เมนู

จะทรงแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
6. มุหุตฺตมปิ เจ วิญฺญู ปณฺฑิตํ ปยิรุปาสติ
ขิปฺปํ ธมฺมํ วิชานาติ ชิวฺหา สูปรสํ ยถา.
"ถ้าวิญญูชน เข้าไปนั่งใกล้บัณฑิต แม้ครู่
เดียว, เขาย่อมรู้แจ้งธรรมได้ฉับพลัน, เหมือนลิ้น
รู้รสแกงฉะนั้น.

แก้อรรถ


พึงทราบเนื้อความแห่งพระคาถานี้ว่า :-
" ถ้าวิญญูชน คือว่า บุรุษผู้บัณฑิต เข้าไปนั่งใกล้บัณฑิตอื่น
แม้ครู่เดียว, เขาเรียนอยู่ สอบสวนอยู่ ในสำนักบัณฑิตอื่นนั้น ชื่อว่า
ย่อมรู้แจ้งปริยัติธรรมโดยพลันทีเดียว, แต่นั้น เขาให้บัณฑิตบอกกัมมัฏฐาน
แล้ว เพียรพยายามอยู่ในข้อปฏิบัติ, เป็นบัณฑิต ย่อมรู้แจ้งแม้โลกุตรธรรม
พลันทีเดียว, เหมือนบุรุษผู้มีชิวหาประสาทอันโรคไม่กำจัดแล้ว พอวาง
อาหารลงที่ปลายลิ้นเพื่อจะรู้รส ย่อมรู้รส อันต่างด้วยรสเค็มเป็นต้นฉะนั้น."
ในกาลจบเทศนา ภิกษุเป็นอันมาก บรรลุพระอรหัตแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องภิกษุชาวเมืองปาฐา จบ.

7. เรื่องสุปปพุทธกุฏฐิ [51]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภบุรุษโรค
เรื้อน ชื่อว่าสุปปพุทธะ ตรัสว่าธรรมเทศนานี้ว่า "จรนฺติ พาลา
ทุมฺเมธา"
เป็นต้น.

สุปปพุทธะกราบทูลคุณวิเศษแด่พระศาสดา


เรื่องสุปปพุทธะนี้มาแล้วในอุทาน1นั่นแล. ก็โนกาลนั้น สุปปพุทธ-
กุฏฐินั่งที่ท้ายบริษัท ฟังธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วบรรลุ
โสดาปัตติผล ปรารถนาจะกราบทูลคุณที่คนได้แล้ว แด่พระศาสดา (แต่)
ไม่อาจเพื่อจะหยั่งลงในท่ามกลางบริษัท ได้ไปยังวิหารในเวลามหาชน
ถวายบังคมพระศาสดากลับไปแล้ว.

คนมีอริยทรัพย์ 7 เป็นผู้ไม่ขัดสน


ขณะนั้น ท้าวสักกเทวราช ทรงทราบว่า "สุปปพุทธกุฏฐินี้ใคร่
เพื่อกระทำคุณที่ตนได้ในศาสนาของพระศาสดาให้ปรากฏ" ทรงดำริว่า
"เราจักทดลองนายสุปปพุทธกุฏฐินั้น" เสด็จไปยืนในอากาศแล้ว ได้
ตรัสคำนี้ว่า "สุปปพุทธะ เธอเป็นมนุษย์ขัดสน เป็นมนุษย์ยากไร้,
เราจักให้ทรัพย์หาที่สิ้นสุดมิได้แก่เธอ, เธอจงกล่าวว่า 'พระพุทธไม่ใช่
พระพุทธ, พระธรรมไม่ใช่พระธรรม, พระสงฆ์ไม่ใช่พระสงฆ์, อย่าเลย
1. ขุ. อุ. 25/146.