เมนู

4. เรื่องโจรผู้ทำลายปม [48]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพวกโจรผู้
ทำลายปม ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "โย พาโล มญฺญตี พาลฺยํ"
เป็นต้น.

โจรลักของที่ขอดไว้ที่พกผ้า


ได้ยินว่า โจร 2 คนนั้นเป็นสหายกัน ไปสู่พระเชตวันกับมหาชน
ผู้ไปอยู่เพื่อต้องการฟังธรรม. โจรคนหนึ่งได้ฟังธรรมกถาแล้ว, โจร
คนหนึ่งมองดูของที่ตนควรถือเอา. บรรดาโจรทั้งสองนั้น โจรผู้ฟังธรรม
อยู่ บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว. โจรนอกนี้ได้ทรัพย์ประมาณ 5 มาสกที่
ขอดไว้ที่ชายผ้าของอุบาสกคนหนึ่ง. ทรัพย์นั้นเป็นค่าอาหารในเรือนของ
เขาแล้ว. ย่อมไม่สำเร็จผลในเรือนของโจรผู้โสดาบันนอกนี้.
ครั้งนั้น โจรผู้สหายกับภรรยาของตน เมื่อจะเย้ยหยันโจรผู้
โสดาบันนั้น จึงกล่าวว่า "ท่านไม่ยังแม้ค่าอาหารให้สำเร็จในเรือนของตน
เพราะความที่คนฉลาดเกินไป." สหายผู้โสดาบันนอกนี้คิดว่า " เจ้าคนนี้
ย่อมสำคัญความที่คนเป็นบัณฑิต ด้วยความเป็นพาลทีเดียวหนอ" เพื่อ
จะกราบทูลความเป็นไปนั้นแด่พระศาสดา จึงไปสู่พระเชตวันกับญาติ
ทั้งหลาย กราบทูลแล้ว.

ผู้รู้สึกตัวว่าโง่ย่อมเป็นบัณฑิตได้


พระศาสดา เมื่อจะทรงแสดงธรรมแก่เขา จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-

4. โย พาโล มญฺญตี พาลฺยํ ปณฺฑิโต วาปิ เตน โส
พาโล จ ปณฺฑิตมานี ส เว พาโลติ วุจฺจติ.
"บุคคลใดโง่ ย่อมสำคัญความที่แห่งตนเป็น
คนโง่, บุคคลนั้นจะเป็นบัณฑิตเพราะเหตุนั้นได้บ้าง;
ส่วนบุคคลใดเป็นคนโง่ มีความสำคัญว่าตนเป็น
บัณฑิต บุคคลนั้นแล เราเรียกว่า 'คนโง่.'

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า โย พาโล ความว่า บุคคลใด
เป็นคนโง่ คือมิใช่เป็นบัณฑิต ย่อมสำคัญ คือย่อมรู้ความที่ตนเป็นคนโง่
คือความเป็นคนเขลานั้น ด้วยตนเองว่า "เราเป็นคนเขลา."
สองบทว่า เตน โส ความว่า ด้วยเหตุนั้น บุคคลนั้นจะเป็น
บัณฑิตได้บ้าง หรือจะเป็นเช่นกับบัณฑิตได้บ้าง.
ก็เขารู้อยู่ว่า "เราเป็นคนโง่" เข้าไปหา เข้าไปนั่งใกล้คนอื่น
ซึ่งเป็นบัณฑิต อันบัณฑิตนั้นกล่าวสอนอยู่ พร่ำสอนอยู่ เพื่อประโยชน์
แก่ความเป็นบัณฑิต เรียนเอาโอวาทนั้นแล้ว ย่อมเป็นบัณฑิต หรือ
เป็นบัณฑิตกว่าได้.
สองบทว่า ส เว พาโล ความว่า ส่วนบุคคลใดเป็นคนโง่อยู่
เป็นผู้มีความสำคัญว่าคนเป็นบัณฑิตถ่ายเดียวอย่างนั้นว่า " คนอื่นใครเล่า ?
จะเป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก ทรงวินัย มีวาทะกล่าวคุณเครื่องขจัดกิเลส
เช่นกับด้วยเรามีอยู่" บุคคลนั้นไม่เข้าไปหา ไม่เข้าไปนั่งใกล้บุคคลอื่น
ซึ่งเป็นบัณฑิต ย่อมไม่เรียนปริยัติเลย, ย่อมไม่บำเพ็ญข้อปฏิบัติ, ย่อม