เมนู

พระศาสดา ทรงเทียบเคียงถ้อยคำของคนแม้ทั้งสองแล้ว ตรัสว่า
" ราตรีของคนบางคนย่อมเป็นเวลานาน, โยชน์ของคนบางคนเป็นของ
ไกล, ส่วนสงสารของคนพาลย่อมเป็นสภาพยาว" เมื่อจะทรงแสดงธรรม
จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-
1. ทีฆา ชาครโต รตฺติ ทีฆํ สนฺตสฺส โยชนํ
ทีโฆ พาลาน สํสาโร สทฺธมฺมํ อวิชานตํ.
"ราตรีของคนผู้ตื่นอยู่ นาน, โยชน์ของคนล้า
แล้ว ไกล, สงสารของคนพาลทั้งหลาย ผู้ไม่รู้อยู่
ซึ่งสัทธรรม ย่อมยาว."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทีฆา เป็นต้น ความว่า ชื่อว่าราตรี
นี้มีเพียง 3 ยามเท่านั้น, แต่สำหรับผู้ตื่นอยู่ อยู่ข้างนาน คือว่า ย่อม
ปรากฏเป็นราวกะว่า 2 เท่า 3 เท่า; บุคคลผู้เกียจคร้านมาก ทำตนให้
เป็นเหยื่อของหมู่เรือด นอนกลิ้งเกลือกอยู่ตลอดจนพระอาทิตย์ขึ้นก็ดี
ผู้เสพกาม บริโภคโภชนะที่ดีแล้ว นอนอยู่บนที่นอนอันเป็นสิริก็ดี ย่อม
ไม่รู้ความที่ราตรีนั้นนาน, ส่วนพระโยคาวจร ผู้เริ่มตั้งความเพียรตลอด
คืนยังรุ่งก็ดี พระธรรมกถึก แสดงพระธรรมกถาตลอดคืนยังรุ่งก็ดี บุคคล
ผู้นั่งฟังธรรมอยู่ในที่ใกล้อาสนะตลอดคืนยังรุ่งก็ดี ผู้ที่ถูกโรคทั้งหลาย
มีโรคในศีรษะเป็นต้นถูกต้องแล้ว หรือผู้ถึงทุกข์ มีการตัดมือและเท้า
เป็นต้น ถูกเวทนาครอบงำก็ดี คนเดินทางไกล เดินทางตลอดคืนก็ดี
ย่อมรู้ความที่ราตรีนั้นนาน.