เมนู

8. ยถาปิ ปุปฺผราสิมฺหา กยิรา มาลาคุเฬ1 พหู
เอวํ ชาเตน มจฺเจน กตฺตพฺพํ กุสลํ พหุํ.
" นายมาลาการพึงทำพวงดอกไม้ให้มาก จาก
กองดอกไม้ แม้ฉันใด; มัจจสัตว์ผู้มีอันจะพึงตาย
เป็นสภาพ ควรทำกุศลไว้ให้มาก ฉันนั้น."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุปฺผราสิมฺหา ได้แก่ จากกองแห่ง
ดอกไม้มีประการต่าง ๆ. บทว่า กยิรา แปลว่า พึงทำ. สองบทว่า
มาลาคุเณ พหู ความว่า ซึ่งมาลาวิกัติ หลายชนิด ต่างโดยชนิด
มีดอกไม้ที่ร้อยขั้วข้างเดียวเป็นต้น. บทว่า มจฺเจน ความว่า สัตว์ผู้
ได้ชื่อว่า 'มจฺโจ' เพราะความเป็นผู้มีอันจะพึงตายเป็นสภาพ ควรทำ
กุศล ต่างด้วยกุศลมีการถวายจีวรเป็นต้นไว้ให้มาก. ศัพท์คือ ปุปฺผราสิ
ในพระคาถานั้น มีอันแสดงดอกไม้มากเป็นอรรถ.
ก็ถ้าดอกไม้มีน้อย และนายมาลาการฉลาด ก็ย่อมไม่อาจทำพวง
ดอกไม้ให้มากได้เลย; ส่วนนายมาลาการผู้ไม่ฉลาด เมื่อดอกไม้จะมีน้อย
ก็ตาม มากก็ตาม ย่อมไม่อาจโดยแท้; แต่เมื่อดอกไม้มีมาก นายมาลา-
การผู้ฉลาด ขยัน เฉียบแหลม ย่อมทำพวกดอกไม้ให้มาก ฉันใด; ถ้า
ศรัทธาของคนบางคนมีน้อย ส่วนโภคะมีมาก ผู้นั้นย่อมไม่อาจทำ
กุศลให้มากได้ , ก็แล เมื่อศรัทธามีน้อยทั้งโภคะก็น้อย. เขาก็ย่อมไม่อาจ;
ก็แล เมื่อศรัทธาโอฬาร แต่โภคะน้อย เขาก็ย่อมไม่อาจเหมือนกัน,
1. อรรถกถา เป็นมาลาคุเณ.

ก็แต่เมื่อมีศรัทธาโอฬาร และโภคะก็โอฬาร เขาย่อมอาจทำกุศลให้มาก
ได้ ฉันนั้น นางวิสาขาอุบาสิกาเป็นผู้เช่นนั้นแล, พระศาสดา ทรง
หมายนางวิสาขานั้น จึงตรัสคำเป็นพระคาถาดังนี้ว่า:-
"นายมาลาการพึงทำพวงดอกไม้ให้มาก จาก
กองดอกไม้ แม้ฉันใด; มัจจสัตว์ผู้มีอันจะพึงตาย
เป็นสภาพ ควรทำกุศลไว้ให้มาก ฉันนั้น."

ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากได้เป็นอริยบุคคล มีโสดาบัน
เป็นต้น, เทศนามีประโยชน์แก่มหาชนแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องนางวิสาขา จบ.
บาทพระคาถาว่า อติตฺตํเยว กาเมสุ ความว่า ผู้ไม่อิ่มในวัตถุ-
กามและกิเลสกามทั้งหลายนั่นแล ด้วยการแสวงหาบ้าง ด้วยการได้เฉพาะ
บ้าง ด้วยการใช้สอยบ้าง ด้วยการเก็บไว้บ้าง.
บาทพระคาถาว่า อนฺตโก กุรุเต วสํ ความว่า มัจจุผู้ทำซึ่ง
ที่สุด กล่าวคือมรณะ พานระผู้คร่ำครวญ ร่ำไร ไปอยู่ ให้ถึงอำนาจ
ของตน.
ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลาย มี
โสดาปัตติผลเป็นต้น, เทศนาเป็นประโยชน์แก่มหาชน ดังนี้แล.
เรื่องนางปติปูชิกา จบ.

9. เรื่องปัญหาของพระอานนทเถระ [41]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี เมื่อจะทรงแก้ปัญหา
ของพระอานนทเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "น ปุปฺผคนฺโธ
ปฏิวาตเมติ"
เป็นต้น.

พระอานนท์เถระทูลถามปัญหา


ดังได้สดับมา พระเถระหลีกเร้นแล้วในเวลาเย็น คิดว่า "พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ตรัสกลิ่นสูงสุดไว้ 3 อย่าง คือ 'กลิ่นเกิดจากราก กลิ่นเกิด
จากแก่น กลิ่นเกิดจากดอก, กลิ่นของคันธชาตเหล่านั้นฟุ้งไปได้ตามลม
เท่านั้น ไปทวนลมไม่ได้; กลิ่นของคันธชาตใด ฟุ้งไปได้แม้ทวนลม
คันธชาตนั้น มีอยู่หรือหนอแล ?" ครั้งนั้น ท่านได้มีความคิดนี้ว่า
"ประโยชน์อะไรของเราด้วยปัญหาที่จะวินิจฉัยด้วยตนเอง, เราจักทูลถาม
พระศาสดานั่นแหละ (ดีกว่า) " ท่านเข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้วทูลถาม.
เพราะ1เหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์ จึงกล่าวไว้ว่า "ครั้งนั้นแล
ท่านพระอานนท์ ออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น, เข้าไปเฝ้าโดยทิสาภาค
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่. ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ได้กราบทูลคำนี้กะ
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "พระเจ้าข้า กลิ่นของคันธชาตเหล่าใดฟุ้งไปตามลม
อย่างเดียว ฟุ้งไปทวนลมไม่ได้, คันธชาตเหล่านี้มี 3 อย่าง. คันธชาต 3
อย่างเป็นไฉน ? พระเจ้าข้า กลิ่นของคันธชาตเหล่าใด ฟุ้งไปตามลม
1. อัง. ติก. 20/290.