เมนู

สีดุจทองคำ, นางพึงใส่รูปนั้นในไฟ ในกาลที่รูปนั้นถูกเปลวไฟใหญ่
ลวกแล้ว จึงบอกแก่ข้าพเจ้า" ดังนี้แล้ว ไปยังที่อยู่ของคนนั่นแล นั่ง
แล้ว. นางทำอย่างนั้นแล้ว จึงแจ้งแก่พระเถระ พระเถระไปพิจารณา.
ในที่ถูกเปลวไฟกระทบแล้ว ๆ สีแห่งสรีระได้เป็นดังแม่โคด่าง. เท้าทั้งสอง
งอหงิกห้อยลง มือทั้งสองกำเข้า หน้าผากได้มีหนังปอกแล้ว.

พระมหากาลบรรลุพระอรหัต


พระเถระพิจารณาว่า "สรีระนี้เป็นธรรมชาติทำให้ไม่วายกระสัน
แก่บุคคลผู้แลดูอยู่ในบัดเดี๋ยวนี้เอง, แต่บัดนี้ (กลับ) ถึงความสิ้นถึง
ความเสื่อมไปแล้ว." กลับไปที่พักกลางคืน นั่งพิจารณาถึงความสิ้นและ
ความเสื่อมอยู่ กล่าวคาถาว่า
"สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีอันเกิดขึ้นและ
เสื่อมไปเป็นธรรมดา, เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ความ
สงบแห่งสังขารนั้นเป็นสุข"

เจริญวิปัสสนาได้บรรลุพระอรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย.
เมื่อท่านบรรลุพระอรหัตแล้ว, พระศาสดามีภิกษุสงฆ์แวดล้อมเสด็จ
จาริกไปยังเสตัพยนครแล้ว เสด็จเข้าสู่ป่าไม้ประดู่ลาย.
พวกภรรยาของพระจุลกาล ได้ยินว่า "ข่าวว่า พระศาสดาเสด็จ
มาถึงแล้ว." คิดว่า "พวกเราจัก ( ช่วยกัน) จับสามีของพวกเรา "
ดังนี้แล้ว ส่ง (คน) ไปให้ทูลอาราธนาพระศาสดา.

ระเบียบปูอาสนะสมัยพุทธกาล


ก็ในสถานที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ทรงคุ้นเคย ควรที่ภิกษุรูป

หนึ่งผู้บอกการปูอาสนะจะต้องล่วงหน้าไปก่อน. ก็อาสนะสำหรับพระ
พุทธเจ้าทั้งหลาย พึงให้ปูในที่ท่ามกลาง, อาสนะสำหรับพระสารีบุตรเถระ
พ่อให้ปูข้างขวา, อาสนะสำหรับพระมหาโมคคัลลานเถระ พึงให้ปูข้างซ้าย
แห่งอาสนะของพระพุทธเจ้านั้น, อาสนะสำหรับภิกษุสงฆ์พึงให้ปูในข้าง
ทั้งสองถัดจากที่นั้นไป. เพราะฉะนั้น พระมหากาลเถระพักอยู่ในที่
ห่มจีวร ส่งพระจุลกาลไปว่า "เธอจงล่วงหน้าไปบอกการปูอาสนะ."

พระจุลกาลถูกหญิงจักสึก


พวกชนในเรือน ทำการเสสรวลกับท่าน จำเดิมแต่กาลที่พวกเขา
เห็นท่าน (แกล้ง) ปูอาสนะต่ำในที่สุดพระสังฆเถระ ปูอาสนะสูงในที่
สุดของสังฆนวกะ1. พระจุลกาลนอกนี้ ชี้เเจงว่า "พวกเจ้าจงอย่าทำ
อย่างนั้น, จงปูอาสนะสูงในที่สูง ปูอาสนะต่ำในที่ต่ำ."
พวกหญิง ทำที่เหมือนไม่ได้ยินถ้อยคำของท่าน รุมกันว่า "ท่าน
เที่ยวทำอะไรอยู่ ? หน้าที่ให้ปูอาสนะไม่สมควรแก่ท่านหรือ ? ท่านลา
ใครบวช ? ท่านใครเป็นผู้ยอมให้บวช ? มาในที่นี้ทำไม .?" ดังนี้แล้ว
ช่วยกันฉุดสบงและจีวรออกแล้ว ให้นุ่งผ้าขาว สวมเทริดมาลาบนศีรษะ
แล้วส่งไปด้วยคำว่า "เธอจงไปนำเสด็จพระศาสดามา, พวกข้าพเจ้าจะ
ปูอาสนะ."
จุลกาลดำรงอยู่ในภาวะแห่งภิกษุ สิ้นกาลไม่นาน ยังไม่ทันได้
พรรษา ก็สึก จึงไม่รู้สึกอาย, เพราะฉะนั้น เขาจึงหมดความรังเกียจ

1. ผู้ใหม่ในสงฆ์ หมายความว่า ผู้มีพรรษาน้อยกว่าทุกรูปในหมู่นั้น.