เมนู

100 ทุกชนิด บูชายัญด้วยโลหิตในคอของสัตว์เหล่านั้น เพื่อประโยชน์
แก่อันขจัดอันตรายนั้น. พระองค์จักได้ชีวิต,' พระราชาให้จับสัตว์ไว้
เป็นอันมาก; เพราะเหตุนั้น หม่อมฉันจึงนำพระราชามา ณ ที่นี้."
พระศาสดา. ได้ยินว่า อย่างนั้นหรือ ? มหาบพิตร.
ราชา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. เสียง พระองค์ทรงสดับแล้ว อย่างไร ?
พระราชานั้น ทูลโดยทำนองที่พระองค์สดับแล้ว. แสงสว่างเป็น
อันเดียวได้ปรากฏแด่พระตถาคต เพราะทรงสดับเนื้อความนั้น. ลำดับ
นั้น พระศาสดา ตรัสกะพระราชานั้นว่า "พระองค์อย่าทรงหวาดหวั่น
เลย มหาบพิตร, อันตรายไม่มีแก่พระองค์, สัตว์ทั้งหลายผู้มีกรรมลามก
เมื่อกระทำทุกข์ของตน ๆ ให้แจ้ง จึงกล่าวอย่างนี้." พระราชา ทูลว่า
" ก็กรรมอะไร ? อันสัตว์เหล่านั้นกระทำไว้ พระเจ้าข้า."

พระศาสดาทรงแสดงโทษปรทาริกกรรม


พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงกรรมของสัตว์นรกเหล่านั้น จึง
ตรัสว่า "ถ้ากระนั้น พระองค์จงทรงสดับ มหาบพิตร" แล้วทรงนำ
อดีตนิทานมา (ตรัส) ว่า:-
ในอดีตกาล เมื่อมนุษย์มีอายุ 2 หมื่นปี พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนาม
ว่า กัสสป อุบัติขึ้นในโลก เสด็จเที่ยวจาริกไปกับด้วยพระขีณาสพ 2 หมื่น
ได้เสด็จถึงกรุงพาราณสี. ชาวกรุงพาราณสี 2 คนบ้าง 3 คนบ้าง มาก
กว่าบ้าง รวมเป็นพวกเดียวกัน ยังอาคันตุกทานให้เป็นไปแล้ว. ในกาล
นั้น ในกรุงพาราณสีได้มีเศรษฐีบุตร 4 คน มีสมบัติ 40 โกฏิ เป็น

สหายกัน เศรษฐีบุตรเหล่านั้น ปรึกษากันว่า ในเรือนของพวกเรามี
ทรัพย์มาก พวกเราจะกระทำอะไรด้วยทรัพย์นั้น."
เมื่อพระพุทธเจ้าเห็นปานนั้น เสด็จเที่ยวจาริกไปอยู่ บรรดาเศรษฐี
บุตรเหล่านั้น มิได้กล่าวว่า พวกเราจักถวายทาน จักกระทำบูชา จักรักษา
ศีล" คนหนึ่งกล่าวอย่างนี้ก่อนว่า" พวกเราดื่มสุราที่เข้ม เคี้ยวกินเนื้อ
มีที่รสอร่อย จักเที่ยวไป ชีวิตนี้ของพวกเราจักมีผล."
อีกคนหนึ่ง กล่าวอย่างนี้ว่า "พวกเราจักบริโภคภัตแห่งข้าวสาร
แห่งข้าวสาลีมีกลิ่นหอมที่เก็บค้างไว้ 3 ปี ด้วยรสเลิศต่าง ๆ เที่ยวไป."
อีกคนหนึ่ง กล่าวอย่างนี้ว่า " พวกเราจักให้เขาทอดของควรเคี้ยว
แปลก ๆ มีประการต่าง ๆ เคี้ยวกินเที่ยวไป."
อีกคนหนึ่ง กล่าวอย่างนั้นว่า " แน่ะเพื่อน พวกเราจักไม่กระทำ
กิจอะไร ๆ แม้อย่างอื่น. หญิงทั้งหลาย เมื่อเรากล่าวว่า 'จักให้ทรัพย์.'
ชื่อว่าไม่ปรารถนา ย่อมไม่มี; เพราะเหตุนั้น พวกเรารวบรวมทรัพย์ไว้
แล้ว จักประเล้าประโลม (หญิง) ทำปรทาริกกรร (การประพฤติ
ผิดในภรรยาของชายอื่น)."
เศรษฐีบุตรทั้งหมด รับคำว่า "ดีล่ะ ๆ" ได้ตั้งอยู่ในถ้อยคำ
ของคนที่ 4 นั้น. จำเดิมแต่นั้นมา เศรษฐีบุตรเหล่านั้น ส่งทรัพย์ไป
เพื่อ (บำเรอ) หญิงที่มีรูปงาม กระทำปรทาริกกรรมตลอด 2 หมื่นปี
กระทำกาละแล้ว บังเกิดในอเวจีมหานรก.
เศรษฐีบุตรเหล่านั้น ไหม้แล้วในนรกสิ้นพุทธันดรหนึ่ง กระทำ
กาละในนรกนั้น ด้วยเศษผลกรรม ก็เกิดในโลหกุมภีนรก (อันลึก)
60 โยชน์ (จมลง) ถึงพื้นภายใต้ 3 หมื่นปี (ลอยขึ้นมา) ถึงปาก

