เมนู

รุ่งขึ้น ไม่เข้าไปบิณฑบาตกับพระเถระ. พระเถระไปสู่ประเทศแห่งหนึ่ง
กับภิกษุนอกนี้. เมื่อพระเถระไปแล้ว ภิกษุนั้น ไปสู่ตระกูลอุปัฏฐาก
ของพระเถระ ถูกอุปัฏฐากถามว่า "พระเถระไปไหน ? ขอรับ" จึง
บอกว่า " ความไม่ผาสุกเกิดแก่พระเถระ, ท่านนั่งอยู่ในวิหารนั่นเอง."
อุปัฏฐาก. ก็ได้อะไรเล่า จึงจะควร ? ขอรับ.
ภิกษุ. ได้ยินว่า ท่านทั้งหลายจงถวายอาหารชื่อเห็นปานนี้.
อุปัฏฐากทั้งหลาย ได้จัดแจงตามทำนองที่ภิกษุนั้นกล่าวนั่นเอง
ถวายแล้ว. ภิกษุนั้น ฉันอาหารนั้นในระหว่างหนทางแล ไปสู่วิหารแล้ว.

พระเถระจับความเลวทรามของศิษย์ได้


ฝ่ายพระเถระ ได้ผ้าเนื้อละเอียดผืนใหญ่ในที่ที่ไปแล้ว ก็ได้ให้
แก่ภิกษุหนุ่มผู้ไปกับด้วยตน. ภิกษุหนุ่มนั้น ย้อมผ้านั้นแล้ว ได้กระทำ
ให้เป็นผ้าสำหรับนุ่งห่มแห่งตน. ในวันรุ่งขึ้น พระเถระไปสู่ตระกูล
อุปัฏฐากนั้น, เมื่อพวกอุปัฏฐาก กล่าวว่า "ท่านผู้เจริญ พวกข้าพเจ้า
ทราบว่า 'ได้ยินว่า ความไม่ผาสุกเกิดแก่ท่าน' จึงจัดแจงอาหารส่งไป
โดยทำนองที่ภิกษุหนุ่มกล่าวนั่นเอง ความผาสุกเกิดแก่ท่านเพราะฉันแล้ว
หรือ ?" ก็นิ่งเสีย ก็พระเถระไปสู่วิหารแล้ว กล่าวกะภิกษุหนุ่มนั้นผู้
ไหว้แล้ว นั่งอยู่ในเวลาเย็นอย่างนี้ว่า " คุณ ได้ยินว่า วานนี้ เธอกระทำ
กรรมชื่อนี้, กรรมนี้ ไม่สมควรแก่บรรพชิตทั้งหลาย. บรรพชิตกระทำ
วิญญัติ ( ขอ) แล้วฉัน ย่อมไม่สมควร."

