เมนู

พระธรรมกถึกนั้น ได้เป็นผู้มีความเห็นอาบัตินั้นว่ามิใช่อาบัติ.
ฝ่ายพระวินัยธร ได้บอกแก่พวกนิสิตของตนว่า "พระธรรมกถึก
รูปนี้ แต่ต้องอาบัติก็ไม่รู้." พวกนิสิตพระวินัยธรนั้น เห็นพวกนิสิต
ของพระธรรมกถึกนั้นแล้ว ได้กล่าวว่า "พระอุปัชฌาย์ของพวกท่าน
แม้ต้องอาบัติแล้ว ก็ไม่รู้ว่าเป็นอาบัติ." พวกนิสิตของพระธรรมกถึกนั้น
ไปแจ้งแก่พระอุปัชฌาย์ของตนแล้ว. พระธรรมกถึกนั้น พูดอย่างนี้ว่า
"พระวินัยธรรูปนี้ เมื่อก่อนพูดว่า 'ไม่เป็นอาบัติ,' เดี๋ยวนี้พูดว่า
' เป็นอาบัติ,' พระวินัยธรนั้น พูดมุสา;" พวกนิสิตของพระธรรมกถึก
นั้นไปกล่าวว่า "พระอุปัชฌาย์ของพวกท่าน พูดมุสา." พวกนิสิตของ
พระวินัยธรและพระธรรมกถึกนั้น ทำความทะเลาะกันและกันให้เจริญ
แล้ว ด้วยประการอย่างนี้.
ภายหลัง พระวินัยธรได้โอกาสแล้ว จึงได้ทำอุกเขปนียกรรมแก่1
พระธรรมกถึก เพราะโทษที่ไม่เห็นอาบัติ. จำเดิมแต่กาลนั้น แม้พวก
อุปัฏฐากผู้ถวายปัจจัยของภิกษุ 2 รูปนั้น ก็ได้เป็น 2 ฝ่าย. พวก
ภิกษุณีผู้รับโอวาทก็ดี พวกอารักขเทวดาก็ดี2 ของภิกษุ 2 รูปนั้น พวก
อากาสัฏฐเทวดา3 ผู้เพื่อนเห็น เพื่อนคบ ของพวกอารักขเทวดาเหล่านั้น
ก็ดี พวกปุถุชนทั้งปวงก็ดี ได้เป็น 2 ฝ่าย ตลอดจนพรหมโลกก็โกลาหล
กึกก้องเป็นเสียงเดียว ได้ขึ้นไปจนถึงอกนิฏฐภพ.

พระศาสดาตรัสสอนให้สามัคคีกัน


ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระตถาคตเจ้า กราบทูลการ
1. กรรมที่สงฆ์จะพึงทำแก่ภิกษุที่สงฆ์สมควรจะยกเสีย. 2. เทวดาผู้คุ้มครองรักษา 3. เทวดา
ผู้สถิตอยู่ในอากาศ.