เมนู

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น ในบทว่า จรํ บัณฑิตพึงทราบการเที่ยวไป
ด้วยใจ ไม่เกี่ยวกับการเที่ยวไปด้วยอิริยาบถ. อธิบายว่า เมื่อแสวงหา
กัลยาณมิตร.
บาทพระคาถาว่า เสยฺยํ สทิสมตฺตโน ความว่า ถ้าไม่พึงได้
สหายผู้ยิ่งกว่า หรือผู้แม้กัน ด้วยคุณคือศีล สมาธิ ปัญญาของตน.
บทว่า เอกจริยํ ความว่า ก็ในสหายเหล่านั้น บุคคลเมื่อได้
สหายผู้ดีกว่า ย่อมเจริญด้วยคุณทั้งหลายมีศีลเป็นต้น, เมื่อได้สหายผู้เช่นกัน
ย่อมไม่เสื่อมจากคุณทั้งหลายมีศีลเป็นต้น, แต่เมื่ออยู่โดยร่วมกันกับสหาย
ที่เลว ทำการสมโภคและบริโภคโดยความเป็นพวกเดียวกัน ย่อมเสื่อม
จากคุณทั้งหลายมีศีลเป็นต้น.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสคำนี้ว่า "บุคคลผู้เห็น
ปานนั้น อันบัณฑิตไม่พึงเสพ ไม่พึงคบ ไม่พึงเข้าไปนั่งใกล้, เว้น ไว้
แต่ความเอ็นดู เว้นไว้แต่ความอนุเคราะห์."
เพราะเหตุนั้น หากบุคคลอาศัยความการุญ คิดว่า " บุคคลนี้
อาศัยเรา จักเจริญด้วยคุณทั้งหลายมีศีลเป็นต้น" ไม่หวังตอบแทนอยู่ซึ่ง
วัตถุอะไร ? จากบุคคลนั้น ชื่อว่าย่อมอาจสงเคราะห์บุคคลนั้นได้, การ
อาศัยความการุญ สงเคราะห์ดังนี้นั้นเป็นการดี; ถ้าไม่อาจจะสงเคราะห์
(อย่างนั้น) ได้. พึงทำความเที่ยวไปผู้เดียวให้มั่น คือว่า ทำความ
เป็นคนโดดเดี่ยวเท่านั้นให้มั่น อยู่แต่ผู้เดียวในอิริยาบถทั้งปวง
ถามว่า " เพราะเหตุอะไร?"
ตอบว่า "เพราะคุณเครื่องเป็นสหาย ย่อมไม่มีในพระชนพาล."