ประทุษร้ายแก่ผู้มีคุณตายไปเกิดในอเวจี


ภิกษุนั้น โกรธแล้ว ผูกอาฆาตในพระเถระว่า "ในวันก่อน

พระเถระอาศัยเหตุสักว่าน้ำ กระทำเราให้เป็นคนมักพูดเท็จ ในวันนี้
เพราะเหตุที่เราบริโภคภัตกำมือหนึ่งในสกุลอุปัฏฐากของตน จึงกล่าวกะ
เราว่า ' บรรพชิตกระทำวิญญัติบริโภค ย่อมไม่ควร' แม้ผ้าท่านก็ให้แก่
ภิกษุผู้บำรุงตนเท่านั้น; โอ ! กรรมของพระเถระหนัก, เราจักรู้สิ่งที่เรา
ควรกระทำแก่พระเถระนั้น" ในวันรุ่งขึ้น เมื่อพระเถระเข้าไปสู่บ้าน.
ส่วนตนพักอยู่ในวิหาร จับท่อนไม้ ทุบวัตถุทั้งหลาย มีภาชนะสำหรับ
ใช้สอยเป็นต้น แล้วจุดไฟที่บรรณศาลาของพระเถระ, สิ่งใดไฟไม่ไหม้,
เอาพลองทุบทำลายสิ่งนั้นแล้วออกหนีไป กระทำกาละแล้ว เกิดในอเวจี
มหานรก. มหาชนตั้งเรื่องสนทนากันว่า " ได้ยินว่า สัทธิวิหาริกของ
พระเถระ ไม่อดทนเหตุสักว่าการกล่าวสอน โกรธเผาบรรณศาลาแล้ว
หนีไป. "
ต่อมาภายหลัง ภิกษุรูปหนึ่ง ออกจากกรุงราชคฤห์ ใคร่จะเฝ้า
พระศาสดา ไปถึงพระเชตวัน ถวายบังคมพระศาสดา อันพระศาสดา
ทรงกระทำปฏิสันถารแล้ว ตรัสถามว่า " เธอมาจากไหน ? ทูลว่า
"มาจากกรุงราชคฤห์ พระเจ้าข้า."
พระศาสดา. มหากัสสปบุตรเรา อยู่สบายหรือ ?
ภิกษุ. สบาย พระเจ้าข้า. แต่ว่า สัทธิวิหาริกของท่านรูปหนึ่ง
โกรธด้วยเหตุสักว่าการกล่าวสอน เผาบรรณศาลาแล้วหนีไป.
พระศาสดา ตรัสว่า "ภิกษุนั้น พึงโอวาทแล้วโกรธในบัดนี้
เท่านั้นหามิได้. แม้ในกาลก่อน ก็โกรธแล้วเหมือนกัน . และภิกษุนั้น
ประทุษร้ายกุฎีในบัดนี้เท่านั้นหามิได้. แม้ในกาลก่อน ก็ประทุษร้ายแล้ว
เหมือนกัน;" ดังนี้แล้ว ทรงนำอดีตนิทานมา (ตรัส) ว่า:-

เรื่องนกขมิ้นกับลิงวิวาทกัน


ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในกรุง-
พาราณสี นกขมิ้นตัวหนึ่ง ทำรังอยู่ในหิมวันตประเทศ. ต่อมาวันหนึ่ง
เมื่อฝนกำลังตก, ลิงตัวหนึ่ง สะท้านอยู่เพราะความหนาว ได้ไปยังประเทศ
นั้น. นกขมิ้นเห็นลิงนั้น จึงกล่าวคาถาว่า1:-
" วานร ศีรษะและมือเท้าของท่านก็มีเหมือน
ของมนุษย์, เมื่อเช่นนั้น เพราะโทษอะไรหนอ ?
เรือนของพ่านจึงไม่มี."

ลิง คิดว่า " มือและเท้าของเรามีอยู่ก็จริง, ถึงกระนั้น เรา
พิจารณาแล้ว พึงกระทำเรือนด้วยปัญญาใด, ปัญญานั้นของเราย่อมไม่มี."
ใคร่จะประกาศเนื้อความนั้น จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-
" นกขมิ้น ศีรษะและมือเท้าของเรา ย่อมมี
เหมือนของมนุษย์, บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า ปัญญาใด
ประเสริฐในมนุษย์ทั้งหลาย, ปัญญานั้น ย่อมไม่มี
แม้แก่เรา.2"

ลำดับนั้น เมื่อนกขมิ้นจะติเตียนลิงนั้นว่า "การอยู่ครองเรือน
จักสำเร็จแก่ท่านผู้เห็นปานนี้ได้อย่างไร ?" จึงกล่าว 2 คาถานี้ว่า:-
" สุขภาพ ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง
มีจิตเบา (กลับกลอก) มักประทุษร้ายมิตร มีปกติ
ไม่ยังยืนเป็นนิตย์ ท่านนั้นจงกระทำอานุภาพเถิด

1. ขุ. ชา. จตุกก. 27/124. อรรถกถา. 4/315.
2. ถ้าตัดบท ยาห เป็น ยา - อหุ ก็แปลว่า แต่ข้าพเจ้าไม่มีปัญหา ที่เป็นสิ่งประเสริฐสุด
ในหมู่มนุษย์.