เมนู

เธอ จิ่งได้ห้ามอรุณขึ้นด้วยกำลังฤทธิ์."

ประชาชนเดือดร้อนตลอดถึงพระราชา


ชาวพระนคร เมื่ออรุณไม่ขึ้นอยู่ ก็พากันไปสู่ประตูพระราชวัง
แล้วกราบทูลพิไรว่า "ข้าแต่สมมติเทพ เมื่อพระองค์ทรงครองราชสมบัติ
อยู่. อรุณไม่ขึ้น, ขอพระองค์จงทรงพระกรุณาโปรดให้อรุณขึ้น เพื่อ
ข้าพระองค์ทั้งหลายเถิด."
พระราชา ทรงพิจารณาจริยาอนุวัตร มีกายกรรมเป็นต้น ของ
พระองค์ มิได้ทรงเห็นการอันไม่สมควรอะไร ๆ จึงทรงพระดำริว่า "เหตุ
อะไรหนอแล ?" ดังนี้ ทรงระแวงว่า "ชะรอยจะเป็นความวิวาทของ
พวกบรรพชิต" ดังนี้แล้ว จึงตรัสถามว่า "พวกบรรพชิตในพระนครนี้
มีอยู่บ้างหรือ ?" เมื่อมีผู้กราบทูลว่า "เมื่อเวลาเย็นวานนี้ มีพวกบรรพชิต
มาสู่โรงนายช่างหม้อ พระเจ้าข้า " พระราชามีราชบุรุษถือคบนำเสด็จ
ไปที่นั้น ในทันใดนั้นเอง ทรงอภิวาทพระนารทดาบสแล้ว ประทับ ณ
ที่ควรข้างหนึ่งตรัสถามว่า
"ผู้เป็นเจ้านารทะ การงานทั้งหลายของพวก
ชมพูทวีป ย่อมเป็นไปไม่ได้, โลกเกิดมืดแล้ว
เพราะเหตุอะไร ท่านอันข้าพเจ้าถามแล้ว ได้
โปรดบอกเหตุนั้นแก่ข้าพเจ้า."

นารทดาบส เล่าเรื่องทั้งปวงถวายเสร็จแล้ว ถวายพระพรว่า
" อาตมภาพ อันดาบสรูปนี้สาปแล้วเพราะเหตุนี้, เมื่อเป็นอย่างนั้น

อาตมาภาพจึงได้กล่าวสาปบ้างว่า "โทษของข้าพเจ้าไม่มี. โทษของ
ผู้ใดมี; ความสาปจงตกลงในเบื้องบนแห่งผู้นั้นแล" ก็ครั้นสาปแล้ว
จึงคิดว่า "ความสาปจักตกในเบื้องบนแห่งใดหนอแล ?" เมื่อใคร่ครวญ
ไปก็เห็นว่า "ในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น ศีรษะของอาจารย์จักแตกออก
7 เสี่ยง" ดังนี้แล้ว อาศัยความกรุณาในท่าน จึงมิให้อรุณขึ้นไป.
ร. ก็อย่างไร อันตรายจะไม่พึงมีแก่ท่านเล่า ขอรับ ?
น. ถ้าท่านขอโทษอาตมภาพเสีย อันตรายก็จักไม่พึงมี.
ร. ถ้าอย่างนั้น ท่านจงขอโทษเสียเถิด.
ท. ชฎิลนั่นเหยียบอาตมภาพ ที่ชฎาและที่คอ อาตมภาพไม่ยอม
ขอโทษชฎิลโกงนั่น.
ร. ขอท่านจงขอโทษเสียเถิด ขอรับ ท่านอย่าทำอย่างนี้.
เทวลดาบสทูลว่า "อาตมภาพ ไม่ยอมขอโทษ" แม้เมื่อพระราชา
ตรัสว่า "ศีรษะของท่านจักแตกออก 7 เสี่ยง" ดังนี้ ก็ยังไม่ยอมขอโทษ
อยู่นั่นเอง.
ลำดับนั้น พระราชาตรัสกับเธอว่า "ท่านจักไม่ยอมขอโทษตาม
ชอบใจของตนหรือ ?" ดังนี้แล้ว จึงรับสั่งให้ราชบุรุษจับเทวลดาบสนั้น
ที่มือ ที่เท้า ที่ท้อง ที่คอ ให้ก้มลงที่บาทมูลแห่งนารทดาบส.
นารทดาบสกล่าวว่า "อาจารย์ เชิญท่านลุกขึ้นเถิด, ข้าพเจ้ายอม
ยกโทษให้แก่ท่าน ดังนี้แล้ว ถวายพระพรว่า "มหาบพิตร ดาบส
รูปนี้หาได้ขอโทษอาตมภาพตามใจสมัครไม่, มีสระอยู่ในที่ไม่ไกลสระหนึ่ง
ขอพระองค์รับสั่งให้เธอยืนทูนก้อนดินเหนียวบนศีรษะ แช่น้ำอยู่ในสระ
นั้นแค่คอ. พระราชารับสั่งให้ทำอย่างนั้นแล้ว. นารทดาบสเรียกเทวลดาบส

