เมนู

แม้พระศาสดา ตรัสว่า "มารผู้ลามก เจ้าต้องการอะไรด้วย
สถานที่กุลบุตรชื่อโคธิกะเกิดแล้ว. เพราะคนอย่างเจ้า ตั้งร้อย ตั้งพัน
ก็ไม่อาจจะเห็นที่ที่โคธิกะนั้นเกิด" ดังนี้แล้ว ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า:-
11. เตส สมฺปนฺนสีลานํ อุปฺปมาทวิหารินํ
สมฺมทญฺญา วิมุตฺตานํ มาโร มคฺคํ น วินฺทติ.
"มาร ย่อมไม่ประสบพางของท่านผู้มีศีลถึง
พร้อมแล้ว มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท พ้นวิเศษ
แล้ว เพราะรู้ชอบ เหล่านั้น.

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เตสํ คือ แห่งท่านที่ปรินิพพาน
เหมือนอย่างกุลบุตรชื่อโคธิกะ มีวิญญาณไม่ตั้งอยู่ ปรินิพพานแล้วฉะนั้น
บทว่า สมฺปนฺนสีลานํ คือ ผู้มีศีลบริบูรณ์แล้ว. บทว่า อปฺป-
มาทวิหารินํ
คือ ผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท กล่าวคือ ความไม่อยู่
ปราศจากสติ.
บาทพระคาถาว่า สมฺมทญฺญา วิมุตฺตานํ ความว่า ผู้พ้นวิเศษ
แล้ว ด้วยวิมุตติ 5 เหล่านั้น คือ "ตทังควิมุตติ วิกขัมภนวิมุตติ สมุจ-
เฉทวิมุตติ ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ นิสสรณวิมุตติ" เพราะรู้โดยเหตุ คือโดย
นัย โดยการณ์.
บาทพระคาถาว่า มาโร มคิคํ น วินฺทติ ความว่า มารแม้
แสวงหาอยู่ โดยเต็มกำลัง ย่อมไม่ประสบ คือย่อมไม่ได้เฉพาะ ได้แก่
ย่อมไม่เห็น ทางแห่งพระมหาขีณาสพทั้งหลาย ผู้เห็นปานนี้ ไปแล้ว.

ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้นแล้ว. เทศนามีประโยชน์แก่มหาชน ดังนี้แล.
เรื่องปรินิพพานของพระโคธิกเถระ จบ.

12. เครื่องครหทินน์ [44]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภสาวกของ
นิครนถ์ ชื่อครหทินน์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ยถา สงฺการ-
ธานสฺมึ"
เป็นต้น.

เป็นสหายกันแต่เลื่อมใสวัตถุไม่ตรงกัน


ความพิสดารว่า ในกรุงสาวัตถี ได้มีชนผู้เป็นสหายกันสองคน
คือ สิริคุตต์ 1 ครหทินน์ 1. ในสองคนนั้น สิริคุตต์เป็นอุบาสก,
ครหทินน์เป็นสาวกของนิครนถ์. พวกนิครนถ์ ย่อมกล่าวกะครหทินน์
นั้นเนือง ๆ อย่างนี้ว่า "การที่ท่านพูดกะสิริคุตต์ ผู้สหายของท่านว่า
ท่านเข้าไปหาพระสมณโคดมทำไม ? ท่านจักได้อะไร ในสำนักของ
พระสมณโคดมนั้น ? ' ดังนี้แล้ว กล่าวสอนโดยอาการที่สิริคุตต์เข้ามาหา
พวกเราแล้ว จักให้ไทยธรรมแก่พวกเรา จะไม่ควรหรือ ?" ครหทินน์
ฟังคำของนิครนถ์เหล่านั้นแล้ว ก็หมั่นไปพูดกะสิริคุตต์" ในที่ที่เขายืน
และนั่งแล้วเป็นต้น อย่างนี้ว่า "สหาย ประโยชน์อะไรของท่านด้วย
พระสมณโคดมเล่า ? ท่านเข้าไปหาพระสมณโคดมนั้นจักได้อะไร ? การ
ที่ท่านเข้าไปหาพระผู้เป็นเจ้าของเราแล้ว ถวายทานแก่พระผู้เป็นเจ้า
เหล่านั้น จะไม่ควรหรือ ?" สิริคุตต์แม้ฟังคำของครหทินน์นั้น ก็นิ่งเฉย