เมนู

4. โย พาโล มญฺญตี พาลฺยํ ปณฺฑิโต วาปิ เตน โส
พาโล จ ปณฺฑิตมานี ส เว พาโลติ วุจฺจติ.
"บุคคลใดโง่ ย่อมสำคัญความที่แห่งตนเป็น
คนโง่, บุคคลนั้นจะเป็นบัณฑิตเพราะเหตุนั้นได้บ้าง;
ส่วนบุคคลใดเป็นคนโง่ มีความสำคัญว่าตนเป็น
บัณฑิต บุคคลนั้นแล เราเรียกว่า 'คนโง่.'

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า โย พาโล ความว่า บุคคลใด
เป็นคนโง่ คือมิใช่เป็นบัณฑิต ย่อมสำคัญ คือย่อมรู้ความที่ตนเป็นคนโง่
คือความเป็นคนเขลานั้น ด้วยตนเองว่า "เราเป็นคนเขลา."
สองบทว่า เตน โส ความว่า ด้วยเหตุนั้น บุคคลนั้นจะเป็น
บัณฑิตได้บ้าง หรือจะเป็นเช่นกับบัณฑิตได้บ้าง.
ก็เขารู้อยู่ว่า "เราเป็นคนโง่" เข้าไปหา เข้าไปนั่งใกล้คนอื่น
ซึ่งเป็นบัณฑิต อันบัณฑิตนั้นกล่าวสอนอยู่ พร่ำสอนอยู่ เพื่อประโยชน์
แก่ความเป็นบัณฑิต เรียนเอาโอวาทนั้นแล้ว ย่อมเป็นบัณฑิต หรือ
เป็นบัณฑิตกว่าได้.
สองบทว่า ส เว พาโล ความว่า ส่วนบุคคลใดเป็นคนโง่อยู่
เป็นผู้มีความสำคัญว่าคนเป็นบัณฑิตถ่ายเดียวอย่างนั้นว่า " คนอื่นใครเล่า ?
จะเป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก ทรงวินัย มีวาทะกล่าวคุณเครื่องขจัดกิเลส
เช่นกับด้วยเรามีอยู่" บุคคลนั้นไม่เข้าไปหา ไม่เข้าไปนั่งใกล้บุคคลอื่น
ซึ่งเป็นบัณฑิต ย่อมไม่เรียนปริยัติเลย, ย่อมไม่บำเพ็ญข้อปฏิบัติ, ย่อม