เมนู

3. เรื่องพระเจ้าวิฑูฑภะ1 [35]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระนครสาวัตถี ทรงปรารภพระเจ้า
วิฑูฑภะ พร้อมทั้งบริษัท ซึ่งถูกห้วงน้ำท่วมทับให้สวรรคตแล้ว ตรัส
พระธรรมเทศนานี้ว่า "ปุปฺผานิ เหว ปจินนฺตํ" เป็นต้น.
อนุปุพพีกถาในเรื่องนั้น ดังต่อไปนี้ :-

สามพระกุมารไปศึกษาศิลปะในกรุงตักกสิลา


พระกุมาร 3 พระองค์เหล่านั้น คือ " พระราชโอรสของพระเจ้า
มหาโกศล ในพระนครสาวัตถี พระนามว่าปเสนทิกุมาร, พระกุมาร
ของเจ้าลิจฉวี ในพระนครเวสาลี พระนามว่ามหาลิ, โอรสของเจ้า
มัลละ ในพระนครกุสินารา พระนามว่าพันธุละ" เสด็จไปนครตักกสิลา
เพื่อเรียนศิลปะในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ มาพบกันที่ศาลานอก
พระนคร ต่างก็ถามถึงเหตุที่มา ตระกูล และพระนามของกันและกัน
แล้ว เป็นพระสหายกัน ร่วมกันเข้าไปหาอาจารย์ ต่อกาลไม่นานนักก็
เรียนศิลปะสำเร็จ จึงกราบอาอาจารย์พร้อมกัน เสด็จออก (จาก
กรุงตักกสิลา) ได้ไปสู่ที่อยู่ของตน ๆ.

สามพระกุมารได้รับตำแหน่งต่างกัน


บรรดาพระกุมารทั้ง 3 พระองค์นั้น ปเสนทิกุมาร ทรงแสดง
ศิลปะถวายพระชนก อันพระชนกทรงเลื่อมใสแล้ว (จึง) อภิเษกใน
ราชสมบัติ.
1. ม. วิฏฏูภวัตถุ.

มหาลิกุมาร เพื่อจะทรงแสดงศิลปะแก่เจ้าลิจฉวีทั้งหลาย ก็ทรง
แสดงด้วยความอุตสาหะมาก. พระเนตรของพระองค์ได้แตกไปแล้ว.
พวกเจ้าลิจฉวีปรึกษากันว่า "พุทโธ่เอ๋ย อาจารย์ของพวกเรา ถึงความ
เสียพระเนตรแล้ว, พวกเราจะไม่ทอดทิ้งท่าน, จักบำรุงท่าน" ดังนี้แล้ว
จึงได้ถวายประตู1 ด้านหนึ่ง ซึ่งเก็บส่วยได้วันละแสนแก่มหาลิกุมารนั้น.
พระองค์ทรงอาศัยประตูนั้น ให้โอรสของเจ้าลิจฉวี 500 องค์ ทรงศึกษา
ศิลปะ อยู่แล้ว.
(ฝ่าย) พันธุลกุมาร เมื่อพวกตระกูลมัลลราชกล่าวว่า "ขอพันธุล-
กุมารจงฟันไม้ไผ่เหล่านี้" ดังนี้แลั้ว ได้กระโดดขึ้นไปยังอากาศ (สูง)
ถึง 80 ศอก เอาดาบฟันมัดไม้ไผ่ 60 ลำ ที่พวกเจ้ามัลละเอาไม้ไผ่
60 ลำใส่ซี่เหล็กในท่ามกลางแถ้ว ให้ยกขึ้นตั้งไว้ ( ขาดกระเด็น )
ไปแล้ว. พันธุลกุมารนั้นได้ยินเสียงดัง "กริก" ของซี่เหล็กในมัด
สุดท้าย (จึง) ถามว่า " นี่อะไร ? " ได้ยินว่า เขาเอาซี่เหล็กใส่ใน
ไม้ไผ่ทุกมัดแล้ว จึงทิ้งดาบ ร้องไห้พลางพูดว่า "บรรดาญาติและเพื่อน
ของเราประมาณเท่านี้ แม้แต่คนเดียว ซึ่งเป็นผู้มีความสิเนหา (ในเรา)
มิได้บอกเหตุนี้ ( แก่เรา ); ก็หากว่า เราพึงรู้ไซร้, พึงฟันไม่ให้เสียง
ซี่เหล็กดังขึ้นเลย" แล้วทูลแก่พระชนนีและพระชนกว่า "หม่อมฉันจัก
ฆ่าเจ้ามัลละเหล่านี้แม้ทั้งหมดแล้วครองราชสมบัติ" อันพระชนนีและ
พระชนกห้ามแล้ว โดยประการต่าง ๆ เป็นต้นว่า "ลูกเอ๋ย นี้ เป็น
ราชประเพณี, เจ้าไม่ได้เพื่อจะทำอย่างนั้น" จึงทูลว่า " ถ้ากระนั้น
1. คำว่า "ประตู" หมายความว่าหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ทางประตูด้านหนึ่ง.

หม่อมฉันจักไปสู่สำนักเพื่อนของหม่อมฉัน" ดังนี้ ได้เสด็จไปเมือง
สาวัตถีแล้ว.
พระเจ้าปเสนทิทรงทราบการเสด็จมาของพันธุละนั้น ก็ทรงต้อนรับ
เชิญให้เสด็จเข้าพระนคร ด้วยสักการะใหญ่แล้ว ทรงตั้งไว้ในตำแหน่ง
เสนาบดี. พันธุลเสนาบดีนั้น ให้เชิญพระชนนีและพระชนกมาพักอาศัย
อยู่ในเมืองสาวัตถีนั้นนั่นแล

พระราชาทรงเลี้ยงภัตตาหารภิกษุเอง


ภายหลังวันหนึ่ง พระราชาประทับยืนอยู่ปราสาทชั้นบน ทอด
พระเนตรไปยังระหว่างถนน เห็นภิกษุหลายพันรูป ซึ่งไปเพื่อต้องการ
ทำภัตกิจ ในคฤหาสน์ของท่านเหล่านั้น คือ "ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
จูฬอนาถบิณฑิกเศรษฐี นางวิสาขา นางสุปปวาสา " จึงตรัสถามว่า
พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายไปไหนกัน?" เมื่อพวกราชบุรุษทูลว่า " ข้าแต่
สมมติเทพ ภิกษุสองพันรูป ไปเพื่อประโยชน์แก่ภัตทั้งหลายมีนายภัต
สลากภัต และคิลานภัต เป็นต้น ในคฤหาสน์ของอนาบิณฑิกเศรษฐี
ทุก ๆ วัน, ภิกษุ 500 รูป ไปคฤหาสน์ของจูฬอนาบิณฑิกเศรษฐี
เป็นนิตย์. ของนางวิสาขา ( และ ) นางสัปปวาสา ก็เช่นเดียวกัน"
ดังนี้แล้ว ทรงพระประสงค์จะบำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยพระองค์เองบ้าง จึงเสด็จ
ไปวิหาร ทรงนิมนต์พระศาสดา พร้อมกับภิกษุพันรูป ถวายทานด้วย
พระหัตถ์ (เอง) สิ้น 7 วัน ในวันที่ 7 ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว
ทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงทรงรับภิกษาของพระองค์
พร้อมด้วยภิกษุ 500 รูป เป็นนิตย์เถิด."