เมนู

หม่อมฉันจักไปสู่สำนักเพื่อนของหม่อมฉัน" ดังนี้ ได้เสด็จไปเมือง
สาวัตถีแล้ว.
พระเจ้าปเสนทิทรงทราบการเสด็จมาของพันธุละนั้น ก็ทรงต้อนรับ
เชิญให้เสด็จเข้าพระนคร ด้วยสักการะใหญ่แล้ว ทรงตั้งไว้ในตำแหน่ง
เสนาบดี. พันธุลเสนาบดีนั้น ให้เชิญพระชนนีและพระชนกมาพักอาศัย
อยู่ในเมืองสาวัตถีนั้นนั่นแล

พระราชาทรงเลี้ยงภัตตาหารภิกษุเอง


ภายหลังวันหนึ่ง พระราชาประทับยืนอยู่ปราสาทชั้นบน ทอด
พระเนตรไปยังระหว่างถนน เห็นภิกษุหลายพันรูป ซึ่งไปเพื่อต้องการ
ทำภัตกิจ ในคฤหาสน์ของท่านเหล่านั้น คือ "ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
จูฬอนาถบิณฑิกเศรษฐี นางวิสาขา นางสุปปวาสา " จึงตรัสถามว่า
พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายไปไหนกัน?" เมื่อพวกราชบุรุษทูลว่า " ข้าแต่
สมมติเทพ ภิกษุสองพันรูป ไปเพื่อประโยชน์แก่ภัตทั้งหลายมีนายภัต
สลากภัต และคิลานภัต เป็นต้น ในคฤหาสน์ของอนาบิณฑิกเศรษฐี
ทุก ๆ วัน, ภิกษุ 500 รูป ไปคฤหาสน์ของจูฬอนาบิณฑิกเศรษฐี
เป็นนิตย์. ของนางวิสาขา ( และ ) นางสัปปวาสา ก็เช่นเดียวกัน"
ดังนี้แล้ว ทรงพระประสงค์จะบำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยพระองค์เองบ้าง จึงเสด็จ
ไปวิหาร ทรงนิมนต์พระศาสดา พร้อมกับภิกษุพันรูป ถวายทานด้วย
พระหัตถ์ (เอง) สิ้น 7 วัน ในวันที่ 7 ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว
ทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงทรงรับภิกษาของพระองค์
พร้อมด้วยภิกษุ 500 รูป เป็นนิตย์เถิด."

พระศาสดา. มหาบพิตร ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่
รับภิกษาประจำในที่แห่งเดียว. ประชาชนเป็นจำนวนมาก ย่อมหวัง
เฉพาะการมาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
พระราชา. ถ้ากระนั้น ขอพระองค์ โปรดส่งภิกษุรูปหนึ่งไป
ประจำเถิด
พระศาสดาได้ทรงทำให้เป็นภาระของพระอานนทเถระ.

พระราชาทรงลืมจัดการเลี้ยงภิกษุถึง 3 วัน


พระราชาไม่ทรงจัด ( เจ้าหน้าที่ ) ไว้ว่า "เมื่อภิกษุสงฆ์มาแล้ว
ชื่อว่าชนเหล่านั้น รับบาตรแล้ว จงอังคาส " ทรงอังคาสด้วยพระองค์เอง
เท่านั้นตลอด 7 วัน ในวันที่ 8 ทรงลืมไป จึงได้ทรงกระทำให้เนิ่นช้า
แล้ว.
ก็ธรรมดาในราชตระกูล ชนทั้งหลาย อันพระราชามิได้ทรงสั่ง
แล้ว ย่อมไม่ได้เพื่อปูอาสนะทั้งหลาย นิมนต์พวกภิกษุให้นั่งแล้วอังคาส.
พวกภิกษุ (ก็) คิดกันว่า "เราไม่อาจเพื่อยับยั้งอยู่ในที่นี้ได้" พากัน
หลีกไปเสียหลายรูป. แม้ในวันที่ 2 พระราชาก็ทรงลืมแล้ว. แม้ใน
วันที่ 2 ภิกษุเป็นอันมากก็พากันหลีกไป. ถึงในวันที่ 3 พระราชา
ก็ทรงลืม ในกาลนั้น เว้นพระอานนทเถระองค์เดียวเท่านั้น พวกภิกษุ
ที่เหลือพากันหลีกไป.

คนมีบุญย่อมหนักในเหตุ


ธรรมดาผู้มีบุญทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้เป็นไปในอำนาจแห่งเหตุ จึง
รักษาความเลื่อมใสแห่งตระกูลทั้งหลายไว้ได้. ก็สาวกของพระตถาคต