เมนู

ทั้งหลาย ความอดกลั้นและความสงบเสงี่ยม. เห็นปานนั้น1 ยังได้มีแล้ว
แก่พระราชาเหล่านั้น ผู้มีไม้อันถือไว้แล้ว ผู้มีศัสตราอันถือไว้แล้ว;
ข้อที่ท่านทั้งหลายผู้บวชแล้วในธรรมวินัยที่กล่าวชอบแล้วอย่างนี้ ควรเป็น
ผู้อดกลั้นเป็นผู้สงบเสงี่ยม, จะพึงงามในธรรมวินัยนี้แล ภิกษุทั้งหลาย"
ดังนี้แล้ว ก็ไม่สามารถจะทำเธอทั้งหลาย ให้พร้อมเพรียงกันได้เลย.

พระศาสดาทรงระอาจึงเสด็จหนีไปจำพรรษาอยู่ป่ารักขิตวัน


พระองค์ทรงระอาพระทัย เพราะความอยู่อาเกียรณนั้น ทรงพระ-
ดำริว่า "เดี๋ยวนี้เราอยู่อาเกียรณเป็นทุกข์. และภิกษุเหล่านั้นไม่ทำ (ตาม)
คำของเรา ถ้าอย่างไร เราพึงหลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว" ดังนี้
เสด็จเที่ยวบิณฑบาตในเมืองโกสัมพี ไม่ตรัสบอกพระภิกษุสงฆ์ ทรงถือ
บาตรจีวรของพระองค์ เสด็จไปพาลกโลณการาม แต่พระองค์เดียว
ตรัสเอกจาริกวัตร2 แก่พระภคุเถระที่พาลกโลณการามนั้นแล้ว ตรัส
อานิสงส์แห่งสามัคคีรสเก่กุลบุตร 3 คน ในมิคทายวัน3 ชื่อปาจีนวังสะ
แล้ว เสด็จไปทางบ้านปาริเลยยกะ. ดังได้สดับมา ครั้งนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ทรงอาศัยบ้านปาริเลยยกะ เสด็จจำพรรษาอยู่ที่ควงไม้สาละใหญ่
ในราวป่ารักขิตวัน อันช้างปาริเลยยกะอุปัฏฐากอยู่เป็นผาสุก.

พวกอุบาสกทรมานพระภิกษุ


ฝ่ายพวกอุบาสก ผู้อยู่ในเมืองโกสัมพีแล ไปสู่วิหาร ไม่เห็น
พระศาสดา จึงถามว่า "พระศาสดาเสด็จอยู่ที่ไหน ? ขอรับ." ภิกษุ

1. ภวิสฺสติ เป็นกิริยาอาขยาต บอกอนาคตกาล แต่ในประโยคนี้มี หิ นาม จึงแปล
ภวิสฺสติ เป็นอดีตกาล. 2. ได้แก่ข้อปฏิบัติของภิกษุผู้อยู่แต่ผู้อยู่แต่ผู้เดียว. 3. ป่าซึ่งประทาน
ให้หมู่เนื้ออาศัย ป่าชนิดนี้ใครจะทำอันตรายแก่หมู่สัตว์ไม่ได้.

