอื่นว่า ' ก็แลคนเหล่าใด ไม่พึง
เชื่อคำของเรา; ความไม่เชื่อนั้น พึงมีเพื่อกรรมไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล
แก่คนเหล่านั้น,' แต่ว่า บัดนี้ เราเป็นพยานของโมคคัลลานะ จึงบอก
ได้." ภิกษุทั้งหลาย ฟังพระดำรัสนั้นแล้ว จึงทูลถามถึงบุรพกรรมของ
เปรตนั้น. แม้พระศาสดา ก็ตรัสแก่ภิกษุเหล่านั้นว่า :-

บุรพกรรมของสัฏฐิกูฏเปรต


" ดังได้ยินมา ในอดีตกาล ในกรุงพาราณสี ได้มีบุรุษเปลี้ย
คนหนึ่ง ถึงซึ่งความสำเร็จในศิลปะของบุคคลผู้ดีดก้อนกรวด. บุรุษนั้น
นั่ง ณ ภายใต้ต้นไทรย้อยต้นหนึ่ง ใกล้ประตูพระนคร อันพวกเด็ก
ชาวบ้านกล่าวอยู่ว่า " ท่านจงดีดก้อนกรวดไปเจาะใบไทรนั้นแสดงรูปช้าง
แก่พวกเรา; แสดงรูปม้าแก่พวกเรา" ก็แสดงรูปทั้งหลายอันพวกเด็ก
ปรารถนาแล้ว ๆ ได้วัตถุมีของเคี้ยวเป็นต้น จากสำนักพวกเด็กเหล่านั้น.
ภายหลังวันหนึ่ง พระราชาเสด็จไปสู่พระราชอุทยาน เสด็จถึงประเทศนั้น.
พวกเด็กซ่อนบุรุษเปลี้ยไว้ในระหว่างย่านไทรแล้ว ก็หนีไป. เมื่อพระ-
ราชาเสด็จเข้าไปสู่โคนต้นไม้ในเวลาเที่ยงตรง เงาของช่องส่องต้องพร-
สรีระ. ท้าวเธอทรงดำริว่า "นี้อะไรหนอแล ?" ทรงตรวจดูในเบื้องบน
ทอดพระเนตรเห็นรูปมีรูปช้างเป็นต้นที่ใบไม้ทั้งหลาย จึงตรัสถามว่า
" นี่กรรมของใคร ?" ทรงสดับว่า " ของบุรุษเปลี้ย" จงรับสั่งให้หา

บุรุษเปลี้ยนั้นมาแล้ว ตรัสว่า "ปุโรหิตของเรา ปากกล้านัก เมื่อเรา
พูดแม้นิดหน่อย ก็พูดเสียมากมาย ย่อมเบียดเบียนเรา, ท่านอาจ เพื่อ
ดีดมูลแพะประมาณทะนานหนึ่ง เข้าในปากของปุโรหิตนั้นได้หรือ ?"
บุรุษเปลี้ยทูลว่า " อาจ พระเจ้าข้า, ขอพระองค์จงให้คนนำมูลแพะมา
แล้วประทับนั่งภายในม่านกับปุโรหิต, ข้าพระองค์ จักรู้กรรมที่ควร
กระทำในเรื่องนี้." พระราชา ได้ทรงกระทำเหมือนอย่างนั้น. บุรุษ
เปลี้ยนอกนี้ ให้กระทำช่องไว้ที่ม่านด้วยปลายแห่งกรรไกร เมื่อปุโรหิต
พูดกับด้วยพระราชา พออ้าปาก ก็ดีดมูลแพะไปทีละก้อน ๆ. ปุโรหิต
กลืนมูลแพะที่เข้าปากแล้ว ๆ. เมื่อมูลแพะหมด บุรุษเปลี้ยจึงสั่นม่าน
พระราชา ทรงทราบความที่มูลแพะหมดด้วยสัญญานั้นแล้ว จึงตรัสว่า
" ท่านอาจารย์ เราพูดกับท่าน จักไม่อาจจำคำไว้ได้ ท่านแม้กลืนกิน
มูลแพะประมาณทะนานหนึ่งแล้ว ยังไม่ถึงความเป็นผู้นิ่ง เพราะความที่
ท่านมีปากกล้านัก." พราหมณ์ถึงความเป็นผู้เก้อ จำเดิมแต่นั้น ไม่อาจ
เพื่ออ้าปากเจรจากับพระราชาได้. พระราชารับสั่งให้เรียกบุรุษเปลี้ยมาแล้ว
ตรัสว่า " เราได้ความสุขเพราะอาศัยท่าน. " ทรงพอพระทัย จึงพระ-
ราชทานชื่อหมวด 8 แห่งวัตถุทั้งสิ้นแก่เขา ได้พระราชทานบ้านส่วย 4
ตำบล ในทิศทั้ง 4 แห่งเมือง. อำมาตย์ผู้พร่ำสอนอรรถและธรรมของ
พระราชาทราบความนั้นแล้ว จึงกล่าวคาถานี้ว่า:-
" ชื่อว่าศิลปะ แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ยังประ-
โยชน์ให้สำเร็จได้. ท่านจงดูเถิด, ด้วยการดีดตาม
ประสาคนเปลี้ย บุรุษเปลี้ยได้บ้านส่วย อันตั้งอยู่
ในทิศทั้ง 4."

