เมนู

สองบทว่า ปาปํ น ปจฺจติ ความว่า คนพาล ย่อมสำคัญ
บาปนั้นอย่างนั้น ตราบเท่าที่บาปยังไม่ให้ผลในทิฏฐธรรม หรือใน
สัมปรายภพ.
บทว่า ยทา จ ความว่า ก็ในกาลใด เมื่อคนพาลนั้น ถูกทำ
กรรมกรณ์ต่าง ๆ ในทิฏฐธรรม หรือเสวยทุกข์ใหญ่ในอบายมีนรก
เป็นต้นในสัมปรายภพ บาปนั้นชื่อว่าย่อมให้ผล; ในกาลนั้น คนพาลนั้น
ย่อมเข้าถึง คือประสพ ได้แก่กลับได้ทุกข์.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น.

พระขีณาสพไม่ยินดีกามสุข


โดยสมัยอื่น มหาชนสนทนากันในธรรมสภาว่า "แม้พระขีณาสพ
ทั้งหลาย ชะรอยจะยังยินดีกามสุข ยังเสพกาม, ทำไมจักไม่ซ่องเสพ;
เพราะพระขีณาสพเหล่านั้น ไม่ใช่ไม้ผุ, ไม่ใช่จอมปลวก. มีเนื้อและ
สรีระยังสดเหมือนกัน; เพราะฉะนั้น แม้พระขีณาสพเหล่านั้น ยังยินดี
กามสุข, ยังเสพกาม."
พระศาสดา เสด็จมา ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวก
เธอนั่งสนทนาด้วยเรื่องอะไรกัน ?" เมื่อพวกภิกษุ กราบทูลว่า " ด้วย
เรื่องชื่อนี้" จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย พระขีณาสพทั้งหลาย ไม่ยินดี
กามสุข ไม่เสพกาม, เหมือนอย่างว่า หยาดน้ำตกลงบนใบบัว ย่อม
ไม่ติด ไม่ตั้งอยู่. ย่อมกลิ้งตกไปทีเดียว; และเหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาด
ไม่ติด ไม่ตั้งอยู่ ที่ปลายเหล็กแหลม, ย่อมกลิ้งตกไปแน่แท้ ฉันใด;

กามแม้ 2อย่าง ย่อมไม่ซึมซาบ ไม่ตั้งอยู่ในจิตของพระขีณาสพ ฉันนั้น"
ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถาม ใน
พราหมณวรรค1ว่า :-
"เรากล่าวบุคคล ผู้ไม่ติดอยู่ในกามทั้งหลาย
เหมือนน้ำไม่ติดอยู่ในใบบัว เหมือนเมล็ดพันธุ์
ผักกาดไม่ติดอยู่ที่ปลายเหล็กแหลม; ว่าเป็นพราหมณ์."

เนื้อความแห่งพระคาถานี้ จักแจ่มแจ้งในพราหมณวรรคนั่นแล.

ภิกษุณีควรอยู่ในพระนคร


ก็พระศาสดา รับสั่งให้เชิญพระเจ้าปเสนทิโกศลมาแล้ว ตรัสว่า
" มหาบพิตร แม้กุลธิดาทั้งหลาย ในพระศาสนานี้ ละหมู่ญาติอันใหญ่
และกองแห่งโภคะมาก บวชแล้ว ย่อมอยู่ในป่า เหมือนอย่างกุลบุตร
ทั้งหลายเหมือนกัน, คนลามก ถูกราคะย้อมแล้ว ย่อมเบียดเบียนภิกษุณี
เหล่านั้น ผู้อยู่ในป่า ด้วยสามารถแห่งการดูถูกดูหมิ่นบ้าง ให้ถึงอันตราย
แห่งพรหมจรรย์บ้าง; เพราะฉะนั้น พระองค์ควรทำที่อยู่ภายในพระนคร
แก่ภิกษุณีสงฆ์."
พระราชา ทรงรับว่า "ดีละ" ดังนี้แล้ว รับสั่งให้สร้างที่อยู่
เพื่อภิกษุณีสงฆ์ ที่ข้างหนึ่งแห่งพระนคร. จำเดิมแต่นั้นมา พวกภิกษุณี
ย่อมอยู่ในละแวกบ้านเท่านั้น.
เรื่องพระอุบลวรรณาเถรี จบ.
1. ขุ. ธ. 25/69.