มาว่า "ท่านอาจารย์ ครั้นฤทธิ์อันผมคลายแล้ว. เมื่อแสงพระอาทิตย์
ตั้งขึ้นอยู่, ท่านพึงดำลงเสียในน้ำแล้ว โผล่ขึ้นไปเสียโดยทางอื่น."
ก้อนดินเหนียวบนศีรษะของเทวลดาบสนั้น พอรัศมีแห่งพระอาทิตย์ถูกเข้า
เท่านั้น ก็แตกออก 7 เสี่ยง, เทวลดาบสนั้น ดำลงหนีไปที่อื่นแล้ว.

เวรไม่ระงับด้วยผูกเวร


พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า
"ภิกษุทั้งหลาย พระราชาในกาลนั้น ได้เป็นอานนท์แล้ว . เทวลดาบส
ได้เป็นติสสะแล้ว, นารทดาบส ได้เป็นเราเอง, ถึงในครั้งนั้น ติสสะ
นี้ก็เป็นผู้ว่ายากอย่างนี้เหมือนกัน" ดังนี้แล้ว รับสั่งเรียกติสสเถระมาแล้ว
ตรัสว่า "ติสสะ ก็เมื่อภิกษุคิดอยู่ว่า 'เราถูกผู้โน้นด่าแล้ว ถูกผู้โน้น
ประหารแล้ว ถูกผู้โน้นชนะแล้ว ผู้โน้นได้ลักสิ่งของของเราไปแล้ว'
ดังนี้ ชื่อว่าเวรย่อมไม่ระงับได้; แต่เมื่อภิกษุไม่เข้าไปผูกอยู่อย่างนั้นนั่นแล
เวรย่อมระงับได้,' ดังนี้แล้ว ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า:-
3. อกฺโกจฺฉิ มํ อวธิ มํ อชินิ มํ อหาสิ เม
เย จ ตํ อุปนยฺยนฺติ เวรํ เตสํ น สมฺมติ.
อกฺโกจฺฉิ มํ อวธิ มํ อชินิ มํ อหาสิ เม
เย จ ตํ นูปนยฺหนฺติ เวรํ เตสูปสมฺมติ.
"ก็ชนเหล่าใด เข้าไปผูกความโกรธนั้นไว้ว่า 'ผู้โน้น
ได้ด่าเรา ผู้โน้นได้ตีเรา ผู้โน้นได้ชนะเรา ผู้โน้น
ได้ลักสิ่งของของเราแล้ว' เวรของชนเหล่านั้น ย่อมไม่
ระงับได้, ส่วนชนเหล่าใดไม่เข้าไปผูกความโกรธนั้น