(ก็อำมาตย์นั้น) โดยสมัยนั้น ได้เป็นพระผู้มีพระภาคเจ้า คือเรานี่
เอง. ครั้งนั้น บุรุษคนหนึ่ง เห็นสมบัติอันบุรุษเปลี้ยได้แล้ว จึงคิดว่า
" บุรุษชื่อนี้ เป็นคนเปลี้ย อาศัยศิลปะนี้ จึงถึงแล้วซึ่งสมบัติใหญ่
แม้เราศึกษาศิลปะนี้ไว้ก็ควร. " เขาเข้าไปหาบุรุษเปลี้ย ไหว้แล้วกล่าวว่า
" ท่านอาจารย์ ขอท่านจงให้ศิลปะนี้แก่ข้าพเจ้าเถิด. " บุรุษเปลี้ย กล่าวว่า
" พ่อ เราไม่อาจให้ได้. " เขาถูกบุรุษเปลี้ยนั้นห้ามแล้ว คิดว่า " ช่าง
เถอะ. เราจักยังบุรุษเปลี้ยนั้นให้ยินดี. " จึงกระทำกิจมีการนวดมือและ
เท้าเป็นต้น แก่บุรุษเปลี้ยนั้นอยู่ ให้บุรุษเปลี้ยนั้นยินดีแล้ว สิ้นกาลนาน
วิงวอนบ่อย ๆ แล้ว. บุรุษเปลี้ยคิดว่า " คนนี้มีอุปการะแก่เราเหลือเกิน "
จึงมิอาจเพื่อห้ามเขาได้ ให้เขาศึกษาศิลปะแล้ว กล่าวว่า " พ่อ ศิลปะ
ของท่านสำเร็จแล้ว, บัดนี้ท่านจักกระทำอะไรเล่า ? "
บุรุษ. ข้าพเจ้าจักไปทดลองศิลปะในภายนอก.
บุรุษเปลี้ย. ท่านจักทำอย่างไร ?
บุรุษ. ข้าพเจ้าจักดีดแม่โคหรือมนุษย์ให้ตาย.
บุรุษเปลี้ย กล่าวว่า " พ่อ เมื่อคนฆ่าแม่โค สินไหมมีอยู่ 100,
เมื่อฆ่ามนุษย์ สินไหมมีอยู่ 1 พัน, ท่านแม้ทั้งบุตรและภรรยา จักไม่
อาจเพื่อจะปลดเปลื้องสินไหมนั้นได้, ท่านจงอย่าฉิบหายเสียเลย เมื่อ
ท่านประหารบุคคลใด ไม่ต้องเสียสินไหม. ท่านจะตรวจดูใคร ๆ ผู้หา
มารดาบิดามิได้เช่นนั้น. " บุรุษนั้น รับว่า " ดีละ " แล้วเอากรวด
ใส่พกเที่ยวเลือกดูบุคคลเช่นนั้นอยู่ เห็นแม่โคแล้ว ไม่อาจดีดได้ด้วย
คิดว่า " แม่โคนี้มีเจ้าของ. " เห็นมนุษย์แล้วไม่อาจดีดได้ ด้วยคิดว่า
" คนนี้มีมารดาบิดา. "

ก็โดยสมัยนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้า ชื่อว่าสุเนตตะ อาศัยพระนคร
อยู่ในบรรณศาลา. บุรุษนั้น เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ผู้เข้าไปเพื่อ
บิณฑบาต ยืนอยู่ที่ระหว่างประตูพระนคร จึงคิดว่า " พระปัจเจกพุทธ-
เจ้านี้ เป็นผู้ไม่มีมารดาบิดา, เมื่อเราดีดผู้นี้ ไม่ต้องมีสินไหม, เราจัก
ดีดพระปัจเจกพุทธเจ้านี้ ทดลองศิลปะ " ดังนี้แล้ว จึงดีดก้อนกรวดไป
หมายช่องหูเบื้องขวาของพระปัจเจกพุทธเจ้า. ก้อนกรวดเข้าไปโดยช่องหู
เบื้องขวา ทะลุออกโดยช่องหูเบื้องซ้าย. ทุกขเวทนาเกิดขึ้นแล้ว. พระ-
ปัจเจกพุทธเจ้า ไม่อาจจะเที่ยวไปเพื่อภิกษาได้. จึงไปสู่บรรณศาลาโดย
อากาศ ปรินิพพานแล้ว. พวกมนุษย์เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าไม่มา
คิดว่า " ความไม่ผาสุกอะไร ๆ จักมี " จึงไปที่บรรณศาลานั้น เห็นท่านปริ-
นิพพานแล้วร้องไห้คร่ำครวญแล้ว. แม้บุรุษนั้น เห็นมหาชนไปอยู่ ไป
ที่บรรณศาลานั้นแล้ว จำพระปัจเจกพุทธเจ้าได้ จึงกล่าวว่า " พระปัจเจก-
พุทธเจ้าองค์นี้ เมื่อเข้าไปเพื่อบิณฑบาต พบเราที่ระหว่างประตู. เรา
เมื่อจะทดลองศิลปะของตน จึงประหารพระปัจเจกพุทธเจ้านี้. " พวกมนุษย์
กล่าวว่า " ได้ยินว่า คนชั่วนี้ ประหารพระปัจเจกพุทธเจ้า. พวกท่าน
จงจับ ๆ " โบยให้บุรุษนั้นถึงความสิ้นชีวิตในที่นั้นเอง. บุรุษนั้น เกิด
ในอเวจีไหม้แล้ว จนแผ่นดินใหญ่นี้หนาขึ้นโยชน์หนึ่ง บังเกิดเป็นสัฏฐิ-
กูฏเปรต ที่ยอดภูเขาคิชฌกูฏ ด้วยผลกรรมอันเหลือ.

พระศาสดาตรัสสอนพวกภิกษุ


พระศาสดา ครั้นตรัสบุรพกรรมนี้ของเปรตนั้นแล้ว จึงตรัสว่า
" ภิกษุทั้งหลาย ศิลปะหรือความเป็นอิสระ เมื่อเกิดขึ้นแก่ผู้ชื่อว่าคนพาล