เหล่านั้นกล่าวว่า. "พระองค์เสด็จไปสู่ราวป่าปาริเลยยกะเสียแล้ว."
อุ. เพราะเหตุอะไร ? ขอรับ.
ภ. พระองค์ทรงพยายามจะทำพวกเราให้พร้อมเพรียงกัน . แต่
พวกเราหาได้เป็นผู้พร้อมเพรียงกันไม่.
อุ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านทั้งหลายบวชในสำนักของพระศาสดา
แล้ว, ถึงเมื่อพระองค์ทรงทำสามัคคี, ไม่ได้เป็นผู้สามัคคีกันแล้วหรือ ?
ภ. อย่างนั้นแล ผู้มีอายุ.
พวกมนุษย์คิดกันว่า "ภิกษุพวกนี้ บวชในสำนักของพระศาสดา
แล้ว, ถึงเมื่อพระองค์ทรงทำสามัคคีอยู่, ก็ไม่สามัคคีกันแล้ว; พวก
เราไม่ได้เห็นพระศาสดา เพราะอาศัยภิกษุพวกนี้; พวกเราจักไม่ถวาย
อาสนะ จักไม่ทำสามีจิกรรมมีการไหว้เป็นต้นแก่ภิกษุพวกนี้:" จำเดิม
แต่นั้นมา ก็ไม่ทำสามีจิกรรมแก่ภิกษุพวกนั้น. เธอทั้งหลาย
ซูบซีดเพราะมีอาหารน้อย, โดยสองสามวันเท่านั้นก็เป็นคนตรง แสดง
โทษที่ล่วงเกินแก่กันและกัน ต่างรูปต่างขอขมากันแล้ว กล่าวว่า
"อุบาสกทั้งหลาย พวกเราพร้อมเพรียงกันแล้ว . ฝ่ายพวกท่าน ขอให้
เป็นพวกเราเหมือนอย่างก่อน."
อุ. พวกท่านทูลขอขมาพระศาสดาแล้วหรือ ? ขอรับ.
ภ. ยังไม่ได้ทูลขอขมา ผู้มีอายุ.
อุ. ถ้าอย่างนั้น ขอพวกท่านทูลขอขมาพระศาสดาเสีย, ฝ่ายพวก
ข้าพเจ้าจักเป็นพวกท่านเหมือนอย่างก่อน ในกาลเมื่อพวกท่านทูลขอขมา
พระศาสดาแล้ว.
เธอทั้งหลายไม่สามารถจะไปสู่สำนักของพระศาสดา เพราะเป็น

ภายในพรรษา ยังภายในพรรษานั้น ให้ล่วงไปด้วยความลำบาก.

ช้างปาริเลยยกะอุปัฏฐากพระศาสดา


ฝ่ายพระศาสดา อันช้างนั้นอุปัฏฐากอยู่ ประทับอยู่สำราญแล้ว.
ฝ่ายช้างนั้น ละฝูงเข้าไปสู่ราวป่านั้น เพื่อต้องการความอยู่ผาสุก.
พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวไว้อย่างไร ? พระธรรมสังคาหกาจารย์
กล่าวไว้ว่า (ครั้งนั้น ความตริได้มีแก่พระยาช้างนั้นว่า) " เราอยู่
อาเกียรณด้วยพวกช้างพลาย ช้างพัง ช้างสะเทิ้นและลูกช้าง เคี้ยวกิน
หญ้าที่เขาเด็ดปลายเสียแล้ว, และเขาคอยเคี้ยวกินกิ่งไม้ที่เราหักลง ๆ และ
เราดื่มน้ำที่ขุ่น, เมื่อเราลงและขึ้นสู่ท่าแล้ว พวกช้างพังก็เดินเสียดสีกาย
ไป; ถ้าอย่างไร เราจะหลีกออกจากหมู่อยู่ตัวเดียว." ครั้งนั้นแล
พระยาช้างนั้น หลีกออกจากโขลง เข้าไป ณ บ้านปาริเลยยกะ ราวป่า
รักขิตวัน ควงไม้สาละใหญ่ (และ) ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่แล้ว;
ก็แลครั้นเข้าไปแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แลดูอยู่ไม่เห็นวัตถุ
อะไร ๆ อื่น จึงกระทืบควงไม้สาละใหญ่ด้วยเท้า ถาก (ให้เรียบ)
ถือกิ่งไม้ด้วยงวงกวาด. ตั้งแต่นั้นมา พระยาช้างนั้นจับหม้อด้วยงวง
ตักน้ำฉันน้ำใช้มาตั้งไว้, เมื่อทรงพระประสงค์ด้วยน้ำร้อน, ก็จัดน้ำร้อน
ถวาย. พระยาช้างนั้นจัดน้ำร้อนได้อย่างไร ? พระยาช้างนั้นสีไม้แห้ง
ด้วยงวงให้ไฟเกิด, ใส่ฟืนให้ไฟลุกขึ้น เผาศิลาในกองไฟนั้นแล้ว
กลิ้งก้อนศิลาเหล่านั้นไปด้วยท่อนไม้ ทิ้งลงในสะพังน้อยที่ตัวกำหนดหมาย
ไว้, ลำดับนั้น หย่อนงวงลงไป รู้ว่าน้ำร้อนแล้ว, จึงไปถวายบังคม
พระศาสดา. พระศาสดาตรัสว่า "ปาริเลยยกะ น้ำเจ้าต้มแล้วหรือ ?"