เมนู

5. เรื่องภิกษุชาวเมืองโกสัมพี [5]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพวกภิกษุ
ชาวเมืองโกสัมพี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ปเร จ น วิชานนฺติ"
เป็นต้น.

พระวินัยธรกับพระธรรมกถึกเถียงกันเรื่องวินัย


ความพิสดารว่า ภิกษุ 2 รูป คือ พระวินัยธรรูป 1 พระธรรม-
กถึกรูป 1 มีบริวารรูปละ 500 ได้อยู่ที่โฆสิตาราม ใกล้เมืองโกสัมพี.
วันหนึ่ง ในภิกษุ 2 รูปนั้น พระธรรมกถึก ไปถามแล้ว เว้นน้ำชำระ
ที่เหลือไว้ในภาชนะ ที่ซุ้มน้ำแล้ว ก็ออกมา. ภายหลัง พระวินัยธร
เข้าไปที่ซุ้มน้ำนั้น เห็นน้ำนั้น ออกมาถามพระธรรมกถึกนอกนี้ว่า
"ผู้มีอายุ ท่านเหลือน้ำไว้หรือ ?"
ธ. ขอรับ ผู้มีอายุ.
ว. ท่านก็ไม่รู้ว่าอาบัติ ในเพราะการเหลือน้ำไว้นี้หรือ ?
ธ. ขอรับ ผมไม่ทราบ
ว. ไม่รู้ก็ช่างเถิด ผู้มีอายุ เป็นอาบัติในข้อนี้.
ธ. ถ้าอย่างนั้น ผมจักทำคืนอาบัตินั้นเสีย.
ว. ผู้มีอายุ ก็ถ้าว่าข้อนั้นท่านไม่แกล้งทำ เพราะความไม่มีสติ,
อาบัติไม่มี.

พระธรรมกถึกนั้น ได้เป็นผู้มีความเห็นอาบัตินั้นว่ามิใช่อาบัติ.
ฝ่ายพระวินัยธร ได้บอกแก่พวกนิสิตของตนว่า "พระธรรมกถึก
รูปนี้ แต่ต้องอาบัติก็ไม่รู้." พวกนิสิตพระวินัยธรนั้น เห็นพวกนิสิต
ของพระธรรมกถึกนั้นแล้ว ได้กล่าวว่า "พระอุปัชฌาย์ของพวกท่าน
แม้ต้องอาบัติแล้ว ก็ไม่รู้ว่าเป็นอาบัติ." พวกนิสิตของพระธรรมกถึกนั้น
ไปแจ้งแก่พระอุปัชฌาย์ของตนแล้ว. พระธรรมกถึกนั้น พูดอย่างนี้ว่า
"พระวินัยธรรูปนี้ เมื่อก่อนพูดว่า 'ไม่เป็นอาบัติ,' เดี๋ยวนี้พูดว่า
' เป็นอาบัติ,' พระวินัยธรนั้น พูดมุสา;" พวกนิสิตของพระธรรมกถึก
นั้นไปกล่าวว่า "พระอุปัชฌาย์ของพวกท่าน พูดมุสา." พวกนิสิตของ
พระวินัยธรและพระธรรมกถึกนั้น ทำความทะเลาะกันและกันให้เจริญ
แล้ว ด้วยประการอย่างนี้.
ภายหลัง พระวินัยธรได้โอกาสแล้ว จึงได้ทำอุกเขปนียกรรมแก่1
พระธรรมกถึก เพราะโทษที่ไม่เห็นอาบัติ. จำเดิมแต่กาลนั้น แม้พวก
อุปัฏฐากผู้ถวายปัจจัยของภิกษุ 2 รูปนั้น ก็ได้เป็น 2 ฝ่าย. พวก
ภิกษุณีผู้รับโอวาทก็ดี พวกอารักขเทวดาก็ดี2 ของภิกษุ 2 รูปนั้น พวก
อากาสัฏฐเทวดา3 ผู้เพื่อนเห็น เพื่อนคบ ของพวกอารักขเทวดาเหล่านั้น
ก็ดี พวกปุถุชนทั้งปวงก็ดี ได้เป็น 2 ฝ่าย ตลอดจนพรหมโลกก็โกลาหล
กึกก้องเป็นเสียงเดียว ได้ขึ้นไปจนถึงอกนิฏฐภพ.

พระศาสดาตรัสสอนให้สามัคคีกัน


ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระตถาคตเจ้า กราบทูลการ
1. กรรมที่สงฆ์จะพึงทำแก่ภิกษุที่สงฆ์สมควรจะยกเสีย. 2. เทวดาผู้คุ้มครองรักษา 3. เทวดา
ผู้สถิตอยู่ในอากาศ.