เมนู

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น หิ เวเรน เป็นต้น ความว่า
เหมือนอย่างว่า บุคคล แม้เมื่อล้างที่ซึ่งเปื้อนแล้วด้วยของไม่สะอาดมี
น้ำลายและน้ำมูกเป็นต้น ด้วยของไม่สะอาดเหล่านั้นแล ย่อมไม่อาจทำ
ให้เป็นที่หมดจด หายกลิ่นเหม็นได้, โดยที่แท้ ที่นั้นกลับเป็นที่ไม่หมด
จดและมีกลิ่นเหม็นยิ่งกว่าเก่าอีก ฉันใด. บุคคลเมื่อด่าตอบชนผู้ด่าอยู่
ประหารตอบชนผู้ประหารอยู่ ย่อมไม่อาจยังเวรให้ระงับด้วยเวรได้, โดย
ที่แท้ เขาชื่อว่าทำเวรนั่นเองให้ยิ่งขึ้น ฉันนั้นนั่นเทียว. แม้ในกาลไหน ๆ
ขึ้นชื่อว่าเวรทั้งหลาย ย่อมไม่ระงับได้ด้วยเวร, โดยที่แท้ ชื่อว่าย่อม
เจริญอย่างเดียว ด้วยประการฉะนี้.
สองบทว่า อเวเรน จ สมฺมนฺติ ความว่า เหมือนอย่างว่าของ
ไม่สะอาด มีน้ำลายเป็นต้นเหล่านั้น อันบุคคลล้างด้วยน้ำที่ใสย่อมหาย
หมดได้, ที่นั้นย่อมเป็นที่หมดจด ไม่มีกลิ่นเหม็น ฉันใด, เวรทั้งหลาย
ย่อมระงับ คือย่อมสงบ ได้แก่ ย่อมถึงความไม่มีด้วยความไม่มีเวร
คือด้วยน้ำคือขันติและเมตตา ด้วยการทำไว้ในใจโดยแยบคาย [และ]
ด้วยการพิจารณา ฉันนั้นนั่นเทียว.
บาทพระคาถาว่า เอส ธมฺโม สนฺนตโน ความว่า ธรรมนี้
คือที่นับว่า ความสงบเวร ด้วยความไม่มีเวร เป็นของเก่า คือเป็น
มรรคาแห่งพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระขีณาสพทั้งหลาย
ทุก ๆ พระองค์ ดำเนินไปแล้ว.
ในกาลจบพระคาถา นางยักษิณีนั้น ตั้งอยู่ในพระโสดาปัตติผล
แล้ว. เทศนาได้เป็นกถามีประโยชน์ แม้แก่บริษัทผู้ประชุมกันแล้ว.

นางยักษิณีรู้ฝนมากฝนน้อย


พระศาสดา ได้ตรัสกะหญิงนั้นว่า "เจ้าจงให้บุตรของเจ้าแก่นาง
ยักษิณีเถิด."
ญ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์กลัว.
ศ. เจ้าอย่ากลัวเลย, อันตรายย่อมไม่มีแก่เจ้า เพราะอาศัยนาง
ยักษิณีนี้.
นางได้ให้บุตรแก่นางยักษิณีนั้นแล้ว. นางยักษิณีนั้นอุ้มทารกนั้น
จูบกอดแล้ว คืนให้แก่มารดาอีก ก็เริ่มร้องไห้.
ลำดับนั้น พระศาสดา ตรัสถามนางยักษิณีนั้นว่า "อะไรนั่น ?"
นางยักษิณีนั้นกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อก่อน
ข้าพระองค์ แม้สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยไม่เลือกทาง ยังไม่ได้อาหารพอ
เต็มท้อง, บัดนี้ ข้าพระองค์จะเลี้ยงชีพได้อย่างไร."
ลำดับนั้น พระศาสดา ตรัสปลอบนางยักษิณีนั้นว่า "เจ้าอย่า
วิตกเลย" ดังนี้แล้ว ตรัสกะหญิงนั้นว่า "เจ้าจงนำนางยักษิณีไปให้
อยู่ในเรือนของตนแล้ว จงปฏิบัติด้วยข้าวต้มและข้าวสวยอย่างดี." หญิง
นั้นนำนางยักษิณีไปแล้ว ให้พักอยู่ในโรงกระเดื่อง ได้ปฏิบัติด้วยข้าวต้ม
และข้าวสวยอย่างดีแล้ว. ในเวลาซ้อมข้าวเปลือก สากปรากฏแก่นาง
ยักษิณีนั้นดุจต่อยศีรษะ. เขาจึงเรียกนางกุลธิดาผู้สหายมาแล้ว พูดว่า
" ฉันจักไม่อาจอยู่ในที่นี้ได้ ขอท่านจงให้ฉันพักอยู่ในที่อื่นเถิด" แม้
อันหญิงสหายนั้นให้พักอยู่ในที่เหล่านี้ คือในโรงสาก ข้างตุ่มน้ำ ริม
เตาไฟ ริมชายคา ริมกลงหยากเยื่อ ริมประตูบ้าน, (นาง) ก็กล่าวว่า
" ในโรงสากนี้ สากย่อมปรากฏดุจต่อยศีรษะฉันอยู่, ที่ข้างตุ่มน้ำนี้ พวก