เมนู

" ทานที่สองผัวเมียนั่นถวายแล้ว จะเป็นน้ำผักดองหรือรำกำมือหนึ่งก็ตามที,
เราจักทำความสงเคราะห์แก่สองผัวเมียนั้น" ดังนี้แล้ว จึงได้ให้บาตรไป.
ท้าวสักกะนั้น เสด็จเข้าไปภายในเรือนแล้ว ทรงคดข้าวสุกออกจากหม้อ
ใส่เต็มบาตรแล้ว มอบถวายในมือพระเถระ. บิณฑบาตนั้นได้มีสูปพยัญชนะ
มากมาย ได้หอมตลบทั่วกรุงราชคฤห์แล้ว.

ท้าวสักกะตรัสบอกความจริงแก่พระเถระ


ในกาลนั้น พระเถระคิดว่า "ชายนี้ มีศักดิ์น้อย, บิณฑบาต
มีศักดิ์มาก เช่นกับโภชนะของท้าวสักกะ, นั่น ใครหนอ ?" ครั้งนั้น
พระเถระ ทราบชายนั้นว่า " ท้าวสักกะ" จึงกล่าวว่า "พระองค์ทรง
แย่งสมบัติของคนเข็ญใจ ( จัดว่า ) ทำกรรมหนักแล้ว . ใคร ๆ ก็ตาม
ที่เป็นคนเข็ญใจ ถวายทานแก่อาตมภาพในวันนี้ พึงได้ตำแหน่งเสนาบดี
หรือตำแหน่งเศรษฐี."
สักกะ. ผู้ที่เข็ญใจไปกว่ากระผม ไม่มีเลย ขอรับ.
พระเถระ, พระองค์เสวยสิริราชสมบัติในเทวโลก จะจัดว่าเป็นคน
เข็ญใจ เพราะเหตุไร ?
สักกะ. อย่างที่พระผู้เป็นเจ้าว่า ก็ถูกละ ขอรับ. แต่เมื่อพระ-
พุทธเจ้า ยังมิทรงอุบัติ, กระผมได้ทำกัลยาณกรรมไว้. เมื่อพุทธุปบาทกาล
ยังเป็นไปอยู่, เทพบุตรผู้มีศักดิ์เสมอกัน 3 องค์เหล่านี้ คือ จูฬรถเทพบุตร,
มหารถเทพบุตร, อเนกวัณณเทพบุตรทำกัลยาณกรรมแล้ว ได้เกิดในที่
ใกล้ของกระผม มีเดชมากกว่ากระผม; ก็กระผม เมื่อเทพบุตรทั้งสามนั้น
พาพวกบริจาริกาลงสู่ระหว่างถนน ด้วยคิดว่า 'จักเล่นนักขัตฤกษ์' ต้อง

หนีเข้าตำหนัก, เพราะเดชจากสรีระของเทพบุตรทั้งสามนั้น ท่วมทับ
สรีระของกระผม, เดชจากสรีระของกระผม ไม่ท่วมทับสรีระของเทพบุตร
ทั้งสามนั้น, ใครจะเข็ญใจกว่ากระผมเล่า ? ขอรับ.
พระเถระ. แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ตั้งแต่นี้ต่อไป พระองค์อย่าได้
ลวงถวายทานแก่อาตมภาพอย่างนั้น.
สักกะ. เมื่อกระผมลวงถวายทานแก่ท่าน, กุศลจะมีแก่กระผมหรือ
ไม่มี ?
พระเถระ. มี พระองค์.
สักกะ. เมื่อเป็นอย่างนั้น การทำกุศลกรรมก็จัดเป็นหน้าที่ของ
กระผมซิ ขอรับ.
ท้าวเธอตรัสอย่างนั้นแล้ว ทรงไหว้พระเถระ พานางสุชาดา
ทรงทำปทักษิณพระเถระแล้ว เหาะขึ้นสู่เวหาส ทรงเปล่งอุทานว่า :-
"โอ ทานที่เป็นทานอย่างเยี่ยม เราได้ตั้ง
ไว้ดีแล้วในท่านพระกัสสป."

มหากัสสสปเถรทานสูตร

1

เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์ จึงกล่าวว่า :-
" สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในพระเวฬุวัน กลันทก-
นิวาปสถาน ใกล้กรุงราชคฤห์. ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระมหากัสสป
อยู่ที่ปิปผลิคูหา, นั่งเข้าสมาธิอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยบัลลังก์เดียว สิ้น 7 วัน.
ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปโดยล่วง 7 วันนั้นแล้วจึงออกจากสมาธินั้น,
1. ขุ. อุ. 25/114.