เมนู

พระอุบลวรรณาเถรีบรรลุพระอรหัต


เมื่อนางบวชแล้วไม่นาน วาระรักษาลูกดาลในโรงอุโบสถถึงแล้ว
นางตามประทีป กวาดโรงอุโบสถ ยืนถือนิมิตแห่งเปลวประทีป แลดู
แล้ว ๆ เล่า ๆ ยังฌานมีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ให้เกิดแล้ว กระทำฌาน
นั้นแลให้เป็นบาท บรรลุพระอรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาและอภิญญา
ทั้งหลายแล้ว. โดยสมัยอื่น พระเถรีนั้นเที่ยวจาริกไปในชนบท กลับมา
แล้ว เข้าไปสู่ป่าอันธวัน. ในกาลนั้น พระศาสดายังไม่ทรงห้ามการอยู่ป่า
ของพวกนางภิกษุณี. ครั้งนั้นพวกมนุษย์ทำกระท่อม ตั้งเตียงกั้นม่านไว้
ในป่านั้น แก่พระเถรีนั้น. พระเถรีนั้น เข้าไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี
ออกมาแล้ว.

นันทมาณพข่มขืนพระเถรี


ฝ่ายนันทมาณพ ผู้เป็นบุตรแห่งลุงของพระเถรีนั้น มีจิตปฏิพัทธ์
ตั้งแต่กาลแห่งพระเถรียังเป็นคฤหัสถ์ สดับความที่พระเถรีมา จึงไปสู่ป่า
อันธวันก่อนแต่พระเถรีมาทีเดียว เข้าไปสู่กระท่อม ซ่อนอยู่ภายใต้เตียง
พอเมื่อพระเถรีมาแล้ว เข้าไปสู่กระท่อม ปิดประตู นั่งลงบนเตียง เมื่อ
ความมืดในคลองจักษุยังไม่ทันหาย เพราะมาจาก (กลาง) แดดใน
ภายนอก, จึงออกมาจากภายใต้เตียง ขึ้นเตียงแล้ว ถูกพระเถรีห้ามอยู่ว่า
" คนพาล เธออย่าฉิบหายเลย, คนพาล เธออย่าฉิบหายเลย" ข่มขืน
กระทำกรรมอันตนปรารถนาแล้วก็หนีไป. ครั้งนั้น แผ่นดินให้ประดุจ
ว่าไม่อาจจะทรงโทษของเขาไว้ได้ แยกออกเป็น 2 ส่วนแล้ว . เขาข้าไปสู่
แผ่นดิน ไปเกิดในอเวจีมหานรกแล้ว.

ฝ่ายพระเถรี บอกเนื้อความแก่ภิกษุณีทั้งหลายแล้ว. พวกภิกษุณี
แจ้งเนื้อความนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย. พวกภิกษุ กราบทูลแด่พระผู้มี-
พระภาคเจ้า.

คนพาลประสบทุกข์เพราะบาปกรรม


พระศาสดา ทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัส
ว่า " ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้ใด
ผู้หนึ่งเป็นพาล เมื่อทำกรรมลามก เป็นผู้ยินดีร่าเริง เป็นประดุจฟูขึ้น ๆ
ย่อมทำได้ ประดุจบุรุษเคี้ยวกินรสของหวาน มีจำพวกน้ำผึ้ง และ
น้ำตาลกรวดเป็นต้น บางชนิด" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดง
ธรรม ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
10. มธุวา มญฺญตี พาโล ยาว ปาปํ น ปจฺจติ
ยทา จ ปจฺจติ ปาปํ อถ (พาโล) ทุกฺขํ นิคจฺฉติ.
"คนพาลย่อมสำคัญบาปประดุจน้ำผึ้ง ตราบเท่า
ที่บาปยังไม่ให้ผล; ก็เมื่อใด บาปให้ผล; เมื่อนั้น
คนพาล ย่อมประสพทุกข์.

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มธุวา เป็นต้น ความว่า ก็เมื่อ
คนพาลกระทำบาป คืออกุศลกรรมอยู่ กรรมนั้นย่อมปรากฏดุจน้ำผึ้ง คือ
ดุจน้ำหวาน ได้แก่ประดุจน่าใคร่ น่าชอบใจ, คนพาลนั้น ย่อมสำคัญบาป
นั้น เหมือนน้ำหวาน ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า ยาว คือ ตลอดกาลเพียงใด.