เมนู

3. เรื่องอานนทเศรษฐี [47]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภอานนท-
เศรษฐี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ปุตฺตามตฺถิ ธนมตฺถิ" เป็นต้น.

อานนทเศรษฐีสั่งสอนบุตรให้ตระหนี่


ได้ยินว่า ในกรุงสาวัตถี เศรษฐีชื่ออานนท์ มีสมบัติประมาณ
80 โกฏิ (แต่) เป็นคนตระหนี่มาก. อานนท์เศรษฐีนั้น ให้พวกญาติ
ประชุมกันทุกกึ่งเดือนแล้ว กล่าวสอนบุตร (ของตน) ผู้ชื่อว่ามูลสิริ
ใน 3 เวลาอย่างนี้ว่า " เจ้าอย่าได้ทำความสำคัญว่า ' ทรัพย์ 40 โกฏิ
นี้มาก,' เจ้าไม่ควรให้ทรัพย์ที่มีอยู่, ควรยังทรัพย์ใหม่ให้เกิดขึ้น, เพราะ
เมื่อบุคคลทำกหาปณะแม้หนึ่ง ๆ ให้เสื่อมไป ทรัพย์ย่อมสิ้นด้วยเหมือนกัน;
เพราะเหตุนั้น
บุคคลผู้ฉลาด พึงเห็นความสิ้นแห่งยาสำหรับ
หยอด (ตา) ความก่อขึ้นแห่งตัวปลวกทั้งหลาย
และการประมวลมาแห่งตัวผึ้งทั้งหลาย พึงอยู่ครอง-
เรือน.

อานนท์เศรษฐีตายไปเกิดในตระกูลคนจัณฑาล


โดยสมัยอื่นอีก อานนท์เศรษฐีนั้นไม่บอกขุมทรัพย์ใหญ่ 5 แห่ง
ของตนแก่บุตร อาศัยทรัพย์ มีความหม่นหมองเพราะมลทิน คือความ

ตระหนี่ ทำกาละแล้ว, ถือปฏิสนธิในท้องของหญิงจัณฑาลคนหนึ่ง
ในจำพวกจัณฑาลพันตระกูล ที่อยู่อาศัยในบ้านใกล้ประตูแห่งหนึ่ง แห่ง
พระนครนั้นนั่นเอง. พระราชา ทรงทราบการทำกาละของอานนท์เศรษฐี
แล้ว รับสั่งให้เรียกมูลสิริผู้บุตรของเขามา ทรงตั้งไว้ในตำแหน่งเศรษฐี.
ตระกูลแห่งคนจัณฑาลตั้งพันแม้นั้น ทำงานเพื่อค่าจ้าง โดยความ
เป็นพวกเดียวกันเทียว เป็นอยู่ จำเติมแต่กาลถือปฏิสนธิของทารกนั้น
ย่อมไม่ได้ค่าจ้างเลย ทั้งไม่ได้แม้ก้อนข้าวเกินไปกว่าอาหารพอยังอัตภาพ
ให้เป็นไป. พวกเขากล่าวว่า "บัดนี้ เราทั้งหลายแม้ทำการงานอยู่ ย่อม
ไม่ได้อาหารสักว่าก้อนข้าว, หญิงกาลกิณีพึงมีในระหว่างเราทั้งหลาย"
ดังนี้แล้ว จึงแยกกันออกเป็น 2 พวก จนแยกมารดาบิดาของทารกนั้นอยู่
แผนกหนึ่งต่างหาก, ไล่มารดาของทารกนั้นออก ด้วยคิดว่า "หญิง
กาลกิณีเกิดในตระกูลนี้." ทารกนั้นยังอยู่ในท้องของหญิงนั้นตราบใด,
หญิงนั้นได้อาหารแม้สักว่ายังอัตภาพให้เป็นไปโดยฝืดเคืองตราบนั้น คลอด
บุตรแล้ว.
ทารกนั้น ได้มีมือและเท้า นัยน์ตา หู จมูก และปากไม่ตั้งอยู่
ในที่ตามปกติ. ทารกนั้น ประกอบด้วยความวิกลแห่งอวัยวะเห็นปานนั้น
ได้มีรูปน่าเกลียดเหลือเกิน ดุจปิศาจคลุกฝุ่น. แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ มารดา
ก็ไม่ละบุตรนั้น. จริงอยู่ มารดาย่อมมีความเยื่อใยเป็นกำลังในบุตรที่อยู่
ในท้อง. นางเลี้ยงทารกนั้นอยู่โดยฝืดเคือง, ในวันที่พาเขาไป ไม่ได้
อะไร ๆ เลย, ในวันที่ให้เขาอยู่บ้านแล้วไปเองนั่นแล จึงได้ค่าจ้าง.

มารดาปล่อยบุตรไปขอทานเลี้ยงชีพเอง


ต่อมา ในกาลที่ทารกนั้นสามารถเที่ยวไป เพื่อก้อนข้าวเลี้ยงตัวได้