เมนู

พระศาสดา ทรงเทียบเคียงถ้อยคำของคนแม้ทั้งสองแล้ว ตรัสว่า
" ราตรีของคนบางคนย่อมเป็นเวลานาน, โยชน์ของคนบางคนเป็นของ
ไกล, ส่วนสงสารของคนพาลย่อมเป็นสภาพยาว" เมื่อจะทรงแสดงธรรม
จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-
1. ทีฆา ชาครโต รตฺติ ทีฆํ สนฺตสฺส โยชนํ
ทีโฆ พาลาน สํสาโร สทฺธมฺมํ อวิชานตํ.
"ราตรีของคนผู้ตื่นอยู่ นาน, โยชน์ของคนล้า
แล้ว ไกล, สงสารของคนพาลทั้งหลาย ผู้ไม่รู้อยู่
ซึ่งสัทธรรม ย่อมยาว."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทีฆา เป็นต้น ความว่า ชื่อว่าราตรี
นี้มีเพียง 3 ยามเท่านั้น, แต่สำหรับผู้ตื่นอยู่ อยู่ข้างนาน คือว่า ย่อม
ปรากฏเป็นราวกะว่า 2 เท่า 3 เท่า; บุคคลผู้เกียจคร้านมาก ทำตนให้
เป็นเหยื่อของหมู่เรือด นอนกลิ้งเกลือกอยู่ตลอดจนพระอาทิตย์ขึ้นก็ดี
ผู้เสพกาม บริโภคโภชนะที่ดีแล้ว นอนอยู่บนที่นอนอันเป็นสิริก็ดี ย่อม
ไม่รู้ความที่ราตรีนั้นนาน, ส่วนพระโยคาวจร ผู้เริ่มตั้งความเพียรตลอด
คืนยังรุ่งก็ดี พระธรรมกถึก แสดงพระธรรมกถาตลอดคืนยังรุ่งก็ดี บุคคล
ผู้นั่งฟังธรรมอยู่ในที่ใกล้อาสนะตลอดคืนยังรุ่งก็ดี ผู้ที่ถูกโรคทั้งหลาย
มีโรคในศีรษะเป็นต้นถูกต้องแล้ว หรือผู้ถึงทุกข์ มีการตัดมือและเท้า
เป็นต้น ถูกเวทนาครอบงำก็ดี คนเดินทางไกล เดินทางตลอดคืนก็ดี
ย่อมรู้ความที่ราตรีนั้นนาน.

บทว่า โยชน์ เป็นต้น ความว่า แม้โยชน์ก็มีเพียง 4 คาวุต
เท่านั้น, แต่สำหรับผู้ล้าแล้ว คือผู้บอบช้ำแล้ว อยู่ข้างไกล คือว่า ย่อม
ปรากฏเป็นราวกะว่า 2 เท่า 3 เท่า. จริงอยู่ คนเดินทางตลอดทั้งวัน
ล้าแล้ว พบคนเดินสวนทางมา ถามว่า "บ้านข้างหน้าไกลเท่าไร ?"
เมื่อเขาบอกว่า "โยชน์หนึ่ง" ไปได้หน่อยหนึ่ง ก็ถามคนแม้อื่นอีก,
แม้เมื่อคนอื่นนั้นบอกว่า " โยชน์หนึ่ง" ไปได้หน่อยหนึ่งอีก ก็ถามแม้
คนอื่นอีก, แม้เขาก็กล่าวว่า "โยชน์หนึ่ง" คนเหล่านั้น ถูกคนผู้เดิน
ทางนั้นถามแล้ว ๆ ก็บอกว่า "โยชน์หนึ่ง" เขาคิดว่า โยชน์นี้ ไกล
จริงหนอ" ย่อมสำคัญโยชน์หนึ่งเป็นราวกับว่า 2-3 โยชน์.
บทว่า พาลานํ เป็นต้น ความว่า ส่วนสงสารของชนพาลทั้งหลาย
ผู้ไม่รู้ประโยชน์ในโลกนี้และประโยชน์ในโลกหน้า คือผู้ไม่อาจเพื่อกระทำ
ที่สุดแห่งสังสารวัฏ ผู้ไม่รู้แจ้งสัทธรรม อันต่างด้วยธรรม มีโพธิปักขิย-
ธรรม 37 เป็นต้น ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายรู้แล้วกระทำที่สุดแห่งสงสารได้
ย่อมชื่อว่ายาว. แท้จริง สงสารนั้น ชื่อว่ายาว ตามธรรมดาของตนเอง.
สมจริงดังพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า1 ภิกษุทั้งหลาย สงสาร
นี้มีที่สุดอันใคร ๆ ไปตามไม่รู้แล้ว เบื้องต้น เบื้องปลา (แห่ง
สงสารนั้น) ย่อมไม่ปรากฏ." แต่สำหรับชนพาลทั้งหลาย ผู้ไม่สามารถ
จะทำที่สุดได้ ย่อมยาวแท้ทีเดียว.
ในกาลจบเทศนา บุรุษนั้น บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว ชนแม้เหล่า
อื่นเป็นอันมาก ก็บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น เทศนา
มีประโยชน์แก่มหาชนแล้ว ดังนี้แล.
1. สํ. นิทาน. 16/212.

