เมนู

หนีเข้าตำหนัก, เพราะเดชจากสรีระของเทพบุตรทั้งสามนั้น ท่วมทับ
สรีระของกระผม, เดชจากสรีระของกระผม ไม่ท่วมทับสรีระของเทพบุตร
ทั้งสามนั้น, ใครจะเข็ญใจกว่ากระผมเล่า ? ขอรับ.
พระเถระ. แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ตั้งแต่นี้ต่อไป พระองค์อย่าได้
ลวงถวายทานแก่อาตมภาพอย่างนั้น.
สักกะ. เมื่อกระผมลวงถวายทานแก่ท่าน, กุศลจะมีแก่กระผมหรือ
ไม่มี ?
พระเถระ. มี พระองค์.
สักกะ. เมื่อเป็นอย่างนั้น การทำกุศลกรรมก็จัดเป็นหน้าที่ของ
กระผมซิ ขอรับ.
ท้าวเธอตรัสอย่างนั้นแล้ว ทรงไหว้พระเถระ พานางสุชาดา
ทรงทำปทักษิณพระเถระแล้ว เหาะขึ้นสู่เวหาส ทรงเปล่งอุทานว่า :-
"โอ ทานที่เป็นทานอย่างเยี่ยม เราได้ตั้ง
ไว้ดีแล้วในท่านพระกัสสป."

มหากัสสสปเถรทานสูตร

1

เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์ จึงกล่าวว่า :-
" สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในพระเวฬุวัน กลันทก-
นิวาปสถาน ใกล้กรุงราชคฤห์. ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระมหากัสสป
อยู่ที่ปิปผลิคูหา, นั่งเข้าสมาธิอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยบัลลังก์เดียว สิ้น 7 วัน.
ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปโดยล่วง 7 วันนั้นแล้วจึงออกจากสมาธินั้น,
1. ขุ. อุ. 25/114.

ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสป ผู้ออกจากสมาธินั้นแล้ว ได้มีความ
ปริวิตกอย่างนี้ว่า 'ไฉนหนอ ? เราพึงเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์ เพื่อบิณฑบาต."
ก็โดยสมัยนั้นแล เทวดา ประมาณ 500 ถึงความขวนขวาย เพื่อจะให้
ท่านพระมหากัสสปได้บิณฑบาต. ครั้งนั้นแล ท่านมหากัสสป ห้ามเทวดา
ประมาณ 500 เหล่านั้นแล้ว ในเวลาเช้า นุ่ง ( สบง) แล้ว ถือบาตร
และจีวร เข้าไปสู่กรุงราชคฤห์ เพื่อบิณฑบาต. ก็โดยสมัยนั้นแล ท้าว-
สักกะผู้เป็นจอมแห่งเหล่าเทพเจ้า ทรงประสงค์จะถวายบิณฑบาตแก่ท่าน
พระมหากัสสป ทรงนิรมิตเป็นช่างหูก ทอหูกอยู่. อสุรกัญญา นามว่า
สุชาดา กรอหลอด.
ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสป, ที่ประทับอยู่ของท้าวสักกะ
ผู้เป็นจอมแห่งเหล่าเทพเจ้า มีอยู่โดยทิศาภาคใด, เข้าไปหาแล้ว โดย
ทิศาภาคนั้น; ท้าวสักกะ ผู้เป็นจอมแห่งเหล่าเทพเจ้า ได้ทอดพระเนตร
เห็นแล้วแล ซึ่งท่านพระมหากัสสปกำลังเดินมา แต่ที่ไกลเทียว, ครั้น
ทอดพระเนตรเห็นแล้ว เสด็จออกจากเรือน ทรงต้อนรับ รับบาตรจาก
มือ เสด็จเข้าไปสู่เรือน คดข้าวสุกจากหม้อ ใส่เต็มบาตรแล้ว ได้ถวาย
แก่ท่านพระมหากัสสป. บิณฑบาตนั้น ได้มีกับมากมาย มีแกงเหลือหลาย.
ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสป ได้มีความปริวิตกอย่างนี้ว่า " สัตว์ผู้มี
ฤทธิ์มีอานุภาพเห็นปานนี้นี่ คือใครกันหนอ ?. ครั้งนั้นแล ท่านพระ-
มหากัสสป ได้มีความปริวิตกอย่างนี้ว่า "นี้ คือท้าวสักกะ ผู้เป็นจอม
แห่งเหล่าเทพเจ้าแล." ครั้นทราบแล้ว ได้กล่าวคำนี้กะท้าวสักกะ
ผู้เป็นจอมแห่งเหล่าเทพเจ้าว่า "ท้าวโกสีย์ กรรมนี้ อันพระองค์ทรง
ทำแล้ว, พระองค์อย่าได้ทรงทำกรรมเห็นปานนี้อีกเลย." ท้าวสักกะ

ตรัสว่า "ท่านกัสสป ผู้เจริญ แม้พวกผมก็ต้องการบุญ, แม้พวกผมก็
ควรทำบุญ." ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะ ผู้เป็นจอมแห่งเทพเจ้า อภิวาท
ท่านพระมหากัสสปแล้ว ทรงทำปทักษิณ เหาะขึ้นสู่เวหาส ทรงเปล่ง
อุทาน 3 ครั้ง ในอากาศกลางหาวว่า :-
"โอ ทานที่เป็นทานอย่างเยี่ยม เราได้ตั้งไว้ดี
แล้วในท่านพระกัสสป, โอ ทานที่เป็นทานอย่างเยี่ยม
เราได้ตั้งไว้ดีแล้วในท่านพระกัสสป, โอ ทานที่เป็น
ทานอย่างเยี่ยม เราได้ตั้งไว้ดีแล้วในท่านพระกัสสป."

พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับยืนอยู่ในพระวิหารนั่นแล ได้ทรงสดับ
เสียงของท้าวสักกะนั้น จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว ตรัสว่า "ภิกษุ
ทั้งหลาย พวกเธอจงดูท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเหล่าเทพเจ้า ทรงเปล่ง
อุทาน เสด็จไปทางอากาศ."
ภิกษุ. ก็ท้าวสักกะนั้น ทำอะไร ? พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. ท้าวเธอลวงถวายบิณฑบาตแก่กัสสปผู้บุตรของเรา,
ครั้นถวายบิณฑบาตนั้นแล้ว ดีพระทัย พลางทรงเปล่งอุทานไป.
ภิกษุ. ท้าวเธอทราบได้อย่างไรว่า "ถวายบิณฑบาตแก่พระเถระ
ควร พระเจ้าข้า?"
พระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ทั้งเหล่าเทพเจ้า ทั้งเหล่ามนุษย์
ย่อมพอใจ ภิกษุผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ชื่อว่าเช่นบุตรของเรา"
ดังนี้แล้ว แม้พระองค์เองก็ทรงเปล่งอุทานแล้ว.
ก็ในพระสูตร คำมาแล้วเท่านี้นั่นเทียวว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้าได้

ทรงสดับแล้วแล ซึ่งเสียงของท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทพเจ้า ผู้เหาะขึ้น
สู่เวหาส ทรงเปล่งอุทาน 3 ครั้ง ในอากาศกลางหาวว่า :-
" โอ ทานที่เป็นทานอย่างเยี่ยม เราได้ตั้งไว้ดี
แล้วในท่านพระกัสสป, โอ ทานที่เป็นทานอย่างเยี่ยม
เราได้ตั้งไว้ดีแล้ในท่านพระกัสสป, โอ ทานที่เป็น
ทานอย่างเยี่ยม เราได้ตั้งไว้ดีแล้วในท่านพระกัสสป."

ด้วยพระโสตธาตุอันเป็นทิพย์ หมดจด ล่วงเสียซึ่งโสตของมนุษย์."
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว ทรง
เปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า:-
" เทวดาและมนุษย์ ย่อมพอใจ แก่ภิกษุผู้ถือ
การเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ผู้เลี้ยงตัวเอง มิใช่เลี้ยง
ผู้อื่น ผู้มั่นคง ผู้เข้าไปสงบแล้ว มีสติทุกเมื่อ."

ก็แลครั้นทรงเปล่งอุทานนี้แล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะ
ผู้เป็นจอมแห่งเหล่าเทพเจ้า ได้เสด็จมาถวายบิณฑบาตแก่บุตรของเรา
เพราะกลิ่นศีล " ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
10. อปฺปมตฺโต อยํ คนฺโธ ยวายํ ตครจนฺทนี
โย จ สีลวตํ คนฺโธ วาติ เทเวสุ อุตฺตโม.
" กลิ่นนี้ คือ กลิ่นกฤษณา และกลิ่นจันทน์
เป็นกลิ่นเพียงเล็กน้อย, ส่วนกลิ่นของผู้มีศีลทั้งหลาย
เป็นกลิ่นชั้นสูง ย่อมหอมฟุ้งไป ในเทพเจ้าและ
เหล่ามนุษย์.
"

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปมตฺโต คือ มีประมาณนิดหน่อย.
สองบทว่า โย จ สีลวตํ ความว่า ส่วนกลิ่นศีล ของผู้มีศีลทั้งหลาย
ใด. กลิ่นศีลนั้น หาเป็นกลิ่นเล็กน้อย เหมือนกลิ่นในกฤษณาและ
จันทน์แดงไม่ คือเป็นกลิ่นอันโอฬาร แผ่ซ่านไปเหลือเกิน, ด้วยเหตุ
นั้นแล กลิ่นศีล จึงเป็นกลิ่นสูงสุด คือประเสริฐ เลิศ ฟุ้งไปใน
เหล่าเทพเจ้าและเหล่ามนุษย์ คือฟุ้งไปในเหล่าเทพเจ้า และเหล่ามนุษย์
ได้แก่หอมตลบทั่วไปทีเดียว.
ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น. เทศนาเกิดประโยชน์แก่มหาชนแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องถวายบิณฑบาตแก่พระมหากัสสปเถระ จบ.