เมนู

แล้ว รับสั่งให้หานายมาลาการมาแล้ว ตรัสถามว่า " เจ้าว่าอย่างไร
จึงบูชาพระศาสดาด้วยดอกไม้ อันตนพึงนำมาเพื่อเรา ?" นายมาลาการ
กราบทูลว่า "ขอเดชะ ข้าพระองค์คิดว่า 'พระราชาจะฆ่าเราก็ตาม
จะขับไล่เราเสียจากแว่นแคว้นก็ตาม' ดังนี้แล้ว จึงสละชีวิตบูชาพระ-
ศาสดา." พระราชาตรัสว่า "เจ้าชื่อว่าเป็นมหาบุรุษ" แล้วพระราชทาน
ของที่ควรให้ ชื่อหมวด 8 แห่งวัตถุทั้งปวงนี้ คือช้าง 8 ม้า 8 ทาส 8
ทาสี 8 เครื่องประดับใหญ่ 8 กหาปณะ 8 พัน นารี 8 นาง ที่นำมา
จากราชตระกูล ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง และบ้านส่วย 8 ตำบล

พระศาสดาตรัสสรรเสริญนายมาลาการ


พระอานนท์เถร ะ คิดว่า "วันนี้ ตั้งแต่เช้าตรู่ เสียงสีหนาท
ตั้งพัน และการยกท่อนผ้าขึ้นตั้งพันย่อมเป็นไป. วิบากของนายมาลาการ
เป็นอย่างไรหนอแล ?" พระเถระนั้น ทูลถามพระศาสดาแล้ว ลำดับนั้น
พระศาสดา ตรัสกะพระเถระนั้นว่า " อานนท์ เธออย่าได้กำหนดว่า
กรรมมีประมาณเล็กน้อย อันนายมาลาการนี้กระทำแล้ว' ก็นายมาลาการ
นี้ได้สละชีวิตกระทำการบูชาเราแล้ว, เขายังจิตให้เลื่อมใสในเราด้วยอาการ
อย่างนั้น จักไม่ไปสู่ทุคติ ตลอดแสนกัลป์" ดังนี้แล้ว ตรัสว่า :-
"นายมาลาการ จักดำรงอยู่ในเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย จักไม่ไปสู่ทุติ ตลอดแสนกัลป์, นี่เป็น
ผลแห่งกรรมนั้น, ภายหลังเขาจักเป็นพระปัจเจก-
พุทธะ นามว่าสุมนะ."

ก็ในเวลาพระศาสดาเสด็จถึงวิหาร เข้าไปสู่พระคันธกุฎี ดอกไม้
เหล่านั้นตกลงที่ซุ้มพระทวารแล้ว.

ไม่ควรทำกรรมที่เดือดร้อนภายหลัง


ในเวลาเย็น ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมว่า " แหม !
กรรมของนายมาลาการ น่าอัศจรรย์. เธอสละชีวิตเพื่อพระพุทธเจ้าผู้ยัง
ดำรงพระชนม์อยู่ กระทำการบูชาด้วยดอกไม้แล้ว ได้ของพระราชทาน
ชื่อว่าหมวด 8 ล้วน ในขณะนั้นนั่นเอง." พระศาสดาเสด็จออกจาก
พระคันธกุฎีแล้ว ไปสู่โรงธรรมด้วยการเสด็จไป 3 อย่าง อย่างใด
อย่างหนึ่ง ประทับนั่งบนพระพุทธอาสน์แล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุ
ทั้งหลาย บัดนี้ เธอทั้งหลายนั่งประชุมกันด้วยกถาอะไรหนอ ?" เมื่อ
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า " ด้วยกถาชื่อนี้," จึงตรัสว่า "อย่างนั้นภิกษุ
ทั้งหลาย ความเดือดร้อนในภายหลังย่อมไม่มี โสมนัสเท่านั้นย่อมเกิดขึ้น
ในขณะที่ระลึกแล้ว ๆ เพราะบุคคลกระทำกรรมใด, กรรมเห็นปานนั้น
อันบุคคลควรกระทำแท้" เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัส
พระคาถานี้ว่า:-
9. ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ
ยสฺส ปตีโต สุมโน วิปากํ ปฏิเสวติ.
"บุคคลทำกรรมใดแล้ว ย่อมไม่เดือดร้อนใน
ภายหลัง เป็นผู้เอิบอิ่ม มีใจดี ย่อมเสวยผลของ
กรรมใด, กรรมนั้นแล อันบุคคลทำแล้ว เป็น
กรรมดี."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า ยํ กตฺวา ความว่า บุคคลกระทำ