เมนู

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ปุปฺผคนฺโธ ความว่า ต้นปาริฉัตร
ในภพชื่อดาวดึงส์ โดยด้านยาวและด้านกว้าง มีประมาณ (ด้านละ)
100 โยชน์, รัศมีดอกไม้ของต้นปาริฉัตรนั้นแผ่ออกไปตลอด 50 โยชน์,
กลิ่นฟุ้งไปได้ 100 โยชน์. แม้กลิ่นนั้น ก็ฟุ้งไปได้ตามลมเท่านั้น. แต่
หาสามารถฟุ้งไปทวนลมได้แม้ ( เพียง) ครึ่งองคุลีไม่. กลิ่นดอกไม้
แม้เห็นปานนี้ ฟุ้งไปทวนลมไม่ได้. บทว่า จนฺทนํ ได้แก่ กลิ่นจันทน์.
ด้วยบทว่า ตครมลฺลิกา1 วา นี้ ทรงพระประสงค์กลิ่นของคันธชาต
แม้เหล่านั้นเหมือนกัน. แท้จริง กลิ่นของจันทน์แดงก็ดี ของกฤษณาและ
กลัมพักก็ดี ซึ่งเป็นยอดแห่งกลิ่นที่เกิดจากแก่นทั้งหลาย ย่อมฟุ้งไปได้
ตามลมเท่านั้น ฟุ้งไปทวนลมไม่ได้. สองบทว่า สตญฺจ คนฺโธ ความว่า
ส่วนกลิ่นศีลของสัตบุรุษ คือของพระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย ย่อม
ฟุ้งไปทวนลมได้.
ถามว่า เพราะเหตุไร ?
แก้ว่า เพราะสัตบุรุษย่อมฟุ้งขจรไปตลอดทุกทิศ. อธิบายว่า
เพราะสัตบุรุษย่อมฟุ้งปกคลุมไปตลอดทุกทิศด้วยกลิ่นศีล; ฉะนั้น สัตบุรุษ
อันบัณฑิตควรกล่าวได้ว่า "กลิ่นของท่านฟุ้งไปทวนลมได้" เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า " ปฏิวาตเมติ." บทว่า วสฺสิกี ได้แก่
ดอกมะลิ.
บทว่า เอเตสํ เป็นต้น ความว่า กลิ่นศีลของสัตบุรุษผู้มีศีลนั่นแล
เป็นกลิ่นยอดเยี่ยมกว่ากลิ่นแห่งคันธชาต มีจันทน์ (แดง ) เป็นต้นเหล่านี้
คือหากลิ่นที่เหมือนไม่มี ได้แก่ไม่มีส่วนเปรียบเทียบได้.
1. กลิ่นกฤษณาและดอกมะลิ.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น, เทศนามีประโยชน์แก่มหาชนแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องปัญหาของพระอานนทเถระ จบ.

10. เรื่องถวายบิณฑบาตแก่พระมหากัสสปเถระ [42]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภการถวาย
บิณฑบาตแก่พระมหากัสสปเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อปฺปมตฺโต
อยํ คนฺโธ"
เป็นต้น.

นางอัปสรอยากทำบุญแต่ไม่สมหวัง


ความพิสดารว่า วันหนึ่ง พระเถระออกจากนิโรธสมาบัติ โดย
ล่วงไป 7 วัน ออกไปแล้ว ด้วยคิดว่า "จักเที่ยวบิณฑบาต ตาม
ลำดับตรอก ในกรุงราชคฤห์." ในสมัยนั้น นางอัปสรประมาณ 500
มีเท้าเหมือนเท้านกพิราบ เป็นบริจาริกา ของท้าวสักกเทวราช เกิดความ
อุตสาหะว่า " จักถวายบิณฑบาตแก่พระเถระ" จึงตระเตรียมบิณฑบาต
500 ที่ แล้วถือมายืนอยู่ในระหว่างทาง กล่าวว่า " นิมนต์รับบิณฑบาตนี้
เจ้าข้า, โปรดทำความสงเคราะห์แก่พวกดิฉันเถิด."
พระเถระ พวกเจ้าจงไปเสียเถิด, ฉันจักทำความสงเคราะห์พวกคน
เข็ญใจ.
นางอัปสร. ขอท่านอย่าให้พวกดิฉันฉิบหายเสียเลย เจ้าข้า, โปรด
ทำความสงเคราะห์พวกดิฉันเถิด.
พระเถระรู้แล้ว จึงห้ามเสียอีก แล้วดีดนิ้ว ( บอก) นาง
อัปสรทั้งหลายผู้ไม่ปรารถนาจะหลีกไปยังอ้อนวอนอยู่ว่า "พวกเจ้าไม่รู้จัก