เมนู

พระองค์ ไม่อาจเพื่อจะให้สุปปพุทธกุฏฐิ กล่าวว่า ' พระพุทธไม่ใช่
พระพุทธ พระธรรมไม่ใช่พระธรรม หรือพระสงฆ์ไม่ใช่พระสงฆ์
ได้เลย."
ฝ่ายสุปปพุทธะแล ไปสู่สำนักของพระศาสดา มีความบันเทิงอัน
พระศาสดาทรงกระทำแล้ว กราบทูลคุณอันตนได้แล้วแต่งระศาสดา ลูก
จากอาสนะหลีกไปแล้ว. ขณะนั้น แม่โคลูกอ่อน ปลงสุปปพุทธะนั้น
ผู้หลีกไปแล้วไม่นานจากชีวิตแล้ว.

บุรพกรรมของสุปปพุทธะและแม่โค


ได้ยินว่า โคแม่ลูกอ่อนนั้น เป็นยักษิณีตนหนึ่ง เป็นแม่โคปลง
ชนทั้ง 4 นี้ คือกุลบุตรชื่อปุกกุสาติ 1 พาหิยทารุจีริยะ 1 นายโจร-
ฆาตกะชื่อตัมพทาฐิกะ 1 สุปปพุทธกุฎฐิ 1 จากชีวิตคนละร้อยอัตภาพ.
ได้ยินว่า ในอดีตกาล ชนเหล่านั้น เป็นบุตรเศรษฐีทั้ง 4 คน นำ
หญิงแพศยาผู้เป็นนครโสเภณีคนหนึ่งไปสู่สวนอุทยาน เสวยสมบัติตลอด
วันแล้ว ในเวลาเย็น ปรึกษากันอย่างนี้ว่า " ในที่นี้ไม่มีคนอื่น, เรา
ทั้งหลาย จักถือเอากหาปณะพันหนึ่ง และเครื่องประดับทั้งหมดที่พวก
เราให้แก่หญิงนี้แล้ว ฆ่าหญิงนี้เสียไปกันเกิด." หญิงนั้นฟังถ้อยคำของ
เศรษฐีบุตรเหล่านั้นแล้ว คิดว่า "ชนพวกนี้ไม่มียางอาบ อภิรมย์กับ
เราแล้ว บัดนี้ ปรารถนาจะฆ่าเรา, เราจักรู้กิจที่ควรกระทำแก่ชนเหล่า
นั้น" เมื่อถูกชนเหล่านั้นฆ่าอยู่ ได้กระทำความปรารถนาว่า " ขอเรา
พึงเป็นยักษิณี ผู้สามารถเพื่อฆ่าชนเหล่านั้น เหมือนอย่างที่พวกนี้ฆ่าเรา
ฉะนั้นเหมือนกัน."

คนโง่ทำกรรมลามก


ภิกษุหลายรูป กราบทูลการกระทำกาละของสุปปพุทธะนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลถามว่า "คติของสุปปพุทธะนั้น เป็นอย่างไร ?
เพราะเหตุไรเล่า ? เขาจึงถึงความเป็นคนมีโรคเรื้อน."
พระศาสดา ทรงพยากรณ์ความที่สุปปพุทธะนั้นบรรลุโสดาปัตติผล
แล้ว เกิดในดาวดึงสภพ และการเห็นพระตครสีขีปัจเจกพุทธเจ้าถ่ม
(น้ำลาย) แล้ว หลีกไปทางซ้าย1 ไหม้แเล้วในนรกตลอดกาลนาน ด้วย
วิบากที่เหลือ ถึงความเป็นคนมีโรคเรื้อนในบัดนี้แล้ว ตรัสว่า " ภิกษุ
ทั้งหลาย สัตว์เหล่านี้ เที่ยวกระทำกรรมมีผลเผ็ดร้อนแก่ตนเองแล "
ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรมให้ยิ่งขึ้น จึงตรัสพระคาถา
นี้ว่า :-
7. จรนฺติ พาลา ทุมฺเมธา อมิตฺเตเนว อตฺตนา
กโรนฺตา ปาปกํ กมฺมํ ยํ โหติ กฏุกปฺผลํ.
"ชนพาลทั้งหลาย มีปัญญาทราม มีตนเป็นดัง
ข้าศึก เที่ยวทำกรรมลามกซึ่งมีผลเผ็ดร้อนอยู่."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จรนฺติ ความว่า เที่ยวกระทำอกุศล
ถ่ายเดียว ด้วยอิริยาบถ 4 อยู่.
ชนทั้งหลาย ผู้ไม่รู้ประโยชน์ในโลกนี้ และประโยชน์โนโลกหน้า
ข้อว่าพาล ในบทว่า พาลา นี้.
1. อปพฺยามํ กตฺวา ถือเอาความว่า หลีกซ้าย. ธรรมดาบัณฑิต เห็นพุทธบุคคลแล้วย่อมหลีก
ทางขวา. ดูใน อรรถกถาอุทาน หน้า 368.