เมนู

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ปุปฺผคนฺโธ ความว่า ต้นปาริฉัตร
ในภพชื่อดาวดึงส์ โดยด้านยาวและด้านกว้าง มีประมาณ (ด้านละ)
100 โยชน์, รัศมีดอกไม้ของต้นปาริฉัตรนั้นแผ่ออกไปตลอด 50 โยชน์,
กลิ่นฟุ้งไปได้ 100 โยชน์. แม้กลิ่นนั้น ก็ฟุ้งไปได้ตามลมเท่านั้น. แต่
หาสามารถฟุ้งไปทวนลมได้แม้ ( เพียง) ครึ่งองคุลีไม่. กลิ่นดอกไม้
แม้เห็นปานนี้ ฟุ้งไปทวนลมไม่ได้. บทว่า จนฺทนํ ได้แก่ กลิ่นจันทน์.
ด้วยบทว่า ตครมลฺลิกา1 วา นี้ ทรงพระประสงค์กลิ่นของคันธชาต
แม้เหล่านั้นเหมือนกัน. แท้จริง กลิ่นของจันทน์แดงก็ดี ของกฤษณาและ
กลัมพักก็ดี ซึ่งเป็นยอดแห่งกลิ่นที่เกิดจากแก่นทั้งหลาย ย่อมฟุ้งไปได้
ตามลมเท่านั้น ฟุ้งไปทวนลมไม่ได้. สองบทว่า สตญฺจ คนฺโธ ความว่า
ส่วนกลิ่นศีลของสัตบุรุษ คือของพระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย ย่อม
ฟุ้งไปทวนลมได้.
ถามว่า เพราะเหตุไร ?
แก้ว่า เพราะสัตบุรุษย่อมฟุ้งขจรไปตลอดทุกทิศ. อธิบายว่า
เพราะสัตบุรุษย่อมฟุ้งปกคลุมไปตลอดทุกทิศด้วยกลิ่นศีล; ฉะนั้น สัตบุรุษ
อันบัณฑิตควรกล่าวได้ว่า "กลิ่นของท่านฟุ้งไปทวนลมได้" เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า " ปฏิวาตเมติ." บทว่า วสฺสิกี ได้แก่
ดอกมะลิ.
บทว่า เอเตสํ เป็นต้น ความว่า กลิ่นศีลของสัตบุรุษผู้มีศีลนั่นแล
เป็นกลิ่นยอดเยี่ยมกว่ากลิ่นแห่งคันธชาต มีจันทน์ (แดง ) เป็นต้นเหล่านี้
คือหากลิ่นที่เหมือนไม่มี ได้แก่ไม่มีส่วนเปรียบเทียบได้.
1. กลิ่นกฤษณาและดอกมะลิ.