เมนู

ครหทินน์ฟ้องสิริคุตต์แด่พระราชา


ครหทินน์ เห็นประการอันแปลกนั้น ของนิครนถ์เหล่านั้นแล้ว
โกรธ คิดว่า "เรา อันสิริคุตต์ให้ฉิบหายแล้ว, มันให้โบกพระผู้เป็น
เจ้าทั้งหลายของเรา ผู้เป็นบุญเขต ผู้ได้นามว่าสามารถเพื่อจะให้เทวโลก
ทั้ง 6 แก่มนุษย์ทั้งหลาย ผู้เหยียดมือออกไหว้อยู่ ตามความพอใจ ให้
ถึงความฉิบหายแล้ว" จึงไปยังราชตระกูลกราบทูลให้พระราชาทรงทำ
สินไหมแก่สิริคุตต์นั้น 1 พันกหาปณะ. ครั้งนั้น พระราชาทรงส่ง
พระราชสาสน์ไปแก่สิริคุตต์นั้น. สิริคุตต์นั้นไปถวายบังคมพระราชาแล้ว
กราบทูลว่า "พระเจ้าข้า พระองค์ทรงสอบสวนแล้วจักปรับสินไหมได้,
ยังมิได้ทรงสอบสวน อย่าปรับ."
พระราชา. เราสอบสวนดูแล้ว จึงจักปรับ .
สิริคุตต์. ดีละ พระเจ้าข้า ถ้ากระนั้น จงปรับเถิด.
พระราชา. ถ้ากระนั้น จงพูด. สิริคุตต์ กราบทูลความเป็นไป
นั้นทั้งหมด ตั้งต้นแต่เรื่องนี้ว่า "พระเจ้าข้า สหายของข้าพระองค์เป็น
สาวกของนิครนถ์ เข้าไปหาข้าพระองค์แล้ว กล่าวอย่างนี้เนือง ๆ ในที่ยืน
ที่นั่งเป็นต้นว่า 'สหาย ประโยชน์อะไรของท่านด้วยพระสมณโคดมเล่า ?
ท่านเข้าไปหาพระสมณโคดมนั้น จักได้อะไร ?" ดังนี้แล้ว กราบทูล
ว่า " พระเจ้าข้า ถ้าการปรับสินไหมในเพราะเหตุนี้ ควรแล้ว: ขอจง
ปรับเถิด." พระราชา ทอดพระเนตรครหทินน์ ตรัสว่า "นัยว่า เจ้า
พูดอย่างนั้น จริงหรือ ?
ครหทินน์. จริง พระเจ้าข้า.
พระราชา. เจ้าคบพวกนิครนถ์ ผู้ไม่รู้แม้เหตุเพียงเท่านี้เที่ยวไป

อยู่ ด้วยคิดว่า 'เป็นครู' บอกแก่สาวกของพระตถาคตว่า 'ย่อมรู้
ทุกอย่าง' เพราะเหตุไร ? สินไหมอันเจ้ายกขึ้นปรับ จงมีแก่เจ้าเอง
เถิด.
ครหทินน์นั้นแล อันพระราชาทรงปรับสินไหมแล้ว ด้วยอาการ
อย่างนั้น. พวกนิครนถ์ เข้าถึงสกุลของครหทินน์นั้นนั่นแล อันสิริคุตต์
โบยไล่ออกแล้ว.

ครหทินน์เตรียมแก้แค้นสิริคุตต์


ครหทินน์นั้น โกรธสิริคุตต์นั้นแล้ว จำเดิมแต่นั้น ไม่พูดกับ
ด้วยสิริคุตต์ เป็นเวลาประมาณกึ่งเดือน คิดว่า "การเที่ยวไปโดยอาการ
อย่างนั้น ไม่ควรแก่เรา. การที่เราทำความฉิบหาย แม้แก่พวกภิกษุผู้เข้า
ถึงสกุลของสิริคุตต์นั้น ย่อมควร" ดังนี้แล้ว จึงเข้าไปหาสิริคุตต์
กล่าวว่า "สหาย สิริคุตต์."
สิริคุตต์. อะไร ? สหาย.
ครหทินน์. ธรรมดาญาติและสหายทั้งหลาย ย่อมมีการทะเลาะ
กันบ้าง วิวาทกันบ้าง, ท่านไม่พูดอะไรๆ, เพราะเหตุอะไร ท่านจึง
ทำอย่างนั้น ?
สิริคุตต์. สหาย ข้าพเจ้าไม่พูด ก็เพราะท่านไม่พูดกับข้าพเจ้า
กรรมใดอันข้าพเจ้าทำแล้ว. กรรมนั้นจงเป็นอันทำแล้วเถิด เราทั้งสอง
จักไม่ทำลายไมตรีกัน.
จำเดิมแต่กาลนั้น สหายทั้งสองย่อมยืน ย่อมนั่ง ในที่แห่งเดียว
กัน. ต่อมาในกาลวันหนึ่ง สิริคุตต์กล่าวกะครหทินน์ว่า " ประโยชน์