หม้อโดย 3 หมื่นปีอีก เป็นผู้ใคร่จะกล่าวคาถาตนละคาถา ( แต่) ไม่
อาจจะกล่าวได้ กล่าวตนละอักษรแล้ว ก็หมุนกลับลงไปสู่ก้นหม้ออย่างเดิม
อีก. พระองค์จงบอก มหาบพิตร, พระองค์ได้สดับเสียงข้ออย่างไร ?
ทีแรก. "
พระราชา. เสียงว่า ทุ. พระเจ้าข้า.
พระศาสดา เมื่อจะทรงแสดงคาถาที่สัตว์นรกนั้น กล่าวไม่เต็ม
ทำให้เต็ม จึงตรัสอย่างนี้ว่า :-
" เราทั้งหลายเหล่าใด1 เมื่อโภคะทั้งหลายมีอยู่
ไม่ได้ถวายทาน, ไม่ได้ทำที่พึ่งแก่ตน, พวกเรา
เหล่านั้น จัดว่ามีชีวิตอยู่ชั่วช้าแล้ว."

ลำดับนั้น พระศาสดา ครั้นทรงประกาศเนื้อความแห่งคาถานี้แก่
พระราชาแล้ว จึงตรัสถามว่า " มหาบพิตร เสียงที่ 2, เสียงที่ 3,
เสียงที่ 4, พระองค์ได้สดับอย่างไร ?" เมื่อพระราชาทูลว่า "ชื่อ
อย่างนั้น พระเจ้าข้า" เมื่อจะทรงยิ่งอรรถที่เหลือให้บริบูรณ์ จึงตรัส
( คาถา ) ว่า :-
" เมื่อเราทั้งหลาย ถูกไฟไหม้อยู่ในนรกครบ 6
หมื่นปี โดยประการทั้งปวง, เมื่อไร ที่สุดจัก
ปรากฏ ? ผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ที่สุดย่อมไม่มี, ที่สุด
จักมีแต่ที่ไหน ? ที่สุดจะไม่ปรากฏ. เพราะว่ากรรมชั่ว
อันเราและท่านได้กระทำไว้แล้วในกาลนั้น. เรานั้น
ไปจากที่นี่แล้ว ได้กำเนิดเป็นมนุษย์ จักเป็นผู้รู้

1. ปาฐะว่า เยสนฺโน ฯ เยสํโน เป็น ฉฏฺฐิปจฺจตฺตตฺถ ฯ บางปาฐะว่า เย สนฺเต ก็มี ฯ

ถ้อยคำที่ยาจกกล่าว ถึงพร้อมด้วยศีล ทำกุศลให้มาก
แน่.1"

