เมนู

5. เรื่องพระอุทายีเถระ [49]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระอุทายี-
เถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ยาวชีวมฺปิ เจ พาโล" เป็นต้น.

คนไม่รู้มักถือตัว


ได้ยินว่า พระอุทายีเถระนั้น เมื่อพระเถระผู้ใหญ่หลีกไปแล้ว ไปสู่
โรงธรรมแล้ว นั่งบนธรรมาสน์. ต่อมาวันหนึ่ง พวกภิกษุอาคันตุกะเห็น
พระอุทายีเถระนั้นแล้วเข้าใจว่า " ภิกษุนี้จักเป็นพระมหาเถระผู้พหูสูต"
จึงถามปัญหาปฏิสังยุตด้วยขันธ์เป็นต้นแล้ว ติเตียนท่านผู้ไม่รู้อยู่ซึ่งพระ-
พุทธวจนะอะไร ๆ ว่า "นี่พระเถระอะไร ? อยู่ในพระวิหารเดียวกัน
กับพระพุทธเจ้า ยังไม่รู้ธรรมแม้สักว่าขันธ์ธาตุและอายตนะ" ดังนี้แล้ว
จึงกราบทูลความเป็นไปนั้นแด่พระตถาคต. ลำดับนั้น พระศาสดา เมื่อ
จะทรงแสดงธรรมแก่พวกภิกษุอาคันตุกะนั้น จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
5. ยาวชีวมฺปิ เจ พาโล ปณฺฑิตํ ปยิรุปาสติ
น โส ธมฺมํ วิชานาติ ทพฺพี สูปรสํ ยถา.
"ถ้าคนพาล เข้าไปนั่งใกล้บัณฑิตอยู่ แม้จน
ตลอดชีวิต, เขาย่อมไม่รู้ธรรม เหมือนทัพพีไม่รู้รส
แกงฉะนั้น."

พึงทราบเนื้อความแห่งพระคาถานี้ว่า :-
"ชื่อว่าคนพาลนี้ เข้าไปหา เข้าไปนั่งใกล้บัณฑิต แม้จนตลอดชีวิต
ย่อมไม่รู้ปริยัติธรรมอย่างนี้ว่า 'นี้เป็นพระพุทธพจน์ พระพุทธพจน์
มีประมาณเท่านี้' หรือซึ่งปฏิปัตติธรรมและปฏิเวธธรรมอย่างนี้ว่า 'ธรรม
นี้เป็นเครื่องอยู่. ธรรมนี้เป็นมรรยาท, นี้เป็นโคจรกรรม นี้เป็นไป
กับด้วยโทษ. กรรมนี้หาโทษมิได้. กรรมนี้ควรเสพ; กรรมนี้ไม่ควรเสพ;
สิ่งนี้พึงแทงตลอด, สิ่งนี้ควรกระทำให้แจ้ง."
ถามว่า " เหมือนอะไร ?"
แก้ว่า " เหมือนทัพพีไม่รู้รสแกงฉะนั้น."
อธิบายว่า เหมือนอย่างว่า ทัพพี แม้คนแกงต่างชนิด มีประการ
ต่าง ๆ อยู่จนกร่อนไป ย่อมไม่รู้รสแกงป่า 'นี้รสเค็ม, นี้รสจืด, นี้รส
ขม, นี้รสขื่น, นี้รสเผ็ด, นี้รสเปรี้ยว, นี้รสฝาด ฉันใด; คนพาลเข้า
ไปนั่งใกล้บัณฑิตลอดชีวิต ย่อมไม่รู้ธรรมมีประการดังกล่าวแล้ว ฉันนั้น
เหมือนกัน.
ในกาลจบเทศนา จิตของพวกภิกษุอาคันตุกะ หลุดพ้นแล้วจาก
อาสวะทั้งหลาย ดังนี้แล.
เรื่องพระอุทายีเถระ จบ.

6. เรื่องภิกษุชาวเมืองปาฐา [50]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุชาว
เมืองปาฐา ประมาณ 30 รูป ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "มุหุตฺตมปิ
เจ วิญฺญู
" เป็นต้น.

ภิกษุสมาทานธุดงค์


ความพิสดารว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมคราวแรกในชัฎ
แห่งป่าไร่ฝ้ายแก่สหาย 30 นั้น ผู้แสวงหาหญิงอยู่. ในกาลนั้น สหาย
ทั้งหมดเทียว ถึงความเป็นเอหิภิกขุ เป็นผู้ทรงบาตรและจีวร อันสำเร็จ
แล้วด้วยฤทธิ์ สมาทานธุดงค์ 13 ประพฤติอยู่ โดยล่วงไปแห่งกาลนาน
เข้าไปเฝ้าพระศาสดาแม้อีก ฟังอนมตัคค1ธรรมเทศนา บรรลุพระอรหัต
แล้ว อาสนะนั้นนั่นเอง.
ภิกษุทั้งหลาย สนทนากันในธรรมสภาว่า " น่าอัศจรรย์หนอ !
ภิกษุเหล่านี้ รู้แจ้งธรรมพลันทีเดียว." พระศาสดา ทรงสดับกถานั้น
แล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ไม่ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น, แม้ในกาลก่อน
ภิกษุเหล่านี้เป็นนักเลง เป็นสหายกันประมาณ 30 คน ฟังธรรมเทศนา
ของสุกรชื่อมหาตุณฑิละ ในตุณฑิลชาดก2 รู้แจ้งธรรมได้ฉับพลันทีเดียว
สมาทานศีล 5 แล้ว. เพราะอุปนิสัยนั้นนั่นเอง เขาเหล่านั้น จึงบรรลุ
พระอรหัต ณ อาสนะที่ตนนั่งแล้วทีเดียวในกาลบัดนี้ " ดังนี้แล้ว เมื่อ
1. สํ. นิทาน. 16/202. 2. ขุ. ชา. ฉักก. 27/200. อรรถกถา 5/78.