เมนู

เรื่องนกขมิ้นกับลิงวิวาทกัน


ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในกรุง-
พาราณสี นกขมิ้นตัวหนึ่ง ทำรังอยู่ในหิมวันตประเทศ. ต่อมาวันหนึ่ง
เมื่อฝนกำลังตก, ลิงตัวหนึ่ง สะท้านอยู่เพราะความหนาว ได้ไปยังประเทศ
นั้น. นกขมิ้นเห็นลิงนั้น จึงกล่าวคาถาว่า1:-
" วานร ศีรษะและมือเท้าของท่านก็มีเหมือน
ของมนุษย์, เมื่อเช่นนั้น เพราะโทษอะไรหนอ ?
เรือนของพ่านจึงไม่มี."

ลิง คิดว่า " มือและเท้าของเรามีอยู่ก็จริง, ถึงกระนั้น เรา
พิจารณาแล้ว พึงกระทำเรือนด้วยปัญญาใด, ปัญญานั้นของเราย่อมไม่มี."
ใคร่จะประกาศเนื้อความนั้น จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-
" นกขมิ้น ศีรษะและมือเท้าของเรา ย่อมมี
เหมือนของมนุษย์, บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า ปัญญาใด
ประเสริฐในมนุษย์ทั้งหลาย, ปัญญานั้น ย่อมไม่มี
แม้แก่เรา.2"

ลำดับนั้น เมื่อนกขมิ้นจะติเตียนลิงนั้นว่า "การอยู่ครองเรือน
จักสำเร็จแก่ท่านผู้เห็นปานนี้ได้อย่างไร ?" จึงกล่าว 2 คาถานี้ว่า:-
" สุขภาพ ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง
มีจิตเบา (กลับกลอก) มักประทุษร้ายมิตร มีปกติ
ไม่ยังยืนเป็นนิตย์ ท่านนั้นจงกระทำอานุภาพเถิด

1. ขุ. ชา. จตุกก. 27/124. อรรถกถา. 4/315.
2. ถ้าตัดบท ยาห เป็น ยา - อหุ ก็แปลว่า แต่ข้าพเจ้าไม่มีปัญหา ที่เป็นสิ่งประเสริฐสุด
ในหมู่มนุษย์.

จงเป็นไปล่วงความเป็นปกติ (ของตน) เสีย,
จงกระทำกระท่อมเป็นที่ป้องกันหนาวและลมเกิด
กบี่."

ลิง คิดว่า "นกขมิ้นตัวนี้ ย่อมกระทำเราให้เป็นผู้มีจิตไม่มั่นคง
มีจิตเบา มักประทุษร้ายมิตร มีปกติไม่ยั่งยืน, บัดนี้ เราจักแสดงความ
ที่เรามักเป็นผู้ประทุษร้ายมิตรต่อมัน" จึงขยี้รังโปรยลงแล้ว. นกขมิ้น
เมื่อลิงนั้น จับเอารังอยู่นั่นแหละ หนีออกไปโดยข้างหนึ่งแล้ว.

ทรงประมวลชาดก


พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประมวล
ชาดกว่า "ลิงในกาลนั้น ได้เป็นภิกษุผู้ประทุษร้ายกุฎีในบัดนี้, นก
ขมิ้น คือกัสสป." ครั้นประมวลชาดกนาแล้ว จึงตรัสว่า "อย่างนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น ประทุษร้ายกุฎีในบัดนี้เท่านั้นหามิได้, แม้ใน
กาลก่อน ภิกษุนั้นโกระในเพราะโอวาทแล้ว ก็ประทุษร้ายกุฎีแล้ว
(เหมือนกัน); การอยู่ของกัสสปบุตรเราคนเดียวเท่านั้น ดีกว่าการอยู่
ร่วมกับคนพาลผู้เห็นปานนั้น" ดังนี้แล้ว ตรัสพะคาถานี้ว่า:-
2. จรญฺเจ นาธิคจฺเฉยฺย เสยฺยํ สนทิสมตฺตโน
เอกจริยํ ทฬฺหํ กยิรา นตฺถิ พาเล สหายตา.
ถ้าบุคคลเมื่อเที่ยวไป ไม่พึงประสบสหายผู้
ประเสริฐกว่า ผู้เช่นกับ (ด้วยคุณ) ของตนไซร้,
พึงพำการเที่ยวไปคนเดียวให้มั่น, เพราะว่า คุณ
เครื่องเป็นสหาย ย่อมไม่มีในเพราะคนพาล"