พระศาสดา ครั้นตรัสคาถาเหล่านี้โดยลำดับ ประกาศเนื้อความ
แล้ว จึงตรัสว่า " มหาบพิตร ชนทั้ง 4 นั้น ปรารถนาจะกล่าวคาถา
คนละคาถา เมื่อไม่อาจจะกล่าวได้ กล่าวคนละอักษรเท่านั้น และลง
ไปสู่โลหกุมภีนั้นนั่นแลอีก ด้วยประการฉะนี้แล."
ได้ยินว่า จำเดิมแต่กาลแห่งเสียงนั้น อันพระเจ้าปเสนทิโกศลทรง
สดับแล้ว ชนเหล่านั้น พลัดลงไป ณ ภายใต้อย่างเดิม แม้จนวันนี้ก็ยัง
ไม่ล่วงหนึ่งพันปี. ความสังเวชใหญ่ ได้เกิดขึ้นแก่พระราชา เพราะทรง
สดับเทศนานั้น. ท้าวเธอทรงดำริว่า "ชื่อว่าปรทาริกกรรมนี้หนักหนอ,
ได้ยินว่า ชนทั้ง 4 ไหม้แล้วในอเวจีนรก ตลอดพุทธันดรหนึ่ง จุติ
จากอเวจีนรกนั้นแล้ว เกิดในโลหกุมภี อันลึก 60 โยชน์ ไหม้แล้วใน
โลหกุมภีนั้น2 ถึง 6 หมื่นปี, แม้อย่างนี้ กาลเป็นที่พ้นจากทุกข์ของชน
เหล่านั้น ยังไม่ปรากฏ; แม้เราทำความเยื่อใยในภรรยาของชายอื่น ไม่
ได้หลับตลอดคืนยังรุ่ง, บัดนี้ จำเดิมแต่นี้ไปเราจักไม่ผูกความพอใจใน
ภรรยาของชายอื่นละ" จึงกราบทูลพระตถาคตว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์ทราบความที่แห่งราตรีนานในวันนี้."
ฝ่ายบุรุษนั้น นั่งอยู่ในที่นั้นนั่นแล ฟังถ้อยคำนั้นแล้ว คิดว่า
" ปัจจัยมีกำลัง เราได้แล้ว" จึงกราบทูลพระศาสดาว่า "ข้าแต่พระ-
องค์ผู้เจริญ พระราชา ทรงทราบความที่แห่งราตรีนาน ในวันนี้ก่อน,
ส่วนข้าพระองค์เองได้ทราบความที่แห่งโยชน์ไกลในวันวาน."
1. ขุ. เปต. 26/257.
2. คำว่า อฏฺฐ...สี. ม. ยุ. เป็น ตตฺถ...

พระศาสดา ทรงเทียบเคียงถ้อยคำของคนแม้ทั้งสองแล้ว ตรัสว่า
" ราตรีของคนบางคนย่อมเป็นเวลานาน, โยชน์ของคนบางคนเป็นของ
ไกล, ส่วนสงสารของคนพาลย่อมเป็นสภาพยาว" เมื่อจะทรงแสดงธรรม
จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-
1. ทีฆา ชาครโต รตฺติ ทีฆํ สนฺตสฺส โยชนํ
ทีโฆ พาลาน สํสาโร สทฺธมฺมํ อวิชานตํ.
"ราตรีของคนผู้ตื่นอยู่ นาน, โยชน์ของคนล้า
แล้ว ไกล, สงสารของคนพาลทั้งหลาย ผู้ไม่รู้อยู่
ซึ่งสัทธรรม ย่อมยาว."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทีฆา เป็นต้น ความว่า ชื่อว่าราตรี
นี้มีเพียง 3 ยามเท่านั้น, แต่สำหรับผู้ตื่นอยู่ อยู่ข้างนาน คือว่า ย่อม
ปรากฏเป็นราวกะว่า 2 เท่า 3 เท่า; บุคคลผู้เกียจคร้านมาก ทำตนให้
เป็นเหยื่อของหมู่เรือด นอนกลิ้งเกลือกอยู่ตลอดจนพระอาทิตย์ขึ้นก็ดี
ผู้เสพกาม บริโภคโภชนะที่ดีแล้ว นอนอยู่บนที่นอนอันเป็นสิริก็ดี ย่อม
ไม่รู้ความที่ราตรีนั้นนาน, ส่วนพระโยคาวจร ผู้เริ่มตั้งความเพียรตลอด
คืนยังรุ่งก็ดี พระธรรมกถึก แสดงพระธรรมกถาตลอดคืนยังรุ่งก็ดี บุคคล
ผู้นั่งฟังธรรมอยู่ในที่ใกล้อาสนะตลอดคืนยังรุ่งก็ดี ผู้ที่ถูกโรคทั้งหลาย
มีโรคในศีรษะเป็นต้นถูกต้องแล้ว หรือผู้ถึงทุกข์ มีการตัดมือและเท้า
เป็นต้น ถูกเวทนาครอบงำก็ดี คนเดินทางไกล เดินทางตลอดคืนก็ดี
ย่อมรู้ความที่ราตรีนั้นนาน.