เมนู

อย่างเดียว ฟุ้งไปทวนลมไม่ได้, คันธชาต 3 อย่างเหล่านี้แล คือ กลิ่น
เกิดจากราก, กลิ่นเกิดจากแก่น, กลิ่นเกิดจากดอก. พระเจ้าข้า กลิ่น
ของคันธชาตใด ฟุ้งไปตามลมก็ได้, กลิ่นของคันธชาตใด ฟุ้งไปทวนลม
ก็ได้. กลิ่นของคันธชาตใด ฟุ้งไปตามลมและทวนลมก็ได้, คันธชาตนั้น
บางอย่าง มีอยู่หรือหนอแล ?"

พระศาสดาทรงเฉยปัญหา


ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงเฉลยปัญหาแก่ท่าน จึงตรัสว่า
" อานนท์ กลิ่นของคันธชาตใด ฟุ้งไปตามลมก็ได้, กลิ่นของคันธชาตใด
ฟุ้งไปทวนลมก็ได้, กลิ่นของคันธชาตใด ฟุ้งไปตามลมและทวนลมก็ได้,
คันธชาตนั้น มีอยู่."
พระอานนท์. พระเจ้าข้า ก็กลิ่นของคันธชาตใด ฟุ้งไปตามลม
ก็ได้. กลิ่นของคันธชาตใด ฟุ้งไปทวนลมก็ได้. กลิ่นของคันธชาตใด
ฟุ้งไปตามลมและทวนลมก็ได้, คันธชาตนั้นเป็นไฉน ?
พระศาสดา ตรัสว่า "อานนท์ หญิงก็ตาม ชายก็ตาม ในบ้าน
หรือในนิคมใด ในโลกนี้ เป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่ง, เป็นผู้ถึง
พระธรรมว่าเป็นที่พึ่ง, เป็นผู้ถึงพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง; เป็นผู้งดเว้นจากการ
ทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วง. เป็นผู้งดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้.
เป็นผู้งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม เป็นผู้งดเว้นจากการกล่าวเท็จ.
เป็นผู้งดเว้นจากฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท คือการดื่มน้ำเมา ได้แก่
สุราและเมรัย; เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม; มีใจมีความตระหนี่เป็นมลทิน
ไปปราศแล้ว มีเครื่องบริจาคอันสละแล้ว มีฝ่ามืออันล้างแล้ว ยินดีใน

การสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน ย่อมอยู่ครอบครองเรือน,
สมณะและพราหมณ์ในทิศทั้งหลาย ย่อมกล่าว (สรรเสริญ) เกียรติคุณ
ของหญิงและชายนั้นว่า 'หญิงหรือชายในนิคมชื่อโน้น เป็นผู้ถึงพระ-
พุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่ง, ฯลฯ ยินดีในการจำแนกทาน.' แม้เทวดาทั้งหลาย
ย่อมกล่าว (สรรเสริญ) เกียรติคุณของหญิงและชายนั้นว่า หญิงหรือ
ชายในบ้านหรือนิคมชื่อโน้น เป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่ง, ฯ ลฯ
ยินดีในการจำแนกทาน.' อานนท์ นี้แล เป็นคันธชาตมีกลิ่นฟุ้งไปตาม
ลมก็ได้. มีกลิ่นฟุ้งไปทวนลมก็ได้, มีกลิ่นฟุ้งไปตามลมและทวนลมก็ได้"
ดังนี้แล้ว ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านั้นว่า :-
9. น ปุปฺผคนฺโธ ปฏิวาตเมติ
น จนฺทนํ ตครมลฺลิกา วา
สตญฺจ คนฺโธ ปฏิวาตเมติ
สพฺพา ทิสา สปฺปุริโส ปวายติ.
จนฺทนํ ตครํ วาปิ อุปฺปลํ อถ อสฺสิกี
เอเตสํ คนฺธชาตานํ สีลคนฺโธ อนุตฺตโร.
"กลิ่นดอกไม้ฟุ้งไปทวนลมไม่ได้, กลิ่นจันทน์
หรือกลิ่นกฤษณาและกลัมพักก็ฟุ้งไปไม่ได้, แต่กลิ่น
ของสัตบุรุษฟุ้งไปทวนลมได้, (เพราะ) สัตบุรุษ
ย่อมฟุ้งขจรไปตลอดทุกทิศ, กลิ่นจันทน์ก็ดี แม้กลิ่น
กฤษณาก็ดี กลิ่นอุบลก็ดี กลิ่นดอกมะลิก็ดี, กลิ่น
ศีลเป็นเยี่ยม กว่าคันธชาตทั้งหลายนั่น."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ปุปฺผคนฺโธ ความว่า ต้นปาริฉัตร
ในภพชื่อดาวดึงส์ โดยด้านยาวและด้านกว้าง มีประมาณ (ด้านละ)
100 โยชน์, รัศมีดอกไม้ของต้นปาริฉัตรนั้นแผ่ออกไปตลอด 50 โยชน์,
กลิ่นฟุ้งไปได้ 100 โยชน์. แม้กลิ่นนั้น ก็ฟุ้งไปได้ตามลมเท่านั้น. แต่
หาสามารถฟุ้งไปทวนลมได้แม้ ( เพียง) ครึ่งองคุลีไม่. กลิ่นดอกไม้
แม้เห็นปานนี้ ฟุ้งไปทวนลมไม่ได้. บทว่า จนฺทนํ ได้แก่ กลิ่นจันทน์.
ด้วยบทว่า ตครมลฺลิกา1 วา นี้ ทรงพระประสงค์กลิ่นของคันธชาต
แม้เหล่านั้นเหมือนกัน. แท้จริง กลิ่นของจันทน์แดงก็ดี ของกฤษณาและ
กลัมพักก็ดี ซึ่งเป็นยอดแห่งกลิ่นที่เกิดจากแก่นทั้งหลาย ย่อมฟุ้งไปได้
ตามลมเท่านั้น ฟุ้งไปทวนลมไม่ได้. สองบทว่า สตญฺจ คนฺโธ ความว่า
ส่วนกลิ่นศีลของสัตบุรุษ คือของพระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย ย่อม
ฟุ้งไปทวนลมได้.
ถามว่า เพราะเหตุไร ?
แก้ว่า เพราะสัตบุรุษย่อมฟุ้งขจรไปตลอดทุกทิศ. อธิบายว่า
เพราะสัตบุรุษย่อมฟุ้งปกคลุมไปตลอดทุกทิศด้วยกลิ่นศีล; ฉะนั้น สัตบุรุษ
อันบัณฑิตควรกล่าวได้ว่า "กลิ่นของท่านฟุ้งไปทวนลมได้" เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า " ปฏิวาตเมติ." บทว่า วสฺสิกี ได้แก่
ดอกมะลิ.
บทว่า เอเตสํ เป็นต้น ความว่า กลิ่นศีลของสัตบุรุษผู้มีศีลนั่นแล
เป็นกลิ่นยอดเยี่ยมกว่ากลิ่นแห่งคันธชาต มีจันทน์ (แดง ) เป็นต้นเหล่านี้
คือหากลิ่นที่เหมือนไม่มี ได้แก่ไม่มีส่วนเปรียบเทียบได้.
1. กลิ่นกฤษณาและดอกมะลิ.