เมนู

เมื่อบิดามารดานั้นแม้ถูกปลงชีวิคอยู่, ก็ไม่ล่วงโอวาทนั้น ภายหลังได้ครอง
ราชสมบัติใน 2 แว่นแคว้น" ดังนี้แล้ว ตรัสทีฆาวุกุมารชาดก1 อีกเหมือน
กันแล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ทีฆาวุกุมาร ถึงเมื่อพระชนนีและ
พระชนกถูกปลงชีวิตอยู่อย่างนั้น, ก็ไม่ก้าวล่วงโอวาทของพระชนนีและ
พระชนกเหล่านั้นแล้ว ภายหลังได้ธิดาของพระเจ้าพรหมทัตครองราช-
สมบัติในแว่นแคว้นกาสีและแว่นแคว้นโกศลทั้งสองแล้ว, ส่วนพวกเธอ
ทั้งหลายไม่ทำ (ตาม ) คำของเรา ทำกรรมหนัก" ดังนี้ แล้ว
ตรัสพระคาถานี้ว่า
5. ปเร จ น วิชานนฺติ มยเมตฺถ ยมามฺหเส
เย จ ตตฺถ วิชานนฺติ ตโต สมฺมนฺติ เมธคา.
"ก็ชนเหล่าอื่นไม่รู้ตัวว่า 'พวกเราพากันย่อยยับ
อยู่ในท่ามกลางสงฆ์นี้' ฝ่ายชนเหล่าใดในหมู่นั้น
ย่อมรู้ชัด, ความหมายมั่นกันและกัน ย่อมสงบ
เพราะการปฏิบัติของชนพวกนั้น ."


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปเร เป็นต้น ความว่า เหล่าชนผู้ทำ
ความแตกร้าว ยกบัณฑิตทั้งหลายเสีย คือพวกอื่นจากบัณฑิตนั้น ชื่อว่า
ชนพวกอื่น, ชนพวกอื่นนั้น ทำความวุ่นวายอยู่ในทำมกลางสงฆ์นั้น
ย่อมไม่รู้สึกตัวว่า "เราทั้งหลาย ย่อมย่อยับ คือบ่นปี้ ฉิบหาย ได้แก่
ไปสู่ที่ใกล้ คือสำนักมฤตยูเป็นนิตย์."

1. ขุ. ปัญจก. 27/182. อรรถกถา. 4/495.

บาทพระคาถาว่า เย จ ตตฺถ วิชานนฺติ ความว่า ชนเหล่าใด
ผู้เป็นบัณฑิตในหมู่นั้น ย่อมรู้สึกตัวว่า "เราทั้งหลายไปสู่ที่ใกล้มฤตยู."
บาทพระคาถาว่า ตโต สมฺมนฺติ เมธคา ความว่า ชนเหล่านั้น
รู้อยู่อย่างนี้แล ยังการทำความในใจโดยอุบายที่ชอบให้เกิดขึ้นแล้ว ย่อม
ปฏิบัติเพื่อสงบความหมายมั่น คือความทะเลาะกัน, เมื่อเป็นเช่นนั้น
ความหมายมั่นเหล่านั้นย่อมสงบ เพราะความปฏิบัตินั้นของบัณฑิตเหล่านั้น.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบอธิบายในพระคาถานี้ อย่างนี้ว่า "คำว่า
ปเร จ เป็นต้น ความว่า ชนทั้งหลาย แม้อันเรา (ตถาคต) กล่าว
สอนอยู่ว่า 'ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย อย่าได้ทำความแตกร้าวกัน'
ดังนี้เป็นต้น ในกาลก่อน ก็ไม่นับถือ เพราะไม่รับโอวาทของเรา ชื่อว่า
ชนพวกอื่น. ชนพวกอื่นนั้น ย่อมไม่รู้สึกตัวว่า 'เราทั้งหลายถือผิด
ด้วยอำนาจอคติมีฉันทะเป็นต้น ย่อมย่อยยับ ได้แก่พยายามเพื่อความเจริญ
แห่งเหตุอันทำความพินาศ มีแตกร้าวกันเป็นต้น ในท่ามกลางสงฆ์นี้.'
แต่บัดนี้ บุรุษผู้เป็นบัณฑิตเหล่าใด ในระหว่างแห่งเธอทั้งหลายนั้น
พิจารณาอยู่รู้ชัดว่า ' เมื่อก่อนเราทั้งหลายพยายามอยู่ ด้วยอำนาจอคติมี
ฉันทะเป็นต้น ปฏิบัติโดยไม่ชอบแล้ว' ความหมายมั่น ที่นับว่าความ
ทะเลาะกันในบัดนี้เหล่านี้ ย่อมสงบจากสำนักบัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้น ๆ
คือเพราะอาศัยบุรุษผู้เป็นบัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้."
ในกาลจบคาถา ภิกษุผู้ประชุมกัน ได้ดำรงอยู่ในอริยผลทั้งหลาย
มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องภิกษุชาวเมืองโกสัมพี จบ.

6. เรื่องจุลกาลและมหากาล [6]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อเสด็จเข้าไปอาศัยเสตัพยนคร ประทับอยู่ในป่าไม้
ประดู่ลาย ทรงปรารภจุลกาลและมหากาล ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า
"สุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ" เป็นต้น.

พี่น้อง 3 คนทำการค้าขาย


ความพิสดารว่า กุฎุม1 พีชาวเสตัพยนคร 3 พี่น้อง คือ จุลกาล 1
มัชฌิมกาล 1 มหากาล 1. บรรดาพี่น้อง 3 คนนั้นพี่ชายใหญ่และน้อง
ชายน้อยเที่ยวไปในทิศทั้งหลาย นำสิ่งของมาด้วยเกวียน 500 เล่ม.
มัชฌิมกาล ขายสิ่งของที่พี่และน้องทั้งสองนำมา.
ต่อมาสมัยหนึ่ง พี่น้องทั้งสองนั้น บรรทุกสิ่งของต่าง ๆ ด้วย
เกวียน 500 เล่มไปสู่กรุงสาวัตถี ปลดเกวียนทั้งหลายในระหว่างกรุง
สาวัตถีและพระเชตวัน (ต่อกัน).

มหากาลฟังธรรมแล้วลาน้องชายไปบวช


ในพี่น้อง 2 คนนั้น มหากาลเห็นอริยสาวกทั้งหลายชาวกรุง
สาวัตถี มีมือถือระเบียบดอกไม้และของหอมเป็นต้น ไปเพื่อฟังธรรม
ในเวลาเย็น จึงถามว่า "ชนเหล่านี้ไปไหนกัน ?" ได้ฟังความนั้นแล้ว
คิดว่า "แม้เราก็จักไป" เรียกน้องชายมาแล้วบอกว่า " พ่อ ! เจ้าจง

1. กุฏุมพี คือ คนมั่งมี คนมีทรัพย์สมบัติมาก, ผู้ครองเรือน, พ่อเรือน, ผู้ดูแลการงาน.