เมนู

พระราชา. พระองค์ทอดพระเนตรเห็นอะไรในนานั้น ?
พระศาสดา. ถุงทรัพย์พันหนึ่ง มหาบพิตร.
พระราชา. ทอดพระเนตรเห็นแล้ว ได้ตรัสคำอะไร ?
พระศาสดา. คำชื่อนี้ มหาบพิตร.
พระราชา. พระเจ้าข้า ถ้าบุรุษนี้จักไม่ได้กระทำการอ้างบุคคลผู้
เช่นกับด้วยพระองค์แล้วไซร้, เขาจักไม่ได้ชีวิต. แต่เขากล่าวคำที่พระ-
องค์ตรัสแล้ว จึงได้ชีวิต.

ไม่ควรทำกรรมที่ให้ผลเดือดร้อนในภายหลัง


พระศาสดา ทรงสดับพระราชดำรัสนั้นแล้ว ตรัสว่า "ขอถวาย
พระพร มหาบพิตร, แม้ตถาคตกล่าวคำมีประมาณเท่านั้นนั่นเองแล้ว
ก็ไป, ความตามเดือดร้อนในภายหลังย่อมมี เพราะกระทำกรรมใด
กรรมนั้น ผู้ชื่อว่าเป็นบัณฑิตไม่พึงกระทำ " ดังนี้ เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิ
แสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
8. น ตํ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา อนุตปฺปติ
ยสฺส อสฺสุมุโข โรทํ วิปากํ ปฏิเสวติ.
"บุคคลกระทำกรรมใดแล้ว ย่อมเดือดร้อนใน
ภายหลัง เป็นผู้มีหน้าชุ่มด้วยน้ำตา ร้องไห้เสวย
ผลของกรรมใดอยู่ กรรมนั้น อันบุคคลกระทำแล้ว
ไม่ดีเลย."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า ยํ กตฺวา ความว่า บุคคลกระทำ

กรรมใด คืออันสามารถจะให้เกิดในอบายภูมิทั้งหลายมีนรกเป็นต้น ได้แก่
มีทุกข์เป็นกำไร เมื่อตามระลึกถึง ชื่อว่าย่อมเดือดร้อนในภายหลัง คือ
ย่อมเศร้าโศกในภายหลัง ในขณะที่ระลึกถึงแล้ว ๆ, กรรมนั้น อันบุคคล
กระทำแล้วไม่ดี คือไม่งาม ได้แก่ ไม่สละสลวย.
สองบทว่า ยสฺส อสฺสุมุโข ความว่า เป็นผู้มีหน้าชุ่มด้วยน้ำตา
ร้องไห้ ย่อมเสวยผลกรรมใด.
ในเวลาจบเทศนา อุบาสกชาวนาบรรลุโสดาปัตติผลแล้ว. แม้ภิกษุ
ผู้ประชุมกันเป็นอันมาก ก็บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น
ดังนี้แล.
เรื่องชาวนา จบ.

9. เรื่องนายสุมนมาลาการ [53]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภนายมาลาการ
ชื่อสุมนะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ "
เป็นต้น.

พระศาสดาเสด็จบิณฑบาต


ดังได้สดับมา นายมาลาการนั้น บำรุงพระเจ้าพิมพิสารด้วยดอก
มะลิ 8 ทะนานแต่เช้าตรู่ทุกวัน ย่อมได้กหาปณะวันละ 8 กหาปณะ.
ต่อมาวันหนึ่ง เมื่อนายมาลาการนั้นถือดอกไม้ พอเข้าไปสู่พระนคร
พระผู้มีพระภาคเจ้า อันภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่แวดล้อม ทรงเปล่งพระรัศมี
มีพรรณะ 6 เสด็จเข้าไปสู่พระนคร เพื่อบิณฑบาต ด้วยพระพุทธานุภาพ
อันใหญ่ ด้วยพระพุทธลีลาอันใหญ่. แท้จริง ในกาลบางคราว พระ-
ผู้มีพระภาคทรงปิดพระรัศมีมีพรรณะ 6 ด้วยจีวรแล้ว เสด็จไป เหมือน
ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปใดรูปหนึ่ง เหมือนเสด็จไปต้อนรับพระ-
อังคุลิมาล สิ้นทางตั้ง 30 โยชน์. ในกาลบางคราว ทรงเปล่งพระรัศมี
มีพรรณะ 6 เหมือนทรงเปล่งในเวลาเสด็จเข้าไปสู่กรุงกบิลพัสดุ์เป็นต้น.
แม้ในวันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งพระรัศมีมีพรรณะ 6 จาก
พระสรีระ เสด็จเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์ ด้วยพระพุทธานุภาพอันใหญ่ ด้วย
พระพุทธลีลาอันใหญ่.