พระราชาถวายบังคมพระศาสดาแล้ว กำลังเสด็จไป รับสั่งให้
ปล่อยสัตว์เหล่านั้น จากเครื่องจองจำแล้ว. บรรดามนุษย์และสัตว์เหล่า
นั้น หญิงและชายทั้งหลาย พ้นจากเครื่องผูก สนานศีรษะแล้วไปสู่เรือน
ของตน ๆ กล่าวสรรเสริญพระคุณแห่งพระนางมัลลิกาว่า เราทั้งหลาย
ได้ชีวิตเพราะอาศัยพระเทวีองค์ใด ขอพระนางมัลลิกาพระเทวีองค์นั้น
ผู้เป็นพระแม่เจ้าของเราทั้งหลาย จงทรงพระชนม์อยู่ตลอดกาลนานเทอญ."
ในเวลาเย็น ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมว่า "น่าสรร-
เสริญ ! พระนางมัลลิกานี้ฉลาดหนอ ทรงอาศัยพระปัญญาของพระองค์
ได้ให้ชีวิตทานแก่ชนมีประมาณเท่านี้แล้ว."

พระนางมัลลิกาเคยช่วยทุกข์คนในชาติก่อน


พระศาสดาเสด็จนาแล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เธอ
ทั้งหลาย นั่งประชุมกันด้วยถ้อยคำอะไรหนอ ?" เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบ
ทูลว่า "ด้วยถ้อยคำชื่อนี้" ภิกษุทั้งหลาย พระนางมัลลิกา ทรงอาศัย
พระปัญญาของตน ให้ชีวิตทานแก่มหาชนในบัดนี้เท่านั้นหามิได้ ถึงใน
กาลก่อน พระนางก็ได้ให้แล้วเหมือนกัน" เมื่อจะทรงประกาศความนั้น
จึงทรงน่าอดีตนิทานมา (ตรัส ) ว่า.
ในอดีตกาล โอรสของพระเจ้าพาราณสีเข้าไปสู่ต้นไทรต้นหนึ่ง
แล้ว ทรงอ้อนวอนเทวดาผู้เกิด ณ ต้นไทรนั้นว่า "ข้าแต่เทวราชผู้เป็น
เจ้า ในชมพูทวีปนี้ มีพระราชา 101 พระอัครมเหสี 101, ถ้าข้าพเจ้า
จักได้ราชสมบัติโดยกาลล่วงไปแห่งบิดาไซร้, ข้าพเจ้าจักทำพลีด้วยเลือด
ในลำคอของพระราชาและพระอัครมเหสีเหล่านั้น." พระกุมารนั้น เมื่อ
พระบิดาสวรรคตแล้ว ได้รับราชสมบัติ (สมพระประสงค์) ทรงคิดว่า