เมนู

มาว่า "ท่านอาจารย์ ครั้นฤทธิ์อันผมคลายแล้ว. เมื่อแสงพระอาทิตย์
ตั้งขึ้นอยู่, ท่านพึงดำลงเสียในน้ำแล้ว โผล่ขึ้นไปเสียโดยทางอื่น."
ก้อนดินเหนียวบนศีรษะของเทวลดาบสนั้น พอรัศมีแห่งพระอาทิตย์ถูกเข้า
เท่านั้น ก็แตกออก 7 เสี่ยง, เทวลดาบสนั้น ดำลงหนีไปที่อื่นแล้ว.

เวรไม่ระงับด้วยผูกเวร


พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า
"ภิกษุทั้งหลาย พระราชาในกาลนั้น ได้เป็นอานนท์แล้ว . เทวลดาบส
ได้เป็นติสสะแล้ว, นารทดาบส ได้เป็นเราเอง, ถึงในครั้งนั้น ติสสะ
นี้ก็เป็นผู้ว่ายากอย่างนี้เหมือนกัน" ดังนี้แล้ว รับสั่งเรียกติสสเถระมาแล้ว
ตรัสว่า "ติสสะ ก็เมื่อภิกษุคิดอยู่ว่า 'เราถูกผู้โน้นด่าแล้ว ถูกผู้โน้น
ประหารแล้ว ถูกผู้โน้นชนะแล้ว ผู้โน้นได้ลักสิ่งของของเราไปแล้ว'
ดังนี้ ชื่อว่าเวรย่อมไม่ระงับได้; แต่เมื่อภิกษุไม่เข้าไปผูกอยู่อย่างนั้นนั่นแล
เวรย่อมระงับได้,' ดังนี้แล้ว ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า:-
3. อกฺโกจฺฉิ มํ อวธิ มํ อชินิ มํ อหาสิ เม
เย จ ตํ อุปนยฺยนฺติ เวรํ เตสํ น สมฺมติ.
อกฺโกจฺฉิ มํ อวธิ มํ อชินิ มํ อหาสิ เม
เย จ ตํ นูปนยฺหนฺติ เวรํ เตสูปสมฺมติ.
"ก็ชนเหล่าใด เข้าไปผูกความโกรธนั้นไว้ว่า 'ผู้โน้น
ได้ด่าเรา ผู้โน้นได้ตีเรา ผู้โน้นได้ชนะเรา ผู้โน้น
ได้ลักสิ่งของของเราแล้ว' เวรของชนเหล่านั้น ย่อมไม่
ระงับได้, ส่วนชนเหล่าใดไม่เข้าไปผูกความโกรธนั้น

ไว้ว่า 'ผู้โน้นได้ด่าเรา ผู้โน้นได้ติเรา ผู้โน้นได้ชนะ
เราผู้โน้นได้ลักสิ่งของของเราแล้ว' เวรของชนเหล่า
นั้นย่อมระงับได้."


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกฺโกจฺฉิ คือ ด่าแล้ว. บทว่า
อวธิ คือ ประหารแล้ว . บทว่า อชินิ คือ ได้ชนะเราด้วยการอ้าง
พยานโกงบ้าง ด้วยการกล่าวโต้ตอบถ้อยคำบ้าง ด้วยการทำให้ยิ่งกว่าการ
ทำบ้าง.
บทว่า อหาสิ คือ ผู้โน้นได้ลักของคือบรรดาวัตถุทั้งหลายมีผ้า
เป็นต้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งของเรา.
สองบทว่า เย จ ตํ เป็นต้น ความว่า ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
คือ เทพดาหรือมนุษย์ คฤหัสถ์หรือบรรพชิต เข้าไปผูกความโกรธนั้น
คือมีวัตถุเป็นต้นว่า "คนโน้นได้ด่าเรา" ดุจพวกคนขับเกวียน ขันทุบ
เกวียนด้วยชะเนาะ และดุจพวกประมง พันสิ่งของมีปลาเน่า เป็นต้น
ด้วยวัตถุมีหญ้าคาเป็นต้น บ่อยๆ, เวรของพวกเขาเกิดขึ้นแล้ว คราวเดียว
ย่อมไม่ระงับ คือว่าย่อมไม่สงบลงได้.
บาทพระคาถาว่า เย จ ตํ นูปนยฺหติ ความว่า ชนเหล่าใด
ไม่เข้าไปผูกความโกรธนั้น คือมีคำดำเป็นต้นเป็นที่ตั้ง ด้วยอำนาจการ
ไม่ระลึกถึงและการไม่ทำไว้ในใจบ้าง ด้วยอำนาจการพิจารณาเห็นกรรม
อย่างนี้ว่า "ใคร ๆ ผู้หาโทษมิได้ แม้ท่านคงจักด่าแล้วในภพก่อน
คงจักประหารแล้ว (ในภพก่อน ) คงจักเบิกพยานโกงชนะแล้ว (ใน
ภพก่อน) สิ่งของอะไรๆ ของใครๆ ท่านคงจักข่มแหงชิงเอาแล